กองทุนรวมหุ้นระยะยาว

เป็นกองทุนที่นำทรัพย์สินสุทธิของกองทุนไปลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง และมีศักยภาพสูงในการให้ผลตอบแทน โดยการลงทุนในกองทุนรวม LTF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล

ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ

กองทุนเปิดบัวหลวงทศพลหุ้นระยะยาว

ลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และมีปัจจัยพื้นฐานดี ซึ่งผู้จัดการกองทุนคาดหมายว่าจะให้ผลตอบแทนรวมสูงสุด 10 อันดับแรก

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25

ลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีศักยภาพสูงในการให้ผลตอบแทน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 และไม่เกินร้อยละ 75 ของ NAV

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว

ลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีศักยภาพสูงในการให้ผลตอบแทน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของ NAV

กองทุนเปิดบีแคป เอ็มเอสซีไอไทยแลนด์ หุ้นระยะยาว

ลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียน ตราสารทุน หรือทรัพย์สินอื่นใดที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้ เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี MSCI Thailand ex Foreign Board ให้มากที่สุด

ข้อมูลเพิ่มเติม

สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนรวม LTF
  • สำหรับเงินลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

    ผู้ลงทุนไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุนใหม่ (Capital Gain) จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ เช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป

  • สำหรับเงินลงทุนก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2562

    ผู้ลงทุนสามารถนำยอดเงินลงทุนในกองทุนรวม LTF ไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี สำหรับปีภาษีนั้น
เงื่อนไขการลงทุนกองทุนรวม LTF (สำหรับเงินลงทุนก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2562)
  • เงินลงทุนนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี สำหรับปีภาษีนั้น
  • ระยะเวลาในการถือหน่วยลงทุน
    • สำหรับเงินลงทุนก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559 ผู้ลงทุนต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน (เศษของปีนับเป็นหนึ่งปี)
    • สำหรับเงินลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ผู้ลงทุนต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 7 ปีปฏิทิน (เศษของปีนับเป็นหนึ่งปี)
กรณีผิดเงื่อนไขการลงทุนในกองทุนรวม LTF (สำหรับเงินลงทุนก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2562)
  1. คืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับการลดหย่อนไปแล้วให้แก่กรมสรรพากร เฉพาะส่วนของหน่วยลงทุนที่ขายคืนก่อน 5 ปีปฏิทิน (สำหรับหน่วยลงทุนที่ซื้อก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559) หรือก่อน 7 ปีปฏิทิน (สำหรับหน่วยลงทุนที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562)
  2. ชำระเงินเพิ่มให้กรมสรรพากรในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องนำส่ง แต่ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระ โดยเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการหรือนำส่งภาษีของปีที่ผู้ลงทุนยื่นขอยกเว้นภาษี จนถึงวันชำระหรือนำส่งภาษีเพิ่มเติม ดังนั้น ผู้ลงทุนควรดำเนินการชำระคืนโดยเร็ว
  3. หากมีกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน ผู้ลงทุนต้อง
    • เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50(2) โดยคำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้
    • นำกำไรไปรวมกับเงินได้อื่น ๆ ที่ผู้ลงทุนได้รับในปีภาษีนั้น เพื่อชำระภาษีเงินได้

เงื่อนไขตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 ไม่รวมกรณีขายคืนหน่วยลงทุนเพราะทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร

คำเตือน

  • การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น)
  • ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงาน ก่อนตัดสินใจลงทุน
  • กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้



เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
ในทุกธุรกรรมทางการเงิน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
ในทุกธุรกรรมทางการเงิน

Maximum 3 products can be compared at the same time.

คุณกำลังจะออกจากเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ