3 ข้อดีของประกันชีวิตสำหรับคนกำลังเริ่มต้นสร้างครอบครัว

การศึกษาลูกไม่สะดุด

ช่วยให้คุณวางแผนการศึกษาให้ลูกได้อย่างมั่นคง และมั่นใจว่าลูกของคุณจะไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ แม้ในวันที่ไม่มีคุณแล้ว

หมดกังวลเรื่องภาระสินเชื่อบ้าน

หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ครอบครัวไม่เดือดร้อน สามารถจัดการภาระสินเชื่อบ้านได้

หมดห่วงเรื่องค่าใช้จ่าย

ครอบครัวมีเงินเพียงพอ ใช้จ่ายไม่สะดุด ช่วยให้ครอบครัวเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ

เช็กค่าเบี้ยประกันชีวิตเบื้องต้น

เลือกเบี้ยประกันชีวิตที่เหมาะกับคุณ ใน 2 นาที

เช็กตัวอย่างค่าเบี้ยประกันชีวิตง่ายๆ ด้วยตนเองใน 2 นาที

คำแนะนำสำหรับแต่ละช่วงวัย

ประกันชีวิตที่เหมาะสมกับทุกช่วงชีวิตที่เปลี่ยนไป

คำแนะนำที่จะช่วยให้คุณคาดการณ์อนาคต รวมถึงเข้าใจประโยชน์ของประกันชีวิตในทุกช่วงชีวิตที่เปลี่ยนไป

คำถามที่พบบ่อย

เลือกประกันชีวิตแบบไหนให้ตรงใจ?

แนวทางในการเลือกรูปแบบประกันชีวิตที่เหมาะสมสำหรับคุณ โดยพิจารณาจากความต้องการและเป้าหมายการเงินของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ ดังนั้น มาทำความรู้จักรูปแบบประกันชีวิตและสุขภาพทั้ง 6 รูปแบบ ดังนี้:

1. ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance):

  • ให้ความคุ้มครองในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
  • ไม่มีมูลค่าเงินสะสมหรือผลประโยชน์ในด้านการลงทุน
  • เบี้ยประกันเพื่อความคุ้มครองชีวิตเท่านั้น
  • เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองชีวิตที่สูงด้วยค่าเบี้ยที่เข้าถึงง่าย
2. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance):
  • ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ หรือจนกว่าจะถึงอายุสูงสุดที่ระบุ โดยที่ระยะเวลาคุ้มครองถึงอายุ 90 - 99 ปี แล้วแต่แบบประกัน
  • มีมูลค่าเงินสะสมภายในกรมธรรม์ และสามารถถอนหรือกู้ได้ตามเงื่อนไขของแต่ละแบบประกันชีวิต
  • เบี้ยประกันสูงกว่าแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) แต่มีมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์
  • เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองชีวิตอย่างยาวนาน และมีความต้องการในการสร้างมูลค่าสะสมในระยะยาว
3. ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance):
  • ให้ความคุ้มครองชีวิตในระยะเวลาที่กำหนด และมีการคืนเงินทุนหลังจากสิ้นสุดสัญญา
  • เป็นแบบประกันชีวิตประเภทเพื่อการคุ้มครองชีวิตและเพื่อสะสมทรัพย์
  • เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างนิสัยในการวางแผนทางการเงินระยะยาวพร้อมความคุ้มครองชีวิต
4. ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuities Insurance):      
  • จ่ายเงินบำนาญเป็นเงินประจำหรือเป็นครั้งเดียวภายหลังเกษียณอายุหรือมีอายุครบกำหนด
  • เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรับรายได้สม่ำเสมอภายหลังเกษียณอายุ
5. ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน (Unit Linked Insurance):
  • ให้ความคุ้มครองชีวิตและมีโอกาสรับผลตอบแทนจากกองทุนรวมที่เลือก
  • อัตราผลตอบแทนไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับกองทุนที่เลือก
  • เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองชีวิตและการลงทุนในกรมธรรม์เดียว โดยที่สามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ เน้นถือกรมธรรม์ไว้ในระยะยาวเพื่อรองรับความผันผวนของผลตอบแทนจากกองทุนที่เลือก และควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนโดยติดตามสถานการณ์ลงทุนเพื่อจัดพอร์ตการลงทุนให้มีความเสี่ยงอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับตนเองได้
6. ประกันสุขภาพ (Health Insurance):
  • ผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลในกรณีเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บเป็นการป้องกันความเสี่ยงในการเผชิญกับค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นตามอายุหรือสถานการณ์ทางสุขภาพ

แต่ละแบบของกรมธรรม์ประกันชีวิตมีความคุ้มครองและผลประโยชน์ที่ได้รับที่แตกต่างกัน ควรพิจารณาความต้องการ ความเสี่ยง และความสามารถในการชำระเบี้ยประกันอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะตัดสินใจเลือกแบบประกันชีวิตที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ
วางแผนทุนประกันชีวิตให้เหมาะสมมีความสำคัญอย่างไร?
ทุนประกันชีวิตคืออะไร?
ทุนประกันชีวิต (Sum assured) คือจำนวนเงินที่บริษัทประกันจ่ายให้กับผู้เอาประกันหรือผู้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ครอบครัวมีสิทธิ์ได้รับการชดเชย เช่น การเสียชีวิตของผู้ทำประกัน หรือการชดเชยเนื่องจากอุบัติเหตุหรือโรคที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ จำนวนเงินที่จ่ายจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละแบบประกัน โดยมักจะระบุในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์ของทุนประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันชีวิตเลือกไว้ หรือในรูปแบบทุนที่จะได้รับทั้งหมด เป็นต้น

การวางแผนวงเงินความคุ้มครองและทุนประกันชีวิตมีความสำคัญ ดังนี้

1. การสร้างความมั่นใจ:
การทำประกันชีวิตช่วยให้คุณมั่นใจเรื่องการดูแลครอบครัวหรือคนที่คุณรัก โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับภาระทางการเงินในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น

2. การวางแผนคุ้มครองภาระทางการเงิน:
การวางแผนทุนประกันชีวิตช่วยให้คุณบริหารจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับภาระทางการเงินในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวในการดำเนินชีวิตต่อไปหลังเกษียณอายุ เพื่อการชำระหนี้สินที่เหลืออยู่ หรือเพื่อการสนับสนุนการศึกษาของบุตร

3. การปรับเปลี่ยนและประเมินอย่างสม่ำเสมอ:
การวางแผนการเงินไม่ใช่เรื่องครั้งเดียว ควรปรับเปลี่ยนและมีการประเมินโดยสม่ำเสมอ เพื่อให้เป็นไปตามสถานการณ์และเป้าหมายที่ต้องการให้ความคุ้มครองครอบคลุมการดูแลตัวคุณเองและคนที่คุณรัก

ดังนั้น การวางแผนทางการเงินและการทำประกันชีวิตควรให้ความสำคัญกับความเหมาะสมกับความต้องการและความยั่งยืนของกรมธรรม์ โดยพิจารณาจากความสามารถในการชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต เพื่อให้คุณและครอบครัวมีความคุ้มครองและความมั่นคงในอนาคต
วิธีคำนวณเบี้ยประกันและทุนประกันที่เหมาะสม
การคำนวณค่าเบี้ยประกันชีวิตไม่ควรเกิน 10-15% ของรายได้ต่อปี เพื่อให้มั่นใจว่าค่าใช้จ่ายในการทำประกันชีวิตจะไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัยอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ทุนประกันชีวิตที่คุณเลือกควรจะสอดคล้องกับรายได้และไม่เป็นภาระมากเกินไปในระยะยาว

วิธีการคำนวณทุนประกันที่เหมาะสมสามารถทำได้ด้วยวิธีการประเมินศักยภาพ หรือภาระทางการเงินดังนี้:

การตัดสินใจเลือกประกันที่เหมาะสมควรพิจารณาจากสถานการณ์ทางการเงินและความต้องการของครอบครัวเพื่อให้ได้ความคุ้มครองที่เหมาะสมและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการดำเนินชีวิตต่อไปได้

1. การประเมินทุนประกันตามศักยภาพ:
โดยเบื้องต้นแนะนำให้มีทุนประกันประมาณ 5 เท่าของรายได้ต่อปี เนื่องจากเป็นจำนวณปีที่คาดว่าครอบครัวสามารถปรับตัวได้ คือ
ทุนประกัน = รายได้ต่อปี X 5 (จำนวนปีที่คาดว่าครอบครัวสามารถปรับตัวได้)

โดยพิจารณาจากความเสี่ยงและความต้องการของครอบครัวดังนี้:
1. ความคุ้มครองเพียงพอ: ทุนประกันที่มากกว่ารายได้ต่อปีสามารถช่วยให้ครอบครัวมีความคุ้มครองทางการเงินในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ไม่คาดฝันขึ้น เช่น การเสียชีวิตหรือการประสบอุบัติเหตุที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ต่อไป

2. การปรับตัวและดำเนินชีวิตต่อไป: ทุนประกันที่มากพอสามารถช่วยให้ครอบครัวมีโอกาสในการปรับตัวและดำเนินชีวิตต่อไปได้ในกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น

2. การประเมินภาระทางการเงิน:
คำนวณโดยระบุภาระทางการเงินที่จำเป็นของครอบครัวหรือคนข้างหลัง เพื่อรักษามาตรฐานการใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงเดิม แม้หัวหน้าครอบครัวจะจากไป

หากมีหนี้สินคงค้างหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ภาระค่าผ่อนบ้าน การศึกษาของบุตร ค่าใช้จ่ายในวาระสุดท้าย ควรนำมาคำนวณด้วย

หลังจากนั้นให้ลบสินทรัพย์ที่มีอยู่ออกจากภาระทางการเงิน เพื่อหาวงเงินทุนประกันที่เหมาะสม

ตัวอย่างเช่น หากภาระทางการเงินรวม 10,000,000 บาท และมีสินทรัพย์ส่วนตัวรวม 2,000,000 บาท ทุนประกันที่เหมาะสมจะเท่ากับ 10,000,000 - 2,000,000 = 8,000,000 บาท

การวิเคราะห์และคำนวณนี้ควรพิจารณาด้วยความสามารถในการชำระเบี้ยประกันได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการทำประกันชีวิตได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน
สิทธิ์ลดหย่อนภาษีของประกันชีวิตแบบต่างๆ แตกต่างกันอย่างไร?

สิทธิ์ลดหย่อนภาษีของประกันชีวิตแบบต่างๆ:

1. เบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปได้แก่ ตลอดชีพ แบบชั่วระยะเวลา แบบสะสมทรัพย์ และประกันชีวิตควบการลงทุน
สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร โดยมีเงื่อนไขดังนี้
# ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ แบบชั่วระยะเวลา และแบบสะสมทรัพย์:

  • สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
  • หากมีประกันชีวิตของคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายภายในปีภาษีนั้น / ยังมีสถานะสมรสอยู่ที่ไม่มีรายได้ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 10,000 บาท

# ประกันชีวิตควบการลงทุน:

  • ค่าเบี้ยประกันที่ใช้คุ้มครองชีวิต และค่าใช้จ่ายหลักอื่นๆ ของกรมธรรม์ เมื่อรวมกับประกันชีวิตแบบทั่วไป สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
  • ส่วนที่นำไปลงทุนไม่สามารถนำมารวมเพื่อลดหย่อนภาษีได้

# เงื่อนไขในการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีของประกันชีวิตแบบตลอดชีพ แบบชั่วระยะเวลา แบบสะสมทรัพย์ และแบบควบการลงทุน คือ:

  • ต้องเป็นประกันชีวิตที่รับประกันโดยบริษัทประกันในประเทศไทย
  • ประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป
  • กรณีที่มีการจ่ายเงินคืนทุกปีระหว่างทาง จำนวนเงินที่ได้รับคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยรายปี
  • กรณีที่มีการจ่ายเงินคืนตามช่วงเวลา จำนวนเงินที่ได้รับคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสมของแต่ละช่วงเวลา
  • หากมีการเลิกสัญญาหรือเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะไม่สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้ และต้องจ่ายคืนภาษีย้อนหลังที่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนไป พร้อมดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน ของยอดภาษีที่ต้องจ่าย


2. ประกันชีวิตแบบบำนาญ: สิทธิ์ลดหย่อนภาษีของประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุด 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท แต่ในกรณีที่ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีของประกันชีวิตทั่วไปยังไม่เต็มสิทธิ์ สามารถแบ่งเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปรวมกับเบี้ยประกันชีวิตอื่นๆ ให้ครบสิทธิ์ 100,000 บาท ได้ ดังนั้น ประกันชีวิตแบบบำนาญจึงสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท หากไม่ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนสำหรับประกันชีวิตแบบอื่นๆ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร โดยมีเงื่อนไขดังนี้
#เงื่อนไขลดหย่อนภาษีของประกันชีวิตแบบบำนาญ คือ:

  1. เป็นประกันชีวิตแบบบำนาญที่รับประกันโดยบริษัทประกันในประเทศไทย
  2. มีระยะเวลาคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป
  3. มีการจ่ายผลประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ และต้องจ่ายเบี้ยประกันครบถ้วนแล้วก่อนได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญ
  4. กำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันมีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปี หรืออายุที่สูงกว่านั้น ตามความคุ้มครองของแบบประกัน

3. ประกันสุขภาพ: สิทธิ์ลดหย่อนภาษีของประกันสุขภาพแบ่งเป็น 2 แบบ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร โดยมีเงื่อนไขดังนี้:
#ประกันสุขภาพตนเอง:
  • ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 25,000 บาท
  • เมื่อรวมค่าลดหย่อนกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

#ประกันสุขภาพสำหรับบิดามารดา:

  • ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท
  • ถ้าแบ่งจ่ายเบี้ยประกันร่วมกับพี่น้อง สามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้ โดยต้องหารเฉลี่ยค่าเบี้ยประกันเท่ากัน

#ประกันสุขภาพคู่สมรสเฉพาะกรณีคู่สมรสไม่มีรายได้:

  • ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 10,000 บาท

#เงื่อนไขลดหย่อนภาษีของประกันสุขภาพคือ:

  • เป็นประกันสุขภาพโดยบริษัทประกันในประเทศไทย
  • สำหรับประกันสุขภาพบิดา-มารดา ตนเอง/คู่สมรส ต้องเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของบิดา-มารดา
  • รายได้ต่อปีของบิดา-มารดาไม่เกิน 30,000 บาท
  • ตนเองหรือบิดา-มารดาคนใดคนหนึ่งอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีปฏิทิน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
ในทุกธุรกรรมทางการเงิน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณในทุกธุรกรรมทางการเงิน

คุณกำลังจะออกจากเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ