
Online Banking
ลูกค้าบุคคล
- บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
- บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
- บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
- โมบายแบงก์กิ้ง
- โมบายแบงก์กิ้ง
- โมบายแบงก์กิ้ง
- บัวหลวง ไอฟันด์
สารคดีทางโทรทัศน์ที่ส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอี
ให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
สารคดีทางโทรทัศน์ที่ส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอีมาเกือบสามทศวรรษ และยังคงสืบสานเจตนารมณ์ต่อไป
เป็นเวลา 30 ปีแล้วที่สารคดีสั้นทางโทรทัศน์ในชื่อ ‘เพื่อนคู่คิด’ ของธนาคารกรุงเทพได้มีส่วนสนับสนุนภาคธุรกิจ เอสเอ็มอีให้เจริญก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของเอสเอ็มอีที่มีความโดดเด่นและน่าสนใจ ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเหล่านั้นได้ขยายตลาดและแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารยังมุ่งหวังให้เรื่องราวเกี่ยวกับความสำเร็จและการพัฒนาธุรกิจในเชิงนวัตกรรมที่สะท้อนผ่านสารคดีเพื่อนคู่คิดในแต่ละตอน ช่วยจุดประกายความคิดให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ นำไปประยุกต์ใช้ในกิจการของตนและพัฒนาต่อยอดเพื่อความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป
ธนาคารกรุงเทพเริ่มทำการผลิตและเผยแพร่รายการเพื่อนคู่คิดในปี 2532 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งพัฒนาเนื้อหาและรูปแบบรายการให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางธุรกิจ เศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา จนเป็นที่ยอมรับจากสาธารณชนอย่างกว้างขวางในฐานะรายการโทรทัศน์ที่มีสาระประโยชน์สำหรับผู้ชมทุกกลุ่ม นอกเหนือจากผู้ประกอบการ ดังจะเห็นได้จากการได้รับรางวัลที่สำคัญเช่นรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประเภทส่งเสริมอาชีพดีเด่นประจำปี 2540 จากชมรมส่งเสริมโทรทัศน์ มูลนิธิจำนง รังสิกุลและสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
รายการเพื่อนคู่คิดเป็นหนึ่งในหลากหลายโครงการและกิจกรรมที่ธนาคารกรุงเทพดำเนินการภายใต้นโยบายที่มุ่งสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจไทย ให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
ออกอากาศทุกวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ ทางช่อง 3 HD หมายเลข 33 เวลา 08.22 น.
วันที่ 1 พ.ค. 68 ตอน NS Energy ชีวมวลอัดแท่งพลังงานสะอาดจากของเหลือทิ้งภาคการเกษตร
วันที่ 2 พ.ค. 68 ตอน Northern Shellac แปรรูปครั่งเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ
ใบสมัครออกรายการ ‘เพื่อนคู่คิด’
ผู้ประกอบการที่สนใจร่วมออกอากาศรายการเพื่อนคู่คิด สามารถ ดาวน์โหลดใบสมัคร พร้อมกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และส่งกลับมาที่คุณปิ่นปินัทธ์ พัฒนจันหอมทางอีเมล: Pinpinat.Pattanachunhom@bangkokbank.com
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือติดต่อขอข้อมูลได้ที่
ฝ่ายการประชาสัมพันธ์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 333 ถนนสีลม กรุงเทพฯ 10500
ช่องทางอื่นๆ ที่สามารถรับชมรายการย้อนหลัง หรือรับชมข้อมูลเพิ่มเติมของรายการ
Facebook Fanpage: รายการเพื่อนคู่คิด
YouTube Channel: เพื่อนคู่คิด โดย ธนาคารกรุงเทพ
Tik Tok: เพื่อนคู่คิด
RYDEKART (ร้ายกาจ) จักรยานไฟฟ้าประเภท e-Bike แบรนด์ไทย ที่ฟังก์ชันตอบโจทย์การใช้งานในทุกรูปแบบ พ่วงด้วยดิไซน์โดดเด่นเฉพาะตัว ตอบสนองการใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปทำงาน ออกกำลังกาย หรือการท่องเที่ยวระยะใกล้ ใช้งานง่าย ไม่สร้างมลภาวะ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อเทียบกับยานพาหนะอื่น ๆ
พีระ จันจิราวุฒิกุล ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ RYDEKART ผู้ชื่นชอบการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อจะหาแรงบันดาลใจใหม่ ๆ และพบว่า e-Bike เป็นยานพาหนะที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ โดยเฉพาะแถบยุโรป จึงมองเห็นโอกาสในการพัฒนา e-Bike ให้เหมาะสมกับการใช้งานของคนเอเชีย ด้วยการนำเข้าชิ้นส่วนคุณภาพจากประเทศจีน นำมาประกอบและออกแบบให้แตกต่างจากรถจักรยานไฟฟ้าทั่วไป ด้วยนิยาม “เรียบง่ายแต่ร้ายกาจ”
e-Bike รุ่นแรกมีชื่อว่า ‘ร้ายกาจ’ มาพร้อมฟังก์ชันที่ตอบโจทย์การใช้งานในเมือง เช่น Cargo Lack ที่อยู่ด้านหลังสามารถขนสัมภาระได้ มีกระเป๋าด้านหน้าไว้ใส่มือถือ Gadgets ต่าง ๆ มีล้อหน้ากว้างเพื่อการขับขี่ที่นุ่มนวล เหมาะกับทุกสภาพถนน หรือจะเป็นรุ่น Rydemark (ร้ายมาก) ที่เน้นความคล่องตัว สามารถพับได้ ทำให้สะดวกต่อการพกพา เหมาะกับการใช้งานในต่างจังหวัด
นอกจากนี้ RYDEKART ยังให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลจากผู้ใช้งานจริง เพื่อนำมาปรับปรุงในการผลิตครั้งต่อ ๆ ไป เป้าหมายของ RYDEKART คือผลิตจักรยานไฟฟ้า ที่เน้นดิไซน์ที่แตกต่าง คุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากล ผลิตในประเทศไทยและเป็นแบรนด์ของคนไทยที่ดังไกลทั่วโลก
#เพื่อนคู่คิดธุรกิจคิดดี
#GoodBusinessForBetterLiving
Facebook: https://www.facebook.com/RYDEKARTBIKE
รับชมรายการ: https://youtu.be/8IIcQ6ngu9E
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่
นโยบายการใช้คุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ธนาคารใช้งานคุกกี้ประเภทจำเป็นถาวรเพื่อให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานเว็บไซต์ของธนาคารได้อย่างปลอดภัยและคุกกี้ประเภทการทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกเมื่อท่านกลับเข้ามาใช้งานเว็บไซต์อีกครั้ง นอกจากนี้ ธนาคารยังใช้คุกกี้ประเภทอื่น ได้แก่ คุกกี้ประเภทการวิเคราะห์ และคุกกี้ประเภทการโฆษณา ซึ่งหากท่านปิดการใช้งานอาจกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้ ดังนี้
ธนาคารใช้คุกกี้ประเภทนี้เพื่อวิเคราะห์หรือวัดผลการทำงานของเว็บไซต์ และเข้าใจถึงความสนใจของท่าน เพื่อนำไปบริหารจัดการ ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้ อาจทำให้ธนาคารไม่ได้ปรับปรุงหรือพัฒนาเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับสถิติการใช้งานเว็บไซต์ที่แท้จริง
ธนาคารใช้คุกกี้ประเภทนี้เพื่อนำเสนอข้อมูลหรือโฆษณาให้เหมาะสมตรงตามความสนใจและความชื่นชอบของท่าน การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้ อาจทำให้ท่านไม่ได้รับข้อมูลที่เหมาะสมหรือตรงกับความต้องการของท่าน
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (“ธนาคาร”) ให้ความสำคัญในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ธนาคารจึงจัดทำหนังสือนี้ เพื่อแจ้งให้ท่านทราบถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
1. ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ธนาคารจะนำมาเก็บรวบรวมและใช้ ประกอบด้วย
1.1.ข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนท่านได้ ไม่ว่าทางตรง หรือ ทางอ้อม
(1) ข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล เพศ วันเดือนปีเกิด ส่วนสูง น้ำหนัก ข้อมูลบนบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง เลขประจำตัวพนักงาน ข้อมูลบนบัตรประกันสังคม เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ข้อมูลบนทะเบียนบ้าน รูปถ่ายใบหน้า สัญชาติ ลายมือชื่อ ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าออกประเทศ ประวัติการศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน สถานภาพ สมาชิกภาพ ใบอนุญาตต่าง ๆ เช่น ใบอนุญาตทำงาน ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ใบอนุญาตในการประกอบอาชีพ
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับการเงินและการทำธุรกรรม ได้แก่ รายได้ หมายเลขบัญชีเงินฝากที่ใช้สำหรับรับค่าจ้าง หมายเลขบัตรเครดิต ข้อมูลเกี่ยวกับการทำประกันผ่านธนาคาร ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สิน ความสามารถในการลงทุน ข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด การถูกดำเนินคดี การถูกบังคับคดี ข้อมูลเกี่ยวกับการขอใช้สินเชื่อสวัสดิการต่าง ๆ การวิเคราะห์ความเสี่ยงและความสามารถในการชำระหนี้ ข้อมูลการชำระหนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สิน ข้อมูลเกี่ยวกับการหักบัญชีสำหรับรับค่าจ้างเพื่อชำระหนี้ตามคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลหรือหน่วยงานของรัฐ ข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นสมาชิกหรือการถือหน่วยลงทุนหรือการดำเนินการใด ๆ กับกองทุน สมาคม องค์กร ชมรม มูลนิธิ
(3) ข้อมูลติดต่อ ได้แก่ ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address) หมายเลขโทรศัพท์ และข้อมูลผู้ติดต่อที่ท่านให้ไว้กับธนาคาร ชื่อหรือบัญชีสำหรับการใช้งานผ่านแอปพลิเคชันหรือช่องทางดิจิทัล เช่น ไลน์ กูเกิล เฟซบุ๊ก ยูทูป ทวิตเตอร์ วอทส์-แอป หรือวีแชท
(4) ข้อมูลการปฏิบัติงานและการใช้งาน ได้แก่ ชื่อหรือรหัสสำหรับการใช้บริการ (Username) รหัสผ่านสำหรับการใช้บริการ (Password) ข้อมูลเกี่ยวกับการค้นหา สถิติการเข้าดู ระยะเวลาการใช้งานผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แพลตฟอร์ม แอปพลิเคชัน เวลาที่คลิกครั้งสุดท้าย (Timestamp of last click) รายการโปรด ข้อมูลถามตอบ ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (Log File) ข้อมูลการสื่อสาร ข้อมูลจากการติดต่อผ่านโทรศัพท์ ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ สื่อสังคมออนไลน์ ข้อมูลจากกล้องวงจรปิด (CCTV) ทั้งในรูปแบบ เทปบันทึกเสียงหรือบันทึกการทำรายการ ภาพถ่ายหรือภาพเคลื่อนไหว
(5) ข้อมูลทางเทคนิค ได้แก่ หมายเลขอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (IP Address) ล็อก (Log)รหัสอุปกรณ์ (Device ID) ประเภทและเวอร์ชันของปลั๊กอิน เบราว์เซอร์ ระบบปฏิบัติการและแพลตฟอร์มระบบอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ข้อมูลการตั้งค่าในอุปกรณ์ และข้อมูลทางเทคนิคอื่นๆ จากการใช้งานบนแพลตฟอร์ม แอปพลิเคชันและระบบปฏิบัติการของธนาคาร
(6) ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรม ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจ หรือความชื่นชอบส่วนตัว ลักษณะการใช้บริการ และข้อมูลที่ได้รับจากการใช้บริการ
1.2 ข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลอ่อนไหว ซึ่งธนาคารต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนจึงจะเก็บรวบรวมได้ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อชาติ ศาสนา ประวัติอาชญากรรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใดตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคลประกาศกำหนด
2. วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้ และ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน