พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจ ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (แบบไร้ใบตราสาร)

รุ่นอายุ 7 ปี (SB305B) และรุ่นอายุ 10 ปี (SB335A)

สรุปสาระสำคัญ

วันที่จำหน่าย 15 – 17 พ.ค. 66

วันที่จำหน่าย 22 – 23 พ.ค. 66

รุ่นอายุ 7 ปี (SB305B)

รุ่นอายุ 10 ปี (SB335A)

อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ 2.70% ต่อปี

อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ 2.60% ต่อปี

ผู้มีสิทธิ์ซื้อ :

บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

 

ผู้มีสิทธิ์ซื้อ :

สภากาชาดไทย มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และนิติบุคคลอื่นที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร

 

วงเงินจองซื้อต่อราย (รวมทุกธนาคาร) :

ขั้นต่ำ 1,000 บาท

ไม่จำกัดวงเงินจองซื้อขั้นสูง

วงเงินจองซื้อต่อราย (รวมทุกธนาคาร) :

ขั้นต่ำ 1,000 บาท

ไม่จำกัดวงเงินจองซื้อขั้นสูง

วิธีการจัดสรร :

Small Lot First (ทยอยจัดสรรพันธบัตรเป็นรอบ ๆ เวียนจนครบผู้ซื้อทุกราย โดยจัดสรรขั้นต่ำ 1,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 1,000 บาท) ทั้งนี้ กรณีไม่ได้รับการจัดสรร เนื่องจากผิดเงื่อนไขหรือได้รับจัดสรรไม่ครบตามวงเงินที่จองซื้อ ลูกค้าจะได้รับเงินส่วนที่ไม่ได้รับการจัดสรรคืนภายในวันที่ 19 พ.ค. 66 โดยไม่มีดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนใดๆ

วิธีการจัดสรร :

First Come, First Served (มาก่อนได้รับสิทธิ์ก่อน) หากวงเงินจำหน่ายคงเหลือน้อยกว่าวงเงินที่ซื้อ ลูกค้าจะไม่ได้รับการจัดสรรและจะได้รับเงินคืนทั้งจำนวน โดยไม่มีดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนใดๆ

วันที่เริ่มนับดอกเบี้ยงวดแรก :

18 พ.ค. 2566

วันที่เริ่มนับดอกเบี้ยงวดแรก :

ตั้งแต่วันที่ชำระเงินสมบูรณ์ กรณีชำระด้วยเช็ค ดอกเบี้ยจะเริ่มนับในวันทำการที่ทราบผลว่าเช็คสามารถเรียกเก็บได้

วันจ่ายดอกเบี้ย :

18 ก.พ. / 18 พ.ค. / 18 ส.ค. / 18 พ.ย. ของทุกปี

(ดอกเบี้ยงวดแรก 18 ส.ค. 66)

วันจ่ายดอกเบี้ย :

22 พ.ค. / 22 พ.ย. ของทุกปี

(ดอกเบี้ยงวดแรก 22 พ.ย. 66)

ช่องทาง/เวลาจำหน่าย :

สาขาธนาคารกรุงเทพ : ตามเวลาเปิด-ปิดทำการของสาขา โดยในวันสุดท้าย (17 พ.ค. 66) ปิดรับจองซื้อ 15.00 น.

Bangkok Bank Mobile Banking / Bualuang iBanking : ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ของวันที่ 15 พ.ค. 66 ถึง 15.00 น. ของวันที่ 17 พ.ค. 66

(หรือจนกว่าจะเต็มวงเงินจัดจำหน่าย)

ช่องทาง/เวลาจำหน่าย :

ตามเวลาเปิด-ปิดทำการของสาขา โดยในวันสุดท้าย (23 พ.ค. 65) ปิดรับจองซื้อ 15.00 น.

(หรือจนกว่าจะเต็มวงเงินจัดจำหน่าย)

การชำระเงิน :

กรณีซื้อผ่านเคาน์เตอร์สาขา

  • ชำระด้วยเงินสดหรือหักบัญชีเงินฝาก
  • ชำระด้วยเช็ค
    • สั่งจ่าย

“บัญชีจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง รุ่นอายุ 7 ปี (SB305B)””

    • ลงวันที่ไม่เกินวันที่ซื้อ (ไม่รับชำระด้วยเช็คในวันที่ 17 พ.ค. 66)
    • เรียกเก็บได้ในสำนักหักบัญชีเดียวกับสาขาที่รับชำระเงินค่าพันธบัตร

 

กรณีซื้อผ่าน Bangkok Bank Mobile Banking / Bualuang iBanking

  • หักเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้จองซื้อทันทีเมื่อสิ้นสุดการทำรายการ

การชำระเงิน :

  • ชำระด้วยเงินสดหรือหักบัญชีเงินฝาก
  • ชำระด้วยเช็ค
  • สั่งจ่าย

    “บัญชีจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง รุ่นอายุ 10 ปี (SB335A)”

  • ลงวันที่ไม่เกินวันที่ซื้อ (ไม่รับชำระด้วยเช็คในวันที่ 23 พ.ค. 66)
  • เรียกเก็บได้ในสำนักหักบัญชีเดียวกับสาขาที่รับชำระเงินค่าพันธบัตร


พันธบัตรออมทรัพย์รุ่นนี้เป็นแบบไร้ใบตราสาร ผู้ซื้อจะต้องลงทะเบียนก่อนการซื้อ ซึ่งธนาคารกรุงเทพเปิดให้ผู้สนใจลงทะเบียนเพื่อขอมีเลขที่ผู้ถือพันธบัตรได้ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา และโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ สำหรับลูกค้าที่เคยลงทะเบียนเพื่อซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง แบบไร้ใบตราสาร กับธนาคารกรุงเทพไว้แล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ สามารถใช้เลขที่ผู้ถือพันธบัตรเดิมซื้อพันธบัตรรุ่นนี้ได้

ข้อมูลเพิ่มเติม

การลงทะเบียนและการฝากหลักทรัพย์

ผู้จองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์แบบไร้ใบตราสาร (Scripless) รายใหม่ที่ไม่เคยลงทะเบียนและเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์มาก่อน ผู้จองซื้อสามารถลงทะเบียนได้ทุกวันทำการที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา เพื่อฝากพันธบัตรไว้กับธนาคารกรุงเทพ โดยธนาคารกรุงเทพจะนำฝากพันธบัตรของผู้ถือกรรมสิทธิ์ภายใต้บัญชีฝากหลักทรัพย์ของธนาคารเพื่อลูกค้า ที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ทั้งนี้ ชื่อเจ้าของพันธบัตรที่ลงทะเบียนจะต้องตรงกันกับชื่อเจ้าของบัญชีเงินฝากเพื่อรับโอนดอกเบี้ยและต้นเงิน

ใช้หลักฐานดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง (กรณีบุคคลธรรมดา) หรือเอกสารหลักฐานการแสดงตนที่ออกโดยหน่วยงานราชการ (กรณีนิติบุคคล) และสำเนาเอกสารดังกล่าว พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สมุดบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) เพื่อรับเงินค่าดอกเบี้ยและต้นเงินพันธบัตรของผู้ซื้อที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคารกรุงเทพพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ในกรณีที่ไม่มีบัญชีเงินฝาก ผู้ซื้อต้องเปิดบัญชีใหม่

 

กรณีผู้ซื้อประสงค์ซื้อพันธบัตรผ่านบริการโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ผู้ซื้อจะต้องทำการลงทะเบียนเพื่อขอมีเลขที่ผู้ถือพันธบัตรที่สาขาธนาคารกรุงเทพ และสมัครใช้บริการโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพก่อน แล้วจึง Log on เข้าสู่บริการโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ เพื่อผูกบัญชีพันธบัตร กรณีผู้ซื้อลงทะเบียนเพื่อขอมีเลขที่ผู้ถือพันธบัตรผ่านบริการโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ระบบจะเพิ่มบัญชีพันธบัตร (890-x-xxxxx-x) ให้โดยอัตโนมัติจากนั้นจึงจะสามารถใช้บริการจองซื้อพันธบัตรผ่านบริการโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ด้วยตนเอง 
กรณีผู้ซื้อประสงค์ซื้อพันธบัตรผ่านบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ผู้ซื้อจะต้องทำการลงทะเบียนเพื่อขอมีเลขที่ผู้ถือพันธบัตรที่สาขาธนาคารกรุงเทพ และสมัครใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ก่อน แล้วจึง Log on เข้าสู่บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ทางเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ เพื่อผูกบัญชีพันธบัตร กรณีผู้ซื้อลงทะเบียนเพื่อขอมีเลขที่ผู้ถือพันธบัตรผ่านบริการโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ระบบจะเพิ่มบัญชีพันธบัตร (890-x-xxxxx-x) ให้โดยอัตโนมัติ จากนั้นจึงจะสามารถใช้บริการจองซื้อพันธบัตรผ่านบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ด้วยตนเอง
หลักฐานที่ได้รับจากการซื้อพันธบัตร

สมุดพันธบัตรรัฐบาลที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับพันธบัตร โดยมีข้อกำหนดและเงื่อนไขดังนี้

  • ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถนำไปใช้อ้างอิงสำหรับการทำธุรกรรมได้
  • ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถนำสมุดพันธบัตรไปปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันผ่านสาขา หรือเครื่องปรับสมุดอัตโนมัติของธนาคารกรุงเทพ ดังนี้
    • บุคคลธรรมดา : ตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค. 66 เป็นต้นไป
    • นิติบุคคล : หลังวันทำรายการซื้อ 2 วันทำการ
  • รายการที่ปรากฏอยู่ในสมุดพันธบัตร เป็นรายการที่แสดงมูลค่าตามราคาตรา (Par Value) ในวันที่จดทะเบียน และ/หรือมูลค่าตามราคาตลาดของธนาคารกรุงเทพในวันทำรายการ
  • รายการที่ปรากฏในสมุดพันธบัตร จะถือว่าถูกต้องเมื่อรายการดังกล่าวตรงกันกับรายการที่บันทึกไว้ที่ธนาคารกรุงเทพ
  • รายการที่อยู่ในสมุดพันธบัตร จะปรากฏเฉพาะพันธบัตรที่เป็นรุ่นไร้ใบตราสาร ที่ซื้อผ่านธนาคารกรุงเทพ

 

ทั้งนี้ ผู้ซื้อที่เคยซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง แบบไร้ใบตราสาร และเคยได้รับสมุดพันธบัตรรัฐบาลจากธนาคารกรุงเทพแล้ว สามารถใช้สมุดพันธบัตรเล่มเดิมเพื่อซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจ ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้
วิธีจัดสรร
พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจ ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รุ่นอายุ 7 ปี (SB305B) มีวิธีจัดสรรแบบ Small Lot First หมายถึง การจัดสรรพันธบัตรที่ให้พันธบัตรกับ “ทุกคน” ที่จองซื้อเข้ามา โดยผู้ที่ส่งรายการจองซื้อในวงเงินไม่มาก (หรือ Small Lot ซึ่งมักเป็นนักลงทุนรายย่อย) จะมีโอกาส “สูง” ที่จะได้รับการจัดสรรพันธบัตรครบตามวงเงินที่จองซื้อเข้ามา ขณะที่ผู้ที่ส่งรายการจองซื้อในวงเงินจำนวนมาก จะมีโอกาส “น้อยลง” ที่จะได้รับจัดสรรพันธบัตรครบตามจำนวนที่ต้องการ โดยทยอยจัดสรรพันธบัตรเป็นรอบ ๆ เวียนจนครบผู้ซื้อทุกราย โดยจัดสรรขั้นต่ำ 1,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 1,000 บาท

พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจ ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รุ่นอายุ 10 ปี (SB335A) มีวิธีจัดสรรแบบ First Come, First Served การจัดสรรพันธบัตรให้กับลูกค้าที่ทำการจองซื้อพันธบัตรก่อน หากวงเงินจำหน่าย (รวมทุกธนาคาร) เต็มหรือไม่เพียงพอ ผู้ซื้อจะไม่ได้รับการจัดสรร โดยผู้จองซื้อที่มี "คำเสนอขอซื้อพันธบัตร" ณ สาขาธนาคารกรุงเทพ และชำระเงินสมบูรณ์ก่อน จะได้รับการจัดสรรก่อน
การประกาศผลการจัดสรร
พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจ ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รุ่นอายุ 7 ปี (SB305B) ผู้ซื้อสามารถทราบภาพรวมการจัดสรรพันธบัตรแบบยอดรวมสูงสุดต่อคน ได้ที่ Website ธปท. ตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. 66 ทั้งนี้ ธนาคารจะส่ง SMS แจ้งผลการจัดสรรและการคืนเงินให้ลูกค้าทราบภายในวันที่ 18 พ.ค. 66 กรณีไม่ได้รับจัดสรรพันธบัตรเนื่องจากผิดเงื่อนไข หรือได้รับจัดสรรไม่ครบตามวงเงินที่จองซื้อ ธนาคารจะคืนเงินค่าจองซื้อพันธบัตรในส่วนที่ไม่ได้รับการจัดสรรให้ผู้จองซื้อ โดยไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนอื่นใด ภายในวันที่ 19 พ.ค. 66
การเปลี่ยนแปลงชื่อที่อยู่ บัญชีรับดอกเบี้ย และต้นเงิน
ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถแจ้งการเปลี่ยนแปลงฯ ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา
ธุรกรรมหลังการซื้อพันธบัตรของผู้ถือกรรมสิทธิ์
การโอนกรรมสิทธิ์

รุ่นอายุ 7 ปี (SB305B) ทำได้ตั้งแต่วันที่ 18 พ.ย. 66 เป็นต้นไป และรุ่นอายุ 10 ปี (SB335A) ทำได้ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย. 66 เป็นต้นไป ยกเว้น การโอนทางมรดก การแบ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการหย่า การล้มละลาย การชำระบัญชี การจำนำสิทธิในพันธบัตรเพื่อเป็นหลักประกัน ให้ทำได้หลังจากวันที่ทำรายการซื้อแล้ว 2 วันทำการ ทั้งนี้ การโอนกรรมสิทธิ์และการจำนำสิทธิในพันธบัตรเพื่อเป็นหลักประกัน ไม่สามารถกระทำได้ตั้งแต่วันปิดสมุดทะเบียน เพื่อจ่ายคืนเงินต้นตามที่ ธปท. ประกาศกำหนด

การโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร สามารถทำได้โดยอาจเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ให้กับลูกค้ารายใหม่ (มีค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์) หรือลูกค้าเดิมภายในกลุ่มผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ซื้อผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่ายเดียวกัน แต่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างธนาคารตัวแทนจำหน่ายได้ โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องนำสมุดพันธบัตรไปติดต่อธนาคารตัวแทนจำหน่ายที่ได้ฝากพันธบัตรไว้

 

การใช้พันธบัตรเป็นหลักประกัน

 

ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานราชการและองค์กรของรัฐ เช่น การประกันทางศาล หรือการประกันไฟฟ้า และสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงิน หรือบุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระเบียบหลักเกณฑ์การรับหลักประกันของหน่วยงานหรือบุคคลนั้นๆ โดยจะต้องติดต่อธนาคารกรุงเทพ เพื่อขอถอนพันธบัตรจากระบบ Scripless (มีค่าธรรมเนียมการถอนพันธบัตร)Scripless

 

ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมภายหลังการซื้อพันธบัตรของผู้ซื้อกรรมสิทธิ์

 

ตรวจสอบได้ที่หนังสือชี้ชวนการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นสุขใจให้ออม ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ข้อกำหนดอื่นๆ
  • ผู้จองซื้อพันธบัตรจะยกเลิกการจองซื้อและขอเงินคืนไม่ได้
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะนายทะเบียนพันธบัตร จะโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์หรือกระแสรายวันของผู้ถือพันธบัตรที่ฝากไว้กับธนาคารกรุงเทพตามที่แจ้งไว้ตอนลงทะเบียน
  • หากวันจ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดธนาคาร จะชำระดอกเบี้ยในวันทำการถัดไป
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย จะหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการจ่ายดอกเบี้ย ตามอัตราที่ประกาศในประมวลรัษฎากร (บุคคลธรรมดาจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือขอรับเอกสารรู้ก่อนซื้อพันธบัตรได้ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา หรือบัวหลวงโฟน 1333

ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
ในทุกธุรกรรมทางการเงิน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณในทุกธุรกรรมทางการเงิน

คุณกำลังจะออกจากเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ