คำถามที่พบบ่อย

ค้นหาคำตอบเพื่อจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้ คลิกเลือกจากหัวข้อหลักด้านล่าง
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง

วิธีสมัครใช้บริการ การล็อกออน การเชื่อมโยงบัญชีเงินฝากเข้ากับบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งและการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางบัญชี

คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับวิธีสมัครและบริการต่างๆ

  1. บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง คืออะไร

    บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง คือ บริการจากธนาคารกรุงเทพที่อำนวยความสะดวกให้คุณทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นธนาคารส่วนตัวที่สามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้ทุกที่ ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน


  2. บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ให้บริการอะไรบ้าง

    แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

    1) บริการหลัก

    • ตรวจดูความเคลื่อนไหวของบัญชีเงินฝาก บัญชีสินเชื่อ และบัญชีบัตรเครดิต

    • ชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยสามารถเลือกชำระทันที หรือในอนาคตตามวันและเดือนที่กำหนด

    • โอนเงินระหว่างบัญชีตัวเอง หรือโอนไปยังบัญชีบุคคลอื่นของธนาคารกรุงเทพ


    2) บริการพิเศษ

    • ตรวจสอบสถานะของเช็คคืนทั้งประเภทเช็คสั่งจ่ายและเช็คนำฝาก

    • อายัดเช็ค

    • อายัดสมุดคู่ฝาก

    • ขอใบแสดงรายการบัญชี (บัญชีกระแสรายวันและ บัญชีบัตรเครดิต)

    • ตรวจสอบยอดเงินในบัญชี (ในกรณีที่สงสัยว่าอาจมีข้อผิดพลาด)

    • ตรวจสอบรายการบัญชี (ในกรณีที่สงสัยว่าอาจมีข้อผิดพลาด)


    3) บริการเสริม

    • กำหนดเลขประจำตัวใหม่ด้วยตนเอง*

    • เปลี่ยนรหัสลับส่วนตัว

    • ตั้งชื่อบัญชีด้วยตัวเอง**

    • ซ่อนเลขที่บัญชีบนหน้าจอ

    • กำหนดวงเงินสูงสุดสำหรับการโอนและชำระเงินผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง

    • เปลี่ยนแปลงข้อมูลเบอร์โทรศัพท์, เบอร์โทรสาร และอีเมล์ของคุณ**


    *หากลูกค้าต้องการกลับมาใช้หมายเลขประจำตัวเดิม สามารถติดต่อได้ที่เจ้าหน้าที่บัวหลวงโฟน โทร. 1333 หรือ (66) 0 2645 5555 **จะมีผลกับการใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งเท่านั้น

    นอกจากนี้เรายังมีบริการตอบปัญหาและข้อสงสัยผ่านแบงก์เมล์ ซึ่งเป็นบริการอีเมล์ที่มีความปลอดภัยสูง สำหรับเป็นช่องทางติดต่อเฉพาะระหว่างสมาชิกบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งกับธนาคารเท่านั้น นอกจากนี้ คุณยังสามารถแจ้งขอรับบริการอื่นๆ ด้านธนาคารได้ผ่านแบงก์เมล์


  3. จะสมัครใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ต้องทำอย่างไร

    เพียงมีบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารกรุงเทพ ก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ได้ง่ายๆ


  4. สามารถเข้าสู่บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้อย่างไร

    1. ขั้นตอนในการเข้าสู่บริการมีดังนี้ เข้าเว็บไซต์ https://ibanking.bangkokbank.com/index_th.html
    2. เมื่ออยู่ในหน้าโฮมเพจแล้วให้คลิกที่ "เข้าสู่บริการ"
    3. พิมพ์เลขประจำตัวลูกค้า (User ID) และรหัสลับแรกเข้า (PIN) (กรณีเริ่มใช้บริการครั้งแรก) หรือรหัสลับส่วนตัว (Password) กรณีใช้บริการในครั้งต่อๆ ไป หากคุณเริ่มใช้บริการเป็นครั้งแรก เมื่อเข้าสู่บริการเรียบร้อยแล้ว ระบบจะให้คุณเปลี่ยนรหัสลับแรกเข้า (PIN) ให้เป็นรหัสลับส่วนตัว (Password) ซึ่งคุณสามารถเปลี่ยนได้บ่อยตามที่ต้องการ
    4. สำหรับการเข้าสู่บริการเป็นครั้งแรก ต้องกด "Accept" เงื่อนไขและข้อตกลง ก่อนที่จะสามารถเข้าสู่บริการได้
    5. หากกด "Decline" เงื่อนไขและข้อตกลง คุณจะถูกปฎิเสธในการเข้าสู่ระบบทันที


  5. ธนาคารจำกัดประเภทและจำนวนบัญชีที่ใช้กับบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งหรือไม่

    ประเภทบัญชีและจำนวนบัญชีที่คุณสามารถใช้ผ่านบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง มีดังนี้


    ประเภทบัญชี

    จำนวนบัญชี

    1. บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์
    2.
    บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
    3.
    บัญชีเงินฝากประจำ

    รวมกันสูงสุด 15 บัญชี*

    4. บัญชีบัตรเครดิต
    5.
    บัญชีสินเชื่อ

    ไม่จำกัดจำนวน

    6. บัญชีของบุคคลอื่น
      6.1
    บัญชีธนาคารกรุงเทพ
      6.2
    บัญชีธนาคารอื่น


    รวมกันสูงสุด 40 บัญชี
    รวมกันสูงสุด 40 บัญชี



    *สำหรับบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์และบัญชีเงินฝากกระแสรายวันรวมกันสูงสุดไม่เกินประเภทละ 5 บัญชี บัญชีหลัก หมายถึง บัญชีที่คุณอนุญาตให้ธนาคารหักค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่างๆ ของบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง บัญชีของตนเอง หมายถึง บัญชีที่คุณเปิดในชื่อของตนเอง อาจมีหลายบัญชี และอาจไม่ใช่บัญชีหลักก็ได้ บัญชีของบุคคลอื่น หมายถึง บัญชีที่ไม่ได้เปิดในชื่อของคุณ และคุณได้ลงทะเบียนไว้กับบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง

    บัญชีหลัก หมายถึง บัญชีที่คุณอนุญาตให้ธนาคารหักค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่างๆ ของบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
    บัญชีของตนเอง หมายถึง บัญชีที่คุณเปิดในชื่อของตนเอง อาจมีหลายบัญชี และอาจไม่ใช่บัญชีหลักก็ได้
    บัญชีของบุคคลอื่น หมายถึง บัญชีที่ไม่ได้เปิดในชื่อของคุณ และคุณได้ลงทะเบียนไว้กับบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง


  6. สามารถนำบัญชีเงินฝากร่วมมาลงทะเบียนใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ได้หรือไม่

    คุณสามารถนำบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่เป็นบัญชีร่วม โดยมีเงื่อนไขว่า "1 ใน ... คนสั่งจ่าย" มาลงทะเบียนใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้ โดยบัญชีเงินฝากร่วมดังกล่าว สามารถนำมาประกอบธุรกรรมต่างๆ กับบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้เช่นเดียวกับบัญชีเงินฝากทั่วไป

    การนำบัญชีเงินฝากร่วมมาลงทะเบียนใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง เจ้าของบัญชีทุกท่านต้องมาติดต่อที่ธนาคารกรุงเทพสาขาที่มีบัญชีอยู่ พร้อมเอกสารดังต่อไปนี้

    • สมุดคู่ฝาก

    • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้และมีรูปถ่าย

    • หนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ*)


    เจ้าของบัญชีร่วมสามารถสมัครใช้บริการเพียงคนเดียว บางคน หรือทุกคนก็ได้ โดยธนาคารจะออก User ID และ PIN ให้กับเจ้าของบัญชีแต่ละคนที่สมัครใช้บริการ


  7. หลังสมัครบริการแล้วจะเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือยกเลิก ข้อมูลได้อย่างไร

    คุณสามารถขอยกเลิกบัญชีของตนเอง (ยกเว้นบัญชีหลัก) และบัญชีของบุคคลอื่นผ่านบริการแบงก์เมล์

    ธนาคารขอสงวนสิทธิการยกเลิกบัญชีหลักผ่านแบงก์เมล์ โดยคุณสามารถยกเลิกบัญชีหลักหรือลงทะเบียนเพิ่มบัญชีใหม่กับบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา

    คุณสามารถสั่งพิมพ์ใบคำขอเปลี่ยนแปลง/ยกเลิกข้อมูลบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้ด้วยตนเอง และนำเอกสารนี้มายื่นที่ธนาคารและลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของสาขา


  8. แบบฟอร์มคำขอเปลี่ยนแปลง/ยกเลิกข้อมูลบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งคืออะไร

    คุณสามารถใช้แบบฟอร์มคำขอเปลี่ยนแปลง/ยกเลิกข้อมูลบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง เพื่อขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลสถานที่ติดต่อ, เปลี่ยนแปลงข้อมูลทางบัญชี, ยกเลิกข้อมูลทางบัญชี และยกเลิกการใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง

    หากคุณสั่งพิมพ์แบบฟอร์มคำขอเปลี่ยนแปลง/ยกเลิกข้อมูลบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ทางเว็บไซต์ กรุณานำแบบฟอร์มดังกล่าวไปที่สาขา เพื่อลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ให้บริการ


  9. บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง มีค่าธรรมเนียมในการใช้บริการหรือไม่

    บริการต่างๆ ผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งส่วนใหญ่แล้วธนาคารไม่คิดค่าธรรมเนียม ยกเว้นบริการบางประเภท


  10. เมื่ออยู่ต่างประเทศ สามารถใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ได้หรือไม่

    คุณสามารถใช้บริการทุกประเภทของบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้จากทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะอยู่ประเทศใดก็ตาม หากคอมพิวเตอร์ที่ใช้มีคุณสมบัติตามที่เรากำหนด

    แม้คุณทำธุรกรรมผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง จากต่างประเทศก็ตาม ระบบของธนาคารจะดำเนินการโดยยึดตามวันและเวลามาตรฐานของประเทศไทยเป็นหลัก


  11. สามารถใช้บริการต่างๆ ผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้ตลอด 24 ชั่วโมงหรือไม่ หรือมีข้อจำกัดอะไรบ้าง

    บริการส่วนใหญ่ของเราเปิดให้ทำรายการได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน มีเพียงบางบริการที่ทำได้เฉพาะระหว่างเวลา 6.00 น.-23.00 น. ดังนี้

    • บริการโอนเงินไปยังบัญชีเงินฝากประจำ

    • การอายัดเช็คสั่งจ่าย

    • การอายัดสมุดคู่ฝาก
การใช้งานบริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้ง

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับรหัสลับแรกเข้า รหัสลับส่วนตัว และเลขประจำตัวลูกค้า

คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับเลขประจำตัวลูกค้า รหัสลับแรกเข้า และรหัสลับ ส่วนตัว

  1. การเปลี่ยนเลขประจำตัวลูกค้า (User ID) ใหม่มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง 

    คุณสามารถเปลี่ยนเลขประจำตัว โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

    1. คลิกที่ "กำหนดค่า" (My Settings) เมื่อพบเมนูย่อยให้คลิกที่ "เปลี่ยนรหัสประจำตัว" (Change User ID) ระบบจะแสดงรหัสประจำตัวที่คุณใช้อยู่
    2. กรอกเลขประจำตัวใหม่ที่ต้องการใช้
    3. กดปุ่ม "ยืนยัน" เพื่อยืนยันเลขประจำตัวลูกค้าใหม่ที่คุณได้กำหนดขึ้น หมายเหตุ: หากคุณต้องการเปลี่ยนเลขประจำตัวลูกค้าใหม่ครั้งต่อไป โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ บัวหลวงโฟน โทร.1333 หรือ (66) 0 2645 5555


  2. หากลืมเลขประจำตัวลูกค้า (User ID) ต้องทำอย่างไร

    ติดต่อเจ้าหน้าที่บริการบัวหลวงโฟน ที่หมายเลข 1333 หรือ (66) 0 2645 5555


  3. รหัสลับแรกเข้า (PIN) กับ รหัสลับส่วนตัว (Password) ต่างกันอย่างไร

    รหัสลับแรกเข้า (PIN) คือ รหัสที่ธนาคารกำหนดให้คุณ เมื่อสมัครบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง รหัสนี้ใช้สำหรับเข้าสู่ระบบเป็นครั้งแรก เมื่อสามารถเข้าสู่ระบบแล้ว คุณสามารถเปลี่ยนรหัสลับแรกเข้า (PIN) ให้เป็นรหัสลับส่วนตัว (Password) ซึ่งใช้สำหรับการเข้าระบบในครั้งต่อๆ ไป

    อย่างไรก็ตาม คุณควรจดจำรหัสลับแรกเข้า (PIN) เพื่อใช้ในการติดต่อกับธนาคารในอนาคตเช่น กรณีที่ลืมรหัสลับส่วนตัว (Password)


  4. รหัสลับส่วนตัว (Password) คืออะไร

    รหัสลับส่วนตัว (Password) คือ รหัสผ่านที่คุณเป็นผู้กำหนดด้วยตัวเอง ใช้สำหรับเข้าสู่บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง

      ข้อแนะนำการใช้รหัสลับส่วนตัว
      • ไม่ควรเปิดเผยรหัสลับส่วนตัวแก่บุคคลอื่น
      • ไม่ควรใช้คำที่เดาได้ง่าย เช่น ชื่อลูก ชื่อเพื่อนสนิท ดาราคนโปรด เป็นรหัสลับ
      • ไม่ควรจดรหัสลับไว้ในที่เปิดเผย
      • ควรเปลี่ยนรหัสลับส่วนตัวเป็นระยะๆ


  5. หากลืมรหัสลับแรกเข้า (PIN) จะต้องทำอย่างไร

    ติดต่อธนาคารกรุงเทพสาขาใดก็ได้ เพื่อขอรหัสลับแรกเข้าใหม่ โดยเจ้าหน้าที่จะขอให้คุณกรอกแบบฟอร์มคำขอเปลี่ยนแปลง/ยกเลิกข้อมูลบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง

    คุณสามารถสั่งพิมพ์ใบคำขอเปลี่ยนแปลง/ยกเลิกข้อมูลบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ได้ด้วยตนเอง และนำเอกสารนี้มายื่นที่ธนาคารและลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของสาขา


  6. หากระบุรหัสลับแรกเข้า (PIN) ผิดจะเกิดอะไรขึ้น ผิดได้กี่ครั้ง หากผิดเกินกว่ากำหนดต้องทำอย่างไร

    หากพิมพ์รหัสลับแรกเข้า (PIN) ผิด 3 ครั้งติดต่อกัน ระบบจะระงับการใช้บริการทันที โปรดติดต่อ เจ้าหน้าที่บริการบัวหลวงโฟน ที่หมายเลข 1333 หรือ (66) 0 2645 5555 เพื่อปลดล๊อกระบบ และใช้รหัสลับแรกเข้า (PIN) เพื่อเข้าใช้บริการ ในกรณีที่ลืมรหัสลับแรกเข้า (PIN) โปรดติดต่อสาขาที่คุณสะดวกเพื่อขอรหัสลับแรกเข้าใหม่


  7. หากระบุรหัสลับส่วนตัว (Password) ผิดจะเกิดอะไรขึ้น ผิดได้กี่ครั้ง หากผิดเกินกว่ากำหนดต้องทำอย่างไร
    หากระบุรหัสลับส่วนตัว (Password) ผิดเป็นครั้งที่ 3 ระบบจะระงับการการใช้บริการทันที โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่บริการบัวหลวงโฟน ที่หมายเลข 1333 หรือ (66) 0 2645 5555 เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารทราบ และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ตามแต่กรณี


  8. วิธีเปลี่ยนรหัสลับส่วนตัว (Password) ใหม่ ทำอย่างไร

    1. คลิกที่ "กำหนดค่า" (My Settings) เมื่อพบเมนูย่อยให้คลิกที่ "เปลี่ยนรหัสลับส่วนตัว" (Change Password)
    2. พิมพ์รหัสลับส่วนตัวที่ใช้อยู่ปัจจุบัน และรหัสลับส่วนตัวใหม่ที่ต้องการจะใช้
    3. พิมพ์รหัสลับส่วนตัวใหม่ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการยืนยัน
ตรวจสอบรายการบัญชี

เรียกดูความเคลื่อนไหวของบัญชีได้ง่ายๆ ทั้งยอดเงินคงเหลือ และรายการธุรกรรมล่าสุดที่เกิดขึ้น

 

คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับรายการบัญชี

  1. หน้า "รายการบัญชี" (My Accounts ) บอกอะไรบ้าง

    เมื่อคลิกไปที่ "รายการบัญชี" ระบบจะแสดงรายการสรุปยอดเงินคงเหลือของบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และบัญชีเงินฝากประจำ หากคุณมีบัญชีบัตรเครดิต ระบบจะแสดงวงเงินเครดิตที่คุณได้รับ วงเงินที่คุณใช้ไปแล้วและวงเงินคงเหลือที่สามารถใช้ได้ หากคุณมีบัญชีสินเชื่อ ระบบจะแสดงวงเงินสินเชื่อ และเงินต้นคงเหลือที่จะต้องจ่าย

    หมายเหตุ: หากบัญชีบัตรเครดิตของคุณมีบัตรเสริม บัวหลวง ไอแบงก์กิ้งจะแสดงรายการบัญชีของบัตรเสริมทันที โดยไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า


  2. ยอดเงินคงเหลือ (Ledger Balance) ต่างกับยอดเงินที่ถอนได้ (Available Balance) อย่างไร

    ยอดเงินคงเหลือ (Ledger Balance) คือ ยอดเงินคงเหลือในบัญชี ซึ่งคุณอาจจะไม่สามารถถอนเงินได้ตามยอดเงินที่แสดงไว้ทั้งหมด เนื่องจากเหตุผลต่างๆ ตามแต่ละกรณี เช่น อาจเป็นยอดเงินที่เกิดจากการนำฝากด้วยเช็คต่างธนาคารที่อยู่ในระหว่างการรอเรียกเก็บ เป็นยอดเงินที่เกิดจากการนำฝากเช็คที่สั่งจ่ายล่วงหน้า หรือมีการเก็บค่าธรรมเนียมในการใช้บริการต่างๆ ของธนาคาร เป็นต้น

    ยอดเงินที่ถอนได้ (Available Balance) คือ ยอดเงินคงเหลือที่สามารถถอนได้ทั้งจำนวน


  3. ยอดเงินที่ระบบแสดงเป็นยอดเงินล่าสุดเสมอใช่หรือไม่

    โดยส่วนใหญ่แล้วใช่ มีข้อยกเว้นบางกรณีเท่านั้น คือ หากคุณตรวจดูยอดบัญชีเงินฝากประจำหรือบัญชี สินเชื่อระหว่างเวลา 6.00 - 23.00 น. ระบบจะแสดงข้อมูล ณ วันสุดท้ายที่ธนาคารเปิดทำการ สำหรับบัญชีบัตรเครดิต ระบบจะแสดงข้อมูล ณ เมื่อวานนี้


    ประเภทบัญชี

    ณ วันที่ ( As of Date)

    บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์

    ยอดล่าสุดของวันนี้

    บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน

    ยอดล่าสุดของวันนี้

    บัญชีเงินฝากประจำ

    ยอดล่าสุดของวันนี้*

    บัญชีบัตรเครดิต

    ยอดสิ้นสุดการทำรายการเมื่อวานนี้

    บัญชีสินเชื่อ

    ยอดสิ้นสุด ณ วันทำการสุดท้ายของธนาคาร



    (*ยกเว้นช่วงเวลา 6.00-23.00 น. จะแสดงยอดสิ้นสุด ณ วันทำการสุดท้ายของธนาคาร)


  4. ชื่อย่อบัญชี (Account Nickname) คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

    ชื่อย่อบัญชี คือ ชื่อบัญชีที่คุณตั้งขึ้นเอง เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ แทนการจำเลขที่บัญชีสิบหลัก หากคุณต้องการตั้งชื่อใหม่ให้กับบัญชีใดบัญชีหนึ่ง ก็สามารถทำได้ โดยคลิกที่ "บริการเสริม" จากนั้นเมื่อเจอเมนูย่อย ให้คลิกที่ "สรุปชื่อย่อบัญชี"


  5. ยอดเงินต้นคงเหลือ (Principal Balance) ของบัญชีสินเชื่อ (Loan) หมายถึงอะไร

    ยอดเงินต้นคงเหลือ คือ จำนวนเงินต้นคงเหลือของสินเชื่อ (ไม่รวมดอกเบี้ย) ที่ยังต้องชำระ


  6. รายการเคลื่อนไหวทางบัญชี (Account Activity) แสดงรายละเอียดย้อนหลังได้นานเท่าใด

    คุณสามารถเรียกดูรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีย้อนหลังภายในช่วงระยะเวลาที่กำหนด ตามแต่ละประเภทของบัญชี ดังต่อไปนี้


    ประเภทบัญชี

    ระยะเวลา

    บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ เดือนปัจจุบันและเดือนที่ผ่านมา
    บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เดือนปัจจุบันและเดือนที่ผ่านมา
    บัญชีเงินฝากประจำ แสดงยอดเงินนำฝากคงเหลือทั้งหมด
    บัญชีบัตรเครดิต แสดงรายการค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 3 รอบบัญชีที่แล้ว รวมทั้งรายการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแต่ยังไม่ถึงกำหนดเรียกเก็บเงินในใบแจ้งยอดค่าใช้จ่าย
    บัญชีสินเชื่อ แสดงยอดเงินคงเหลือและข้อมูลการชำระเงินต้น ดอกเบี้ย ย้อนหลัง 12 เดือน


  7. หากสงสัยว่ายอดเงินคงเหลืออาจผิดพลาด จะแจ้งให้ธนาคารตรวจสอบได้อย่างไร

    ติดต่อเจ้าหน้าที่บริการบัวหลวงโฟน ที่หมายเลข 1333 หรือ (66) 0 2645 5555 หรือไปที่เมนูหลักและ คลิกที่ "บริการพิเศษ" (Services) เมื่อพบเมนูย่อย ให้คลิกที่ "ตรวจสอบยอดเงินคงเหลือในบัญชีที่ผิดปกติ" (Balance Investigation ) ธนาคารจะดำเนินการตรวจสอบข้อมูล แล้วแจ้งผลให้ทราบต่อไป


  8. ควรทำอย่างไรหากสงสัยว่าข้อมูลในรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีไม่ถูกต้อง

    ติดต่อเจ้าหน้าที่บริการบัวหลวงโฟนที่หมายเลข 1333 หรือ (66) 0 2645 5555 หรือเลือกไปที่เมนูหลักและคลิกที่ "บริการพิเศษ" (Services) เมื่อพบเมนูย่อย ให้คลิกที่ "ตรวจสอบรายการที่ผิดปกติ" (Transaction Investigation) ธนาคารจะดำเนินการตรวจสอบข้อมูล แล้วแจ้งผลการตรวจสอบให้ทราบต่อไป


  9. ควรทำอย่างไรหากบัญชีที่ลงทะเบียนกับบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ไม่ปรากฏบนหน้าจอเมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว

    ระบบจะแสดงทุกบัญชีที่คุณลงทะเบียนไว้กับบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง เมื่อสมัครใช้บริการ หากบัญชีที่ลงทะเบียนบัญชีใดบัญชีหนึ่งไม่ปรากฏ กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่บริการบัวหลวงโฟน ที่หมายเลข 1333 หรือ (66) 0 2645 5555 ธนาคารจะดำเนินการตรวจสอบข้อมูล แล้วแจ้งผลให้ทราบต่อไป


  10. สามารถตรวจสอบรายการใช้จ่ายผ่านบัตรบีเฟิสต์ได้หรือไม่

    สำหรับบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่เป็นบัญชีหลักของบัตรบีเฟิสต์ คุณสามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวของรายการใช้จ่ายผ่านบัตรบีเฟิสต์ได้ โดยเลือก "หมายเลขบัตรบีเฟิสต์" จากหน้ารายการเคลื่อนไหวทางบัญชี และระบุวันที่ที่ต้องการ

บริการโอนเงิน

เรียนรู้หลากหลายวิธีโอนเงิน รวมทั้ง โอนเงินถึงผู้รับรายเดียว โอนเงินถึงผู้รับหลายราย ตั้งโอนเงินล่วงหน้า การเพิ่มชื่อบัญชีบุคคลอื่นในรายชื่อผู้รับโอน การใช้บริการแจ้งให้ผู้รับเงินทราบเมื่อเงินโอนเข้าบัญชี และการสร้างเงื่อนไขสำหรับการโอนเงิน

คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับบริการโอนเงิน

  1. จะโอนเงิน (Transfer) ไปบัญชีใดได้บ้าง

    คุณสามารถโอนเงินจากบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ไปยังบัญชีอื่นได้สองกรณี คือ โอนเงินไปยังบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน บัญชีเงินฝากประจำ และ/หรือบัญชีเงินฝากสินมัธยะทรัพย์ทวีของตัวเอง หรือโอนเงินไปยังบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์หรือบัญชี เงินฝากกระแสรายวันของบุคคลอื่นที่มีบัญชีอยู่กับธนาคารกรุงเทพ

  2.   หมายเหตุ:
      • คุณสามารถโอนเงินจากบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ที่เปิดบัญชีในเขตนครหลวง (กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ) ไปยังบัญชีเงินฝากประจำที่เปิดบัญชีในเขตนครหลวงเหมือนกันเท่านั้น
      • คุณสามารถโอนเงินจากบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวันในเขตต่างจังหวัดไปยังบัญชีเงินฝากประจำในเขตต่างจังหวัดเท่านั้น
      • บริการฝาก/โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากประจำ และบัญชีเงินฝากสินมัธยะทรัพย์ทวี ผ่านบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ให้บริการระหว่างเวลา 6:00 - 23:00 น


  3. สามารถเลือกโอนเงินได้กี่แบบ

    คุณสามารถเลือกโอนเงินได้ 3 แบบ ดังนี้
    1. โอนเงินทันที - ระบบจะดำเนินการโอนเงินตามคำสั่งท่านทันที
    2. โอนเงินล่วงหน้า - ระบบจะดำเนินการโอนเงินตามวันที่และเดือนที่คุณกำหนด โดยท่านสามารถกำหนดวันโอนล่วงหน้าได้นานถึง 12 เดือน นับจากวันทำรายการ
    3. โอนเงินประจำ - ระบบจะดำเนินการโอนเงินเป็นประจำตามที่คุณสั่ง โดยสามารถกำหนดให้มีการโอนเงินเป็นจำนวนเท่ากัน ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน


  4. หน้า "ตรวจสอบ" (Review) กับหน้า "ยืนยัน" (Confirmation) ต่างกันอย่างไร

  5. หน้าจอ "ตรวจสอบ" ให้คุณตรวจสอบความถูกต้องก่อนสั่งทำรายการ และหน้าจอ "ยืนยัน" ให้ยืนยันคำสั่ง เมื่อธนาคารได้รับคำสั่งที่ยืนยันแน่นอนแล้วก็จะแจ้งหมายเลขอ้างอิงของรายการธุรกรรมให้คุณทราบ เพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง


  6. จะทราบได้อย่างไรว่า ธนาคารได้หักเงินจากบัญชีและโอนเงินตามคำสั่งเรียบร้อยแล้ว

    คุณสามารถตรวจสอบว่าธนาคารได้หักเงินในบัญชีและโอนเงินตามคำสั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ 3 วิธี
    1. จากหน้าจอ "รายการบัญชี" (My Accounts) โดยดูจากการเปลี่ยนแปลงของยอดเงินที่ถอนได้
    2. จากหน้าจอ "รายการเคลื่อนไหวทางบัญชี" (Account Activity) โดยจะมีรายการโอนเงินปรากฏอยู่
    3. จากหน้าจอ "ข้อมูลของรายการโอนเงิน" (Transfer History) โดยการตรวจสอบจากรายการที่ทำไปแล้ว


  7. บริการโอนเงินมีการจำกัดเวลาทำการหรือไม่ และหากต้องการยกเลิกคำสั่งโอนเงินต้องแจ้งล่วงหน้ากี่วัน

    คุณสามารถโอนเงินระหว่างบัญชีของตัวเองและบัญชีบุคคลอื่นได้ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง หากต้องการยกเลิกคำสั่งโอนเงินจะต้องแจ้งธนาคารก่อนเวลา 9.00 น. ของวันครบกำหนดการโอนเงิน

    หมายเหตุ: บริการฝาก/โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากประจำ และบัญชีเงินฝากสินมัธยะทรัพย์ทวี ผ่านบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ให้บริการระหว่างเวลา 6:00 - 23:00 น.


  8. สามารถเพิ่มบัญชีของตนเอง หรือยกเลิกบัญชีของตนเองที่ลงทะเบียนไว้กับบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้หรือไม่ อย่างไร

    ติดต่อสาขาเพื่อเพิ่มหรือยกเลิกบัญชีของตนเองที่ลงทะเบียนไว้
    1. โปรดติดต่อธนาคารกรุงเทพสาขาที่คุณสะดวก แล้วกรอกคำขอเพื่อเพิ่มหรือยกเลิกบัญชีของตนเอง (ต้องไม่ใช่บัญชีหลัก) ธนาคารจะใช้เวลาดำเนินการ 4 วันทำการธนาคารนับจากวันที่ยื่นคำขอ โดยคุณสามารถตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงได้จากหน้ารายการบัญชี (My Accounts)

    ทั้งนี้ คุณสามารถสั่งพิมพ์แบบฟอร์มคำขอเปลี่ยนแปลง/ยกเลิกข้อมูลบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้ที่นี่ โปรดนำแบบฟอร์มที่กรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วไปติดต่อธนาคารกรุงเทพสาขาที่คุณสะดวก เพื่อลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่

    ยกเลิกบัญชีของตนเองที่ลงทะเบียนไว้ผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง

    2. คุณสามารถส่งจดหมายขอยกเลิกบัญชีของตนเอง (ต้องไม่ใช่บัญชีหลัก) ผ่านเมนู "แบงก์เมล" (Bank Mail) โดยเลือกเมนูย่อย "ส่งข้อความ" ระบุเลขที่บัญชีและชื่อบัญชีที่คุณต้องการยกเลิกแล้วส่งให้ธนาคารดำเนินการ


  9. บริการข้อมูลรายการโอนเงิน (Transfer History) คืออะไร

    คือ บริการตรวจสอบรายการโอนเงินที่ได้ดำเนินการแล้ว รวมถึงรายการที่ไม่สามารถดำเนินการได้โดยจะแสดงข้อมูลย้อนหลังได้ 120 วัน


  10. รายการโอนเงินที่รอดำเนินการ (Pending Transfers) คืออะไร

    คือ รายการโอนเงินที่ยังไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากยังไม่ถึงวันกำหนดโอนตามคำสั่ง

    หมายเหตุ: การเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกรายการโอนเงินแบบกำหนดล่วงหน้า จะต้องดำเนินการก่อนเวลา 9.00 น. ของวันที่ครบกำหนดโอนเงิน


  11. ธนาคารมีการกำหนดวงเงินสูงสุดในการโอนเงินหรือไม่ อย่างไร

    ธนาคารไม่จำกัดจำนวนเงินที่ท่านโอนระหว่างบัญชีของตัวเอง สำหรับการโอนเงินให้บัญชีบุคคลอื่น ธนาคารจำกัดวงเงินไว้ที่ 2,000,000 บาท ต่อวัน

    ประเภทการทำรายการ

    จำนวนเงิน

    การโอนเงินระหว่างบัญชีของท่านเอง

    ไม่จำกัดวงเงิน

    การโอนเงินไปยังบัญชีบุคคลอื่น

    ไม่เกิน 2,000,000 บาท ต่อวัน

    การโอนเงินไปยังบัญชีเงินฝากประจำ

    มากกว่า 2,000 บาทขึ้นไป



  12. เมื่อสั่งทำรายการโอนเงินผ่าน บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ในขณะที่อยู่ต่างประเทศ ธนาคารจะยึดตามวันที่ของประเทศใดเป็นเกณฑ์ในการทำรายการ

    บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ดำเนินการทุกอย่างตามวันและเวลามาตรฐานของประเทศไทย


  13. บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง คิดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินหรือไม่ อย่างไร

    ธนาคารไม่คิดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินระหว่างบัญชีของตัวเอง และโอนเงินไปยังบัญชีบุคคลอื่นของธนาคารกรุงเทพ


  14. สามารถเพิ่มหรือยกเลิกบัญชีผู้รับโอนซึ่งเป็นบุคคลอื่นได้หรือไม่ อย่างไร

    คุณสามารถเพิ่มหรือยกเลิกบัญชีบุคคลอื่นที่ลงทะเบียนไว้กับบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ได้ 2 ช่องทาง ดังต่อไปนี้
    1. สำหรับการเพิ่มบัญชีบุคคลอื่น ไปที่เมนู "โอนเงิน" โดยเลือกเมนูย่อย "เพิ่มบัญชีบุคคลอื่น" ระบุหมายเลขบัญชีบุคคลอื่นและเลือกธนาคารเจ้าของบัญชีจากรายชื่อธนาคารที่ระบบแสดงไว้ หลังจากที่คุณยืนยันข้อมูล ธนาคารจะส่งรหัสผ่านครั้งเดียว (One Times Password - OTP) ทาง SMS ไปยังหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่คุณได้แจ้งไว้กับธนาคาร คุณสามารถใช้รหัสผ่านครั้งเดียวนี้เพื่อยืนยันการเพิ่มบัญชีบุคคลอื่นแล้วคลิกยืนยัน ระบบจะเพิ่มบัญชีบุคคลอื่นให้คุณทันที โดยสามารถเพิ่มบัญชีบุคคลอื่นได้สูงสุดถึง 40 บัญชี

    สำหรับการยกเลิกบัญชีบุคคลอื่น ไปที่เมนู "โอนเงิน" คลิกเมนูย่อย "รายการบัญชีบุคคลอื่น" แล้วเลือกบัญชีที่ต้องการยกเลิก

    2. ติดต่อธนาคารกรุงเทพสาขาที่คุณสะดวก แล้วกรอกคำขอเพื่อเพิ่มหรือยกเลิกบัญชีบุคคลอื่น ซึ่งธนาคารจะใช้เวลาดำเนินการ 4 วันทำการธนาคาร โดยสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงได้จากหน้า "รายการบัญชีบุคคลอื่น"

    ทั้งนี้ คุณสามารถสั่งพิมพ์แบบฟอร์มคำขอเปลี่ยนแปลง/ยกเลิกข้อมูลบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง โปรดนำแบบฟอร์มที่กรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วไปติดต่อธนาคารกรุงเทพสาขาที่คุณสะดวก เพื่อลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่


  15. มีบริการแจ้งการโอนเงินไปยังบัญชีบุคคลอื่นเพื่อให้ผู้รับเงินโอนทราบหรือไม่

    คุณสามารถเลือกคำสั่งให้ระบบส่ง SMS ไปยังหมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้รับเงินโอนได้ทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ เพื่อแจ้งให้ผู้รับเงินโอนทราบว่าธนาคารนำเงินเข้าบัญชีให้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งข้อความที่ส่งคือ "คุณXXXXXXXXX โอนเงิน XXX,XXX.XX฿ ผ่านไอแบงก์กิ้ง เข้าบ/ช 9999XXX999 ของท่าน"
บริการโอนเงินไปต่างประเทศ

1. โอนเงินไปต่างประเทศผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง เพื่อวัตถุประสงค์ใดได้บ้าง

สำหรับบุคคลไทย
•  ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา (Educational expenses) 
•  ค่าใช้จ่ายเดินทาง ท่องเที่ยว (Travel expenses) 
•  ค่าใช้จ่ายส่วนตัว (Personal expenses)
•  ค่าสินค้า (Payment for goods) 
•  ค่าบริการ (Payment for services) 
•  ค่าจ้างชาวต่างชาติ (Wage paid to foreigners) 
•  ค่าใช้จ่ายเพื่ออยู่อาศัยต่างประเทศถาวร (Residence expenses) 
•  ช่วยเหลือครอบครัวที่อยู่ต่างประเทศถาวร (Family support) 
•  เงินให้เป็นของขวัญ (Gifts) 

สำหรับบุคคลต่างชาติ
•  โอนเงินรายได้จากการทำงานในประเทศไทยไปต่างประเทศ (Repatriation of income)
•  ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา (Educational expenses)
•  ค่าใช้จ่ายเดินทาง ท่องเที่ยว (Travel expenses)
•  ค่าใช้จ่ายส่วนตัว (Personal expenses)
•  ค่าสินค้า (Payment for goods)
•  ค่าบริการ (Payment for services)
•  เงินให้เป็นของขวัญ (Gifts)

2. สมัครบริการโอนเงินไปต่างประเทศผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้อย่างไร

สมัครผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
1.  เข้าสู่บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
2.  คลิก “โอนเงิน” และเลือก “เพิ่มบัญชีบุคคลอื่นต่างประเทศ”
3.  กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และส่งคำขอระหว่างเวลา 06.00-21.00 น. ในวันทำการธนาคาร โดยธนาคารจะแจ้งผลการขอใช้บริการไปยังอีเมลของคุณภายใน 3 วัน ทำการธนาคาร

กรณีลูกค้าชาวต่างชาติสมัครใช้บริการจะต้องแฟกซ์หลักฐานการทำงานในประเทศไทยให้ธนาคาร เช่น ใบอนุญาตทำงาน หรือบัตรประจำตัวพนักงาน หรือหนังสือรับรองรายได้จากนายจ้าง ไปที่หมายเลข (66) 0 2553 5443 หรืออีเมล outward.ift@bangkokbank.com ภายใน 3 วันทำการธนาคารหลังจากสมัครใช้บริการ

ติดต่อธนาคารเพื่อยืนยันการส่งหลักฐาน โทร. (66) 0 2553 5475 ระหว่างเวลา 09.00-17.00 น. ในวันทำการธนาคาร

สมัครผ่านสาขาธนาคารกรุงเทพ

กรณีคุณใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งแล้ว คุณสามารถพิมพ์ใบคำขอใช้บริการโอนเงินไปต่างประเทศผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งด้วยตนเองจากหน้าจอบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง และนำไปยื่นสมัครได้ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา ตามขั้นตอนดังนี้
1.  เข้าสู่บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
2.  คลิก “โอนเงิน” และเลือก “โอนเงินไปต่างประเทศ”
3.  คลิก “พิมพ์” และเลือก “ใบสมัคร” ด้านขวาบนหน้าจอบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
4.  กรอกข้อมูลในคำขอใช้บริการโอนเงินไปต่างประเทศฯ ให้ครบถ้วนชัดเจน
5.  นำขอใช้บริการโอนเงินไปต่างประเทศฯ พร้อมเอกสารประกอบการสมัครไปยื่นสมัครได้ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา

กรณีคุณยังไม่เคยสมัครใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง คุณสามารถสมัครบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง พร้อมกับสมัครบริการโอนเงินไปต่างประเทศผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้ โดยขอรับคำแนะนำการสมัครได้ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา

3. เอกสารประกอบการสมัครบริการโอนเงินไปต่างประเทศผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง มีอะไรบ้าง

บุคคลไทย
•  บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวรัฐวิสาหกิจ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์กรของรัฐ หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน
•  สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีบัตรแสดงตนไม่แสดงที่อยู่ไว้)
•  สมุดบัญชี/สมุดเช็ค/ใบรับสมุดเช็คของบัญชีเงินฝากที่ผูกไว้กับบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง

บุคคลต่างชาติ
•  หนังสือเดินทาง
•  เอกสารที่แสดงว่าผู้ขอใช้บริการทำงานในประเทศไทย เช่น ใบอนุญาตทำงาน หรือบัตรประจำตัวพนักงาน หรือ หนังสือรับรองรายได้จากนายจ้าง
•  สมุดบัญชี/สมุดเช็ค/ใบรับสมุดเช็คของบัญชีเงินฝากที่ใช้กับบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง

4. บริการโอนเงินไปต่างประเทศผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง มีค่าธรรมเนียมในการโอนหรือไม่

•  300 บาทต่อรายการ (ปกติ 400 บาทต่อรายการ) เมื่อเลือกชำระเฉพาะค่าธรรมเนียมของธนาคารกรุงเทพ
•  1,050 บาทต่อรายการ* (ปกติ 1,150 บาทต่อรายการ) เมื่อเลือกชำระค่าธรรมเนียมธนาคารกรุงเทพและธนาคารในต่างประเทศ**

*ยกเว้นการโอนเงินสกุล JPY ค่าธรรมเนียม 2,400 บาทต่อรายการ (ปกติ 400 บาท บวก 0.05% ของยอดเงินที่โอน ขั้นต่ำ 2,100 บาท) และสกุล HKD ค่าธรรมเนียม 1,350 บาทต่อรายการ (ค่าธรรมเนียมอัตราปกติ) ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ศึกษาได้ตามประกาศของธนาคาร

**ผู้รับเงินในต่างประเทศอาจไม่ได้รับเงินเต็มจำนวน หากธนาคารในต่างประเทศคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมก่อนจ่ายเงินให้ผู้รับเงิน

ชำระค่าสินค้าและบริการ หรือชำระค่าบัตรเครดิต

เรียนรู้วิธีการชำระค่าสินค้าและบริการ ค่าบัตรเครดิต และการตั้งชำระเงินแบบล่วงหน้า

 
 
คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับชำระค่าสินค้าและบริการ ชำระค่าบัตรเครดิต

  1. สามารถชำระค่าอะไรได้บ้างผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง

    คุณสามารถทำรายการชำระค่าสินค้าและบริการ หรือชำระค่าบัตรเครดิต ผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง โดยเลือกชำระเงินจากบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่คุณได้ลงทะเบียนไว้ ทั้งนี้ คุณสามารถทำรายการชำระเงินให้กับบริษัทกว่า 400 บริษัทที่มีข้อตกลงรับชำระเงินกับธนาคารกรุงเทพ


  2. สามารถกำหนดวันชำระเงินล่วงหน้าได้หรือไม่

    ได้ คุณสามารถเลือกสั่งให้ระบบทำการชำระเงินทันทีหรือตามวันและเดือนที่กำหนด โดยสามารถกำหนดวันชำระเงินล่วงหน้าได้ถึง 12 เดือนนับจากวันที่ทำรายการ


  3. หน้าจอ "ตรวจสอบ" และหน้าจอ "ยืนยัน" ต่างกันอย่างไร

    หน้าจอ "ตรวจสอบ" เป็นหน้าจอที่แสดงรายการชำระเงิน เพื่อให้คุณตรวจสอบความถูกต้องของคำสั่งก่อนยืนยัน หน้าจอ “ยืนยัน” จะแสดงให้ทราบว่าธนาคารได้รับคำสั่ง และพร้อมดำเนินการตามคำสั่ง คุณจะได้รับหมายเลขอ้างอิง เพื่อใช้อ้างอิงรายการธุรกรรมในภายหลัง


  4. จะทราบได้อย่างไร ว่าธนาคารได้หักเงินจากบัญชีและทำการชำระเงินตามคำสั่งเรียบร้อยแล้ว

    คุณสามารถตรวจสอบได้ 3 วิธี ดังนี้
    1. จากหน้าจอ "สรุปรายการบัญชี (My Accounts)" โดยดูจากการเปลี่ยนแปลงของยอดเงินที่ถอนได้
    2. จากหน้าจอ "รายการเคลื่อนไหวทางบัญชี (Account Activity)" โดยจะมีรายการชำระเงินปรากฏอยู่
    3. จากหน้าจอ "ข้อมูลรายการชำระเงิน (Payment History)" โดยการตรวจสอบจากรายการที่ทำไปแล้ว

     

  5. สามารถชำระค่าสินค้าและบริการแทนบุคคลอื่นได้หรือไม่

    ได้ โดยไปที่หน้าบริการชำระค่าสินค้าและบริการ ระบบจะให้คุณพิมพ์หมายเลขประจำตัวของลูกค้าของผู้ที่ท่านต้องการชำระเงินแทน และหมายเลขอ้างอิง ตามที่แสดงไว้ในใบแจ้งค่าบริการ


  6. ข้อมูลรายการชำระเงิน (Payment History) คืออะไร

    คือ บริการตรวจสอบรายการชำระเงินที่ได้ดำเนินการแล้ว รวมถึงรายการที่ไม่สามารถดำเนินการได้ โดยจะแสดงข้อมูลย้อนหลังได้ถึง 120 วัน


  7. รายการชำระเงินที่รอดำเนินการ (Pending Payments) คืออะไร

    คือ รายการชำระเงินที่ยังไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากยังไม่ถึงวันกำหนดชำระตามคำสั่ง


  8. สามารถเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกคำสั่งชำระเงินได้หรือไม่

    คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิก "คำสั่งชำระเงินแบบทันที" ได้ เมื่อคลิก "ยืนยัน" แล้ว

    คุณสามารถเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก "คำสั่งชำระเงินบัตรเครดิตแบบกำหนดล่วงหน้า" ได้ โดยจะต้องดำเนินการก่อนเวลา 09.00 น. ของวันครบกำหนดชำระเงิน

    คุณสามารถเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก "คำสั่งชำระเงินล่วงหน้า" ได้ โดยจะต้องดำเนินการก่อนเวลา 9.30 น. ของวันที่ครบกำหนดชำระเงิน


  9. ธนาคารมีการกำหนดวงเงินสูงสุดในการชำระเงินหรือไม่

    ธนาคารไม่จำกัดวงเงินในการทำรายการชำระค่าสินค้าหรือบริการ และชำระค่าบัตรเครดิต อย่างไรก็ตาม คุณสามารถจำกัดวงเงินได้เอง โดยเลือกที่เมนูย่อย "กำหนดค่า" และเลือก "กำหนดวงเงิน"


  10. รายชื่อบริษัทผู้รับชำระของท่าน (Personal Payee List) คืออะไร

    รายชื่อบริษัทผู้รับชำระของคุณ คือ รายชื่อของบริษัทที่คุณเลือกเพราะคุณต้องการชำระค่าสินค้าและบริการของบริษัทเหล่านี้เป็นประจำ โดยเลือกจากรายชื่อบริษัททั้งหมดที่มีข้อตกลงรับชำระค่าสินค้าและบริการผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง


  11. บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง คิดค่าธรรมเนียมในการชำระเงินหรือไม่

    ธนาคารไม่คิดค่าธรรมเนียมใดๆ สำหรับบริการชำระเงิน
  12.  

บริการลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุนรวม

เรียนรู้วิธีเพิ่มบัญชีกองทุนรวมในบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง วิธีซื้อและขายกองทุนรวม ตลอดจนการกำหนดจำนวนการลงทุนสูงสุดต่อรายการและการกำหนดหรือยกเลิกคำสั่งการลงทุนล่วงหน้า



คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับบริการลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุนรวม


  1. บริการกองทุนรวมผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง สามารถทำรายการใดได้บ้าง


    คุณสามารถส่งคำสั่งซื้อ คำสั่งขายคืน คำสั่งสับเปลี่ยน หรือสอบถามยอดหน่วยลงทุนคงเหลือของกองทุนที่ได้ลงทะเบียนเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไว้กับบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง



  2. กองทุนประเภทใดบ้างที่สามารถทำรายการผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้

    กองทุนรวมที่สามารถลงทะเบียนใช้บริการส่งคำสั่งซื้อ คำสั่งขาย หรือคำสั่งสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้ ได้แก่ กองทุนเปิดที่มีเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนขึ้นต้นด้วย 888 เช่น กองทุนเปิด
    บัวหลวงธนทวี กองทุนเปิดบัวแก้ว กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนเปิดบัวหลวงทศพล กองทุนในกลุ่มบัวหลวงธนรัฐ บัวหลวงธนสาร บัวหลวงธนสารพลัส  บัวหลวงตราสารหนี้ชนิดระบุวันครบกำหนด หรือกองทุนที่มีเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนขึ้นต้นด้วย 889 ซึ่งเงินลงทุนในกองทุนสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษี ได้แก่ กองทุนเปิดบัวหลวงเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว (LTF) เป็นต้น


  3. เมื่อทำการสั่งซื้อหน่วยลงทุนผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง สามารถชำระเงินด้วยวิธีใดได้บ้าง

    การสั่งซื้อหน่วยลงทุน สามารถเลือกชำระเงินได้ 2 วิธี คือ 
    • หักเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงเทพ
    • หักเงินจากบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ* (เฉพาะการซื้อหน่วยลงทุนกองทุน RMF/LTF เท่านั้น)



  4. หากต้องการเพิ่มบัญชีกองทุนรวมในบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง จะต้องทำอย่างไร

    การเพิ่มบัญชีกองทุนรวมเข้าสู่บริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้ง สามารถดำเนินการได้ 2 วิธี ดังนี้

    1. เพิ่มบัญชีกองทุนรวมแบบออนไลน์
      (ทุกวัน ระหว่างเวลา 7.00-22.00 น.) เพียงไปที่ “เมนูลัด” เลือก “เพิ่มบัญชีและบัตรเครดิตตนเอง” เลือกประเภทบัญชี “บัญชีกองทุนรวม” จากนั้นกรอกข้อมูลตามหน้าจอ เพียงเท่านี้ ก็สามารถตรวจสอบหน่วยลงทุนคงเหลือของทุกกองทุนที่อยู่ภายใต้เลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนเดียวกัน และทำธุรกรรมได้ทันที

    2. ติดต่อธนาคารกรุงเทพสาขาใดก็ได้ที่ท่านสะดวก*
      โดยกรอกแบบฟอร์มคำขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการใช้บริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้ง พร้อมเอกสารประกอบ ดังนี้
      • บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ)
      • สมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน ที่มีเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนขึ้นต้นด้วย 888 หรือ 889
      • สมุดบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ หรือสมุดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ที่ใช้กับบริการบัวหลวง
        ไอแบงก์กิ้ง
        *สามารถใช้บริการกองทุนรวมผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ได้ภายใน 3-5 วันทำการนับจากวันที่ท่านติดต่อที่สาขา


  5. มีการกำหนดจำนวนเงินหรือจำนวนหน่วยลงทุนสูงสุดต่อรายการ ที่สามารถทำรายการผ่าน บัวหลวง ไอแบงก์กิ้งหรือไม่ อย่างไร

  6. คำสั่งซื้อ

    จำนวนเงินสูงสุดไม่เกินรายการละ 10,000,000 บาท (โปรดศึกษาจำนวนเงินขั้นต่ำในการซื้อแต่ละกองทุนในหนังสือชี้ชวน)

    คำสั่งขายคืน

    จำนวนเงินสูงสุดไม่เกินรายการละ 10,000,000 บาท หรือจำนวนหน่วยลงทุนสูงสุดไม่เกินรายการละ 1,000,000 หน่วย

    คำสั่งสับเปลี่ยนกองทุน

    จำนวนหน่วยลงทุนสูงสุดไม่เกินรายการละ 1,000,000 หน่วย



  7. บริการกองทุนรวมผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง มีกำหนดช่วงเวลาในการทำรายการหรือไม่

    คุณสามารถส่งคำสั่งซื้อ คำสั่งขายคืน คำสั่งสับเปลี่ยน หรือสอบถามยอดหน่วยลงทุนคงเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับรายการลงทุนที่ธนาคารได้รับคำสั่งของคุณหลัง 16.00 น. ตามเวลาของระบบงานธนาคาร ธนาคารถือเป็นคำสั่งให้ระบบดำเนินการในวันทำการถัดไป


  8. บริการกองทุนเปิดสามารถกำหนดวันทำรายการลงทุนล่วงหน้าได้หรือไม่

  9. คุณสามารถส่งคำสั่งให้ธนาคารทำรายการทันที หรือกำหนดวันทำรายการล่วงหน้าได้ และยังสามารถกำหนดให้ระบบทำรายการเป็นประจำ สำหรับรายการคำสั่งซื้อ และคำสั่งขายคืนได้อีกด้วย


  10. สามารถยกเลิกคำสั่งซื้อ ขาย สับเปลี่ยนกองทุนที่รอดำเนินการได้หรือไม่

  11. คุณสามารถตรวจสอบคำสั่งซื้อ คำสั่งขายคืน คำสั่งสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนที่รอดำเนินการ ได้ที่เมนู "การลงทุน" เลือกเมนูย่อย "คำสั่งรอดำเนินการ" และคลิกปุ่ม "ยกเลิกคำสั่ง" ในหน้ารายละเอียดคำสั่ง เมื่อคำสั่งนั้นถูกยกเลิกแล้ว ระบบจะแสดงหน้ายืนยันการยกเลิกคำสั่ง ทั้งนี้คำสั่งทุกประเภทที่กำหนดให้ระบบดำเนินการทันที จะไม่สามารถยกเลิกรายการได้


  12. สามารถยกเลิกบัญชีกองทุนของตนเองที่ลงทะเบียนไว้กับบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้ หรือไม่ อย่างไร

  13. คุณสามารถติดต่อธนาคารกรุงเทพสาขาที่คุณสะดวก เพื่อขอยกเลิกการลงทะเบียนบัญชีกองทุนของตนเองกับบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้ โดยกรอกแบบฟอร์มคำขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการใช้บริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้ง ธนาคารจะใช้เวลาดำเนินการ 3-5 วันทำการนับจากวันที่ยื่นคำขอ โดยคุณสามารถตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงได้จากหน้ารายการบัญชี (My Accounts)
บริการพิเศษ

ข้อควรทราบเกี่ยวกับเช็ค สมุดบัญชี ใบแสดงรายการบัญชี การตรวจสอบข้อมูลในการทำธุรกรรม การแลกรับของรางวัลจากคะแนนสะสมในบัตรเครดิต หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิต

 

คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับบริการพิเศษ


1. รายการเช็คคืน - เช็คนำฝาก (Deposited Cheque Return Inquiry) คืออะไร

คือ บริการแสดงรายการเช็คคืน ซึ่งเป็นเช็คที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้ โดยเช็คดังกล่าวต้องเป็นเช็คที่ฝากเข้าบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน หรือบัญชีเงินฝากประจำที่คุณได้ลงทะเบียนไว้ คุณสามารถเรียกดูรายการเช็คคืนได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง และเรียกดูรายการย้อนหลังได้ถึง 2 เดือน ในกรณีที่มีเช็คคืน คุณจะต้องติดต่อสาขาที่คุณมีบัญชีอยู่ เพื่อดำเนินการต่อไป


2. ทำไมบางครั้งหลังจากนำเช็คไปฝากเข้าบัญชีแล้ว จึงยังไม่เห็นรายการเช็คนำฝากในหน้าจอ "รายการเคลื่อนไหวทางบัญชี" (Account Activity) หรือในหน้าจอ "รายละเอียดเช็คคืน-เช็คนำฝาก" (Deposited Cheque Return Inquiry)

หากคุณนำฝากเช็คหลังเวลา 14.00 น. รายการนำฝากนั้นจะไม่แสดงในระบบบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง จนกระทั่งวันทำการถัดไป เนื่องจากว่าเช็คของคุณยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ

 

3. รายการเช็คคืน - เช็คสั่งจ่าย (Issued Cheque Return Inquiry) คืออะไร

คือ บริการที่ให้คุณสามารถเรียกดูรายการเช็คที่สั่งจ่ายและไม่สามารถเรียกเก็บได้ โดยเช็คดังกล่าวจะต้องเป็นเช็คของบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ได้ลงทะเบียนไว้ คุณสามารถเรียกดูรายการเช็คคืนได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง และเรียกดูรายการย้อนหลังได้ถึง 2 เดือน ในกรณีที่มีเช็คคืน คุณจะต้องติดต่อสาขาที่ท่านมีบัญชีอยู่เพื่อดำเนินการต่อไป

 

4. บริการอายัดเช็ค (Stop Cheque) คืออะไร

คือ บริการที่ให้คุณสามารถสั่งอายัดเช็คได้ด้วยตนเอง ระหว่างเวลา 6.00 – 23.00 น. ทุกวัน เช็คที่สั่งอายัดจะต้องเป็นเช็คสั่งจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้

หมายเหตุ: ธนาคารไม่สามารถอายัดเช็คสั่งจ่ายที่มีการหักเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของคุณแล้ว

 

5. ควรทำอย่างไรหากสมุดคู่ฝากหายหรือถูกขโมย

ธนาคารขอแนะนำให้คุณอายัดสมุดคู่ฝากที่สูญหายหรือถูกขโมยทันที เพื่อมิให้ผู้อื่นนำสมุดคู่ฝากไปเบิกเงินจากบัญชีของคุณได้ อย่างไรก็ตาม หลังอายัดสมุดแล้ว คุณยังคงสามารถใช้บัตรเอทีเอ็มของบัญชีนั้นได้ตามปกติ

หากต้องการให้ธนาคารออกสมุดคู่ฝากใหม่ โปรดนำเอกสารใบแจ้งความ พร้อมบัตรประชาชนมาติดต่อสาขาที่มีบัญชีอยู่

 

6. สามารถขอรับใบแสดงรายการบัญชี (Statement Request) ที่แสดงข้อมูลย้อนหลังไปมากกว่าสองเดือนได้หรือไม่


ได้ สำหรับบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและบัญชีบัตรเครดิตที่คุณได้ลงทะเบียนไว้ เพียงคุณทำรายการ "ขอใบแสดงรายการบัญชี" ในหน้า "บริการพิเศษ" ธนาคารจะส่งใบแสดงรายการบัญชีให้คุณทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ของบัญชีนั้นๆ

 

7. หากสงสัยว่ายอดเงินคงเหลือที่แสดงอาจมีความผิดพลาด จะขอให้ธนาคารตรวจสอบได้อย่างไร

คุณสามารถแจ้งให้ธนาคารตรวจสอบได้ โดยทำรายการผ่านเมนู "ตรวจสอบยอดเงินคงเหลือที่ผิดปกติ" โดยธนาคารจะแจ้งผลให้ทราบผ่านบริการแบงก์เมล์

 

8. หากสงสัยว่าข้อมูลรายการทำธุรกรรมที่ระบบแสดงอาจผิดพลาด จะขอให้ธนาคารตรวจสอบได้อย่างไร

คุณสามารถแจ้งให้ธนาคารตรวจสอบได้ โดยทำรายการผ่านเมนู "ตรวจสอบรายการที่ผิดปกติ" โดยธนาคารจะแจ้งผลให้ทราบผ่านบริการแบงก์เมล์

 

9. การแลกของกำนัลจากคะแนนสะสมผ่านทางบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งคืออะไร


คือ บริการสำหรับผู้ถือบัตรหลักเพื่อแลกของกำนัลโดยใช้คะแนนสะสม คุณสามารถตรวจสอบรายการสินค้า "Thank You Rewards" ได้ ทั้งนี้ คุณสามารถเลือกสินค้าได้ 3 ชิ้นต่อการแลกหนึ่งรายการ

 

10. หากต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิตผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ได้หรือไม่

ได้ บริการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบัตรเครดิตเป็นบริการที่อำนวยความสะดวกให้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในการจัดส่งรายการบัญชี, ขอบัตรเครดิตทดแทนใบเก่า ในกรณีที่บัตรเก่าชำรุด และขอ PIN ใหม่ได้ สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในการจัดส่งรายการบัญชีใหม่นั้น คุณจะสามารถทำได้เฉพาะบัตรหลักเท่านั้น

กำหนดค่า

เรียนรู้วิธีการตั้งชื่อบัญชีย่อเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ การเปลี่ยนรหัสลับส่วนตัว การกำหนดภาษาที่ใช้ในการทำรายการ การตั้งค่าเพื่อใช้บริการส่งรหัสผ่านครั้งเดียวทางเอสเอ็มเอสเพื่อยืนยันตัวตนในการทำ ธุรกรรมผ่านบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง


คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับบริการเสริม

1. ชื่อย่อบัญชี (Account Nickname) คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

ชื่อย่อบัญชี คือ ชื่อที่คุณตั้งเองให้กับบัญชีของคุณเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ แทนการจำเลขที่บัญชี

2. การเปลี่ยนรหัสลับส่วนตัว (Change Password) อย่างสม่ำเสมอมีประโยชน์อย่างไร

การเปลี่ยนรหัสลับส่วนตัวอย่างสม่ำเสมอ เป็นมาตรการเสริมด้านความปลอดภัย

 

3.การซ่อนเลขที่บัญชี (Account Masking ) คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

กรณีที่คุณไม่ต้องการเปิดเผยเลขที่บัญชีให้บุคคลอื่นรับรู้ คุณสามารถกำหนดให้ระบบซ่อนเลขที่บัญชีบางส่วนบนหน้าจอได้ด้วยตนเอง

หมายเหตุ: เพื่อความปลอดภัย ธนาคารจะซ่อนเลขบัญชีบัตรเครดิตของท่านให้โดยอัตโนมัติ

 

4.ฟังก์ชั่นกำหนดภาษา (Language ) คืออะไร


ฟังก์ชั่นนี้สามารถเลือกภาษาที่ใช้ดูข้อมูลหรือทำธุรกรรมผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง โดยสามารถเลือกใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้

 

5.สามารถกำหนดวงเงินสูงสุดในการโอนเงินให้บุคคลอื่น (Maximum 3rd Party Funds Transfer) ได้หรือไม่


เพื่อป้องกันความผิดพลาด หรือเป็นการเตือนกรณีคุณพิมพ์จำนวนเงินโอนที่สูงเกินไป คุณสามารถกำหนดจำนวนเงินสูงสุดในการโอนเงินไปยังบัญชีบุคคลอื่นได้ด้วยตนเอง แต่ต้องไม่เกินวันละ 500,000 บาท

 

6.สามารถกำหนดวงเงินสูงสุดของการชำระเงินผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ได้หรือไม่

 

ได้ โดยไปเลือกที่เมนูย่อย "กำหนดรูปแบบ" และกำหนดจำนวนเงินสูงสุดของการชำระเงินได้ที่ "จำนวนเงินสูงสุดในการชำระเงิน" (Maximum Bill Payment)

 

7.สามารถเรียกดูหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวที่ให้ไว้ตอนสมัครใช้บริการผ่านหน้าจอบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ได้หรือไม่

คุณสามารถเรียกดูข้อมูลส่วนตัวได้ในเมนูย่อย "สถานที่ติดต่อของคุณ" หากคุณต้องการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น หมายเลขโทรศัพท์บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ที่ทำงาน และหมายเลขโทรสาร โปรดคลิกที่ "คลิกที่นี่"

หากคุณต้องการเปลี่ยนแปลงคำนำหน้าชื่อ ชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์มือถือ อีเมล หรือที่อยู่ โปรดติดต่อธนาคารกรุงเทพสาขาที่คุณสะดวก เพื่อกรอกแบบฟอร์มให้ธนาคารเก็บไว้เป็นหลักฐาน 

โปรดนำแบบฟอร์มที่กรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วมายื่นที่ธนาคาร และลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่

 

8.บริการส่งรหัสผ่านทาง SMS (SMS Authentication Service) คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร

บริการส่งรหัสผ่านทาง SMS คือ บริการที่ธนาคารกรุงเทพพัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับท่านในการใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ด้วยการส่ง SMS ไปยังหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่คุณได้แจ้งไว้กับธนาคาร เพื่อให้สามารถยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้โดยไม่ต้องไปติดต่อธนาคาร

ยกตัวอย่างเช่น ในการโอนเงินไปยังบัญชีบุคคลอื่น ท่านไม่จำเป็นต้องไปติดต่อธนาคารเพื่อเพิ่มบัญชีบุคคลอื่นอีกต่อไป ด้วยบริการส่งรหัสผ่านทาง SMS (SMS Authentication Service) เพียงปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง โดยคุณสามารถคลิก "เพิ่มบัญชีบุคคลอื่น" ในเมนู "โอนเงิน" ธนาคารจะส่งรหัสผ่านครั้งเดียว (One Time Password - OTP) ไปยังหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่คุณได้แจ้งไว้กับธนาคาร และคุณสามารถใช้รหัสผ่านครั้งเดียวนี้เพื่อยืนยันการเพิ่มบัญชีบุคคลอื่นและทำธุรกรรมผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้ทันที

 

9.รหัสผ่านครั้งเดียว (One Time Password - OTP) คืออะไร

รหัสผ่านครั้งเดียว (One Time Password - OTP) คือ รหัสที่ธนาคารส่งให้คุณทาง SMS ไปยังหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่คุณได้แจ้งไว้กับธนาคาร ระบบจะขอให้คุณใส่รหัสดังกล่าวเพื่อยืนยันคำสั่งในการทำธุรกรรมบางประเภทผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง โดยรหัสผ่านครั้งเดียวนี้จะหมดอายุภายใน 15 นาที หลังจากระบบส่ง SMS ให้คุณ ในกรณีที่คุณไม่ได้ใช้รหัส OTP ภายใน 15 นาที คุณต้องเริ่มต้นทำรายการใหม่อีกครั้ง 

แบงก์เมลและหน้าสรุปการทำรายการ

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับแบงก์เมล และการเรียกดูรายการสรุปที่ได้ทำในรอบการใช้บริการในแต่ละครั้ง

 

คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับบริการแบงก์เมล์ และหน้าสรุปการทำรายการ

 

  1. บริการแบงก์เมล์ (Bank Mail) คืออะไร แตกต่างกับการติดต่อทางอีเมล์ทั่วไปอย่างไร

    บริการแบงก์เมล์ เป็นระบบอีเมล์ที่มีความปลอดภัยสูง ใช้เป็นช่องทางติดต่อระหว่างสมาชิกบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งกับธนาคารเท่านั้น โดยสมาชิกสามารถรับและส่งข้อความไปยังธนาคาร และเรียกดูข้อความที่ส่งไปแล้วได้


  2. จำไม่ได้ว่าทำรายการอะไรไปแล้วบ้างในการเข้าสู่บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ระบบสามารถแสดงรายการที่ทำไปแล้วทั้งหมด ได้หรือไม่

    ได้ เพียงคลิกที่ "สรุปการทำรายการ" (Session Summary) ระบบจะแสดงข้อมูลรายการทั้งหมดที่ทำผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ในรอบการใช้บริการครั้งนั้นๆ เช่น
  • วันและเวลาที่เขาสู่ระบบ
  • รายการโอนเงินทันที ที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว พร้อมหมายเลขอ้างอิง
  • รายการชำระค่าสินค้าและบริการ และบัตรเครดิตที่เป็นการชำระทันที และเสร็จสมบูรณ์แล้ว พร้อมหมายเลขอ้างอิง
  • รายการอายัดเช็ค ที่ผ่านการดำเนินการแล้ว
  • รายการอายัดสมุดคู่ฝาก ที่ผ่านการดำเนินการแล้ว
การพิมพ์และการดาวน์โหลดข้อมูล

วิธีการพิมพ์และดาวน์โหลดข้อมูลบัญชีไอแบงก์กิ้ง

คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับการพิมพ์และการดาวน์โหลดข้อมูล

  1. สามารถพิมพ์ข้อมูลจากหน้าจอได้หรือไม่

  2. ทำได้ 2 วิธี คือ

    1. ใช้คำสั่งพิมพ์จากเมนูของบราวเซอร์ วิธีนี้จะพิมพ์ข้อมูลออกมาตามที่ปรากฏบนจอภาพ สามารถพิมพ์ได้ตามรูปแบบที่มีให้เลือกในคำสั่งพิมพ์ เช่นพิมพ์ข้อมูลพร้อมกรอบ หรือเลือกพิมพ์เฉพาะข้อมูลโดยไม่มีกรอบ
    2. ใช้คำสั่งพิมพ์จากปุ่ม "พิมพ์ข้อมูล" ซึ่งปรากฏบนด้านขวามือของจอภาพ วิธีนี้จะทำให้ข้อมูลที่พิมพ์ออกมาได้รับการจัดรูปแบบที่พอดีกับแผ่น กระดาษ A 4 และอ่านได้ง่าย

  3. ทำไมคลิก "พิมพ์" บนหน้าจอบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งแล้ว แต่ยังพิมพ์ข้อมูลออกมาไม่ได้

  4. กรุณาตรวจสอบเครื่องพรินเตอร์ของคุณ เพื่อให้แน่ใจว่าได้เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และพรินเตอร์ไม่ได้ปิดอยู่หรือไม่ได้เสียบปลั๊ก

    นอกจากนี้ ปุ่ม "พิมพ์ข้อมูล" ของบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งจะต้องใช้กับระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ หากใช้เครื่องแมคอินทอช หรือระบบปฏิบัติการอื่น การทำงานอาจไม่สมบูรณ์ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นของบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง


  5. ฟังก์ชั่น "ดาวน์โหลด" บนหน้าจอบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งทำอะไรได้บ้าง

  6. คุณสามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้ดาวน์โหลดข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีของคุณมาใส่ลงในไฟล์ในรูปแบบของ Microsoft Excel ได้
ระบบรักษาความปลอดภัย

เรียนรู้วิธีเสริมสร้างความปลอดภัยในทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้บัญชีบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง

 

คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัย

 

  1. Secure Socket Layer (SSL) คืออะไร

    Secure Sockets Layer หรือ SSL คือ เครื่องมือทางเทคโลยีชั้นสูงที่ธนาคารนำมาใช้เพื่อรักษาความลับข้อมูล ทุกครั้งที่เข้าสู่บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ระบบบจะทำการเข้ารหัส คือ สลับที่ข้อมูลและแปลงเป็นรหัสตัวเลขทั้งหมด ถึงแม้ว่าผู้ไม่ประสงค์ดีจะผ่านเข้าระบบ SSL ซึ่งเป็นไปได้ยากมาก ก็ยังไม่สามารถอ่านข้อมูลได้ การถอดรหัสเพื่อแปลงตัวเลขเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษ ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากจะมีกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม การถอดรหัสโดยไม่ทราบเลขกุญแจแทบเป็นไปไม่ได้เนื่องจากจำนวนหลักเลขของกุญแจสูงมาก

  2. Secure Socket Layer (SSL) ของธนาคารกรุงเทพปลอดภัยขนาดไหน

    ธนาคารใช้ SSL เวอร์ชั่นล่าสุดซึ่งธนาคารชั้นนำส่วนใหญ่เลือกใช้ เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยขั้นสูง หน้าที่ของ SSL คือ สลับที่ข้อมูลและแปลงเป็นรหัสตัวเลขทั้งหมด ยิ่งความละเอียดในการเข้ารหัสมีมากเท่าไร ความปลอดภัยก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ระดับความละเอียดของการเข้ารหัสมีหน่วยเป็น บิท โดยบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ได้ใช้การเข้ารหัสถึงระดับ 256 บิท

  3. ระบบโดยรวมของบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งมีความปลอดภัยขนาดไหน

    ในฐานะธนาคารชั้นนำของประเทศ ธนาคารตระหนักดีว่าชื่อเสียงของธนาคารขึ้นอยู่กับความมั่นคงและความปลอดภัยของบริการ ธนาคารจึงเลือกผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบคอมพิวเตอร์และระบบรักษาความปลอดภัยของบริษัทชั้นนำระดับโลก มาทำงานร่วมกับธนาคาร เพื่อให้ได้ระบบที่มีความปลอดภัยมากที่สุด ระบบของธนาคารได้รับการตรวจสอบและการรับรองจากบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยว่าได้มาตรฐานสากล

  4. อุปกรณ์ทางเทคโลยีอื่นๆที่ธนาคารใช้กับระบบรักษาความปลอดภัยมีอะไรบ้าง

    นอกจาก SSL และการเข้ารหัสข้อมูล หรือ การ Encryption แล้ว ธนาคารยังมีอุปกรณ์ที่ใช้รักษาความปลอดภัยของระบบอย่างอื่น เพื่อทำให้ธนาคารเป็นหนึ่งในเว็บไซต์ทางการเงินที่ปลอดภัยที่สุดแห่งหนึ่ง

    ธนาคารได้ติดตั้ง Firewall หลายชั้น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำการป้องกันผู้บุกรุกเข้า-ออกระบบ นอกจากนี้ ระบบของธนาคารยังมีซอฟท์แวร์ทำลายไวรัสและซอฟท์แวร์ที่สามารถตรวจจับการบุกรุกหรือการกระทำที่น่าสงสัยผ่านระบบ และหากคุณเปิดหน้าจอทิ้งไว้ โดยไม่มีการทำรายการใดๆ ผ่านหน้าจอระยะหนึ่ง ระบบจะทำการ Sign Off แทนท่านโดยอัตโนมัติ ฟังก์ชั่นพิเศษนี้มีไว้เพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นเข้ามาทำรายการในบัญชีแทนคุณโดยไม่ได้รับอนุญาตขณะที่คุณเปิดหน้าจอทิ้งไว้

    นอกจากนี้ คุณจะได้รับรหัสลับแรกเข้า (PIN) หลังจากเข้าสู่บริการเป็นครั้งแรก ระบบจะให้เปลี่ยนรหัสลับแรกเข้า (PIN) ให้เป็นรหัสลับส่วนตัว (Password) ซึ่งหากคุณต้องการเปลี่ยนรหัสลับส่วนตัว (Password) ในภายหลัง คุณสามารถทำได้ทุกครั้งตามต้องการ บุคคลอื่นรวมทั้งพนักงานของธนาคารไม่สามารถทราบรหัสลับของคุณได้ ธนาคารจะระงับการใช้งานทันทีเมื่อท่านพิมพ์รหัสลับส่วนตัว (Password) ผิด 3 ครั้งติดต่อกัน

    อีกหนึ่งหลักประกันความปลอดภัยของท่าน เว็บไซต์ของธนาคารยังได้รับ Verisign Certificate ซึ่งเป็นใบรับรองที่ออกโดยบริษัท Verisign Inc. ที่สามารถยืนยันได้ว่าคุณกำลังทำธุรกรรมกับบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง


  5. จะทราบได้อย่างไรว่าระบบรักษาความปลอดภัยของบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง กำลังทำงานอยู่

    หากระบบรักษาความปลอดภัยกำลังทำงาน คุณจะเห็นไอคอนเป็นรูปกุญแจปิดที่ด้านล่างขวามือของจอคอมพิวเตอร์ หากเลื่อนเมาส์ไว้ที่รูป "กุญแจ" จะปรากฎข้อความ "SSL Secured" ขึ้นมา ซึ่งหมายความว่าข้อมูลของคุณกำลังได้รับการเข้ารหัส หากต้องการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาคลิกสองครั้งที่ไอคอนรูปกุญแจปิด

  6. จะเพิ่มความปลอดภัยในการใช้บริการด้วยตนเองได้อย่างไรบ้าง

    • เก็บรักษาเลขประจำตัวลูกค้า (User ID) รหัสลับแรกเข้า (PIN) และรหัสลับส่วนตัว (Password ) ของคุณเป็นความลับ อย่าจดรหัสไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือที่ที่บุคคลอื่นสามารถพบเห็นได้ง่าย และควรตรวจดูให้แน่ใจว่าขณะใส่รหัสลับคุณไม่ได้อยู่ในสายตาผู้อื่น

      ธนาคารไม่มีนโยบายในการสอบถามข้อมูลส่วนตัวของคุณผ่านอีเมล์ โทรศัพท์ หรือการติดต่อรูปแบบอื่นๆ หากมีผู้ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลส่วนตัวดังกล่าว โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารทันทีที่บัวหลวงโฟน โทร. 1333 หรือ (66) 0 2645 5555 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

    • คุณควรเปลี่ยนรหัสลับส่วนตัว (Password) อยู่เสมอ และไม่ควรใช้ตัวเลขที่บุคคลอื่นสามารถคาดเดาได้ง่าย เช่น วันเกิด หมายเลขโทรศัพท์ หรือเลขที่บ้าน
    • คลิก "ออกจากระบบ" ทุกครั้ง ที่ต้องการออกจากบริการ และไม่เปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้จนกว่าจะทำรายการเสร็จ
    • ติดตั้งแอปพลิเคชัน/ซอฟท์แวร์กำจัดไวรัส (Anti-virus Software) บนโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะที่ใช้ทำธุรกรรมออนไลน์ และอัพเกรดซอฟท์แวร์อยู่เสมอ
    • หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับผู้อื่น เช่น ในร้านอินเทอร์เน็ต เพราะอาจไม่มีระบบความปลอดภัยที่ดีพอ
    • หลีกเลี่ยงการคลิกลิงก์ (URL) ที่ส่งมากับ SMS หรืออีเมลหลอกลวง
    • หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลด หรือติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ

      ธนาคารไม่มีนโยบายส่ง SMS หรืออีเมล เพื่อขอให้คุณดาวน์โหลดหรือติดตั้งโปรแกรมใดๆ สำหรับการทำธุรกรรมต่างๆ กับธนาคาร ดังนั้น หากคุณได้รับข้อความในทำนองดังกล่าว หรือได้ทำการคลิกลิงก์เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมที่ต้องสงสัยไปแล้ว โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารทันทีที่บัวหลวงโฟน โทร. 1333 หรือ (66) 0 2645 5555 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

    • หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอุปกรณ์ที่ได้รับการดัดแปลงระบบปฏิบัติการ (jail break สำหรับระบบปฏิบัติการ iOS และ root สำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์)

  7. ทำอย่างไรหากมีคนทราบรหัสลับส่วนตัว (Password) ของท่าน

    เปลี่ยนรหัสลับส่วนตัว (Password) ทันที หรือติดต่อเจ้าหน้าที่บริการบัวหลวงโฟน ที่หมายเลข 1333 หรือ (66) 0 2645 5555 เพื่อขอระงับการใช้บริการ

  8. จะทำอย่างไรถ้าหน้าต่าง Security Information ปรากฏข้อความว่า "This page contains both secure and nonsecure items"

  9. หน้าต่าง Security Information



    หน้าต่างนี้จะปรากฏขึ้นเมื่อคุณคลิกลิงค์อื่นขณะที่ข้อมูลของคุณยังไม่ได้รับการดำเนินการโดยเรียบร้อย ข้อมูลสำคัญของเราทั้งหมด เช่น เลขที่บัญชี และเลขที่บนบัตรเครดิตของคุณจะยังคงถูกเข้ารหัสและปลอดภัยแม้ว่าหน้าต่างนี้จะหายไปแล้วก็ตาม

    คลิก "Yes" เพื่อใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งต่อ แม้ว่าหน้าต่างนี้ Security Information จะหายไป เลขที่บัญชี และเลขที่บนบัตรเครดิตของคุณจะยังคงถูกเข้ารหัสและปลอดภัยอยู่

    แต่ถ้าคุณคลิก "No" คุณอาจจะพบกับหน้าผิดพลาดได้ จึงควรคลิกปุ่ม Back เพื่อที่จะกลับไปยังหน้าก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามถ้าหน้าผิดพลาดไม่ได้ปรากฏขึ้น การดำเนินการของเราก็จะยังคงปลอดภัยและคุณก็สามารถใช้บริการต่อไปได้

    หากคุณไม่ต้องการให้หน้าต่าง Security Information นี้ปรากฏขึ้นมาอีก คุณควรรอให้ข้อมูลของคุณได้รับการดำเนินการโดยเรียบร้อยก่อนที่คุณจะคลิกลิงค์อื่น

  10. หากใช้ Internet Café ในการเข้าสู่ระบบบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง จะต้องทำอย่างไรเพื่อมิให้ผู้อื่นเห็น หรือใช้บัญชีของคุณ

    ธนาคารแนะนำให้คุณ Log off ออกจากระบบทุกครั้ง เมื่อเลิกใช้บริการ หรือหากจะทิ้งหน้าจอไว้เป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ คุณยังสามารถป้องกันมิให้ผู้อื่นเห็นหน้าของเว็บไซต์ที่คุณเข้าเยี่ยมชมได้ โดยการคลิกที่เมนู "Tool" และเลือก "Option" หลังจากนั้น หน้าจอของ "Option" จะปรากฏ ให้คลิกที่ปุ่ม "Delete Files" ตามรูป และให้ลบ Internet Temporary Files และลบ History ออกให้หมด

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณในทุกธุรกรรมทางการเงิน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณในทุกธุรกรรมทางการเงิน

คุณกำลังจะออกจากเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ