- กลยุทธ์
- การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
- ประเด็นสำคัญ
- เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
- การมีส่วนร่วมขับเคลื่อนด้านความยั่่งยืน
- นโยบายที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
ในปัจจุบัน สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความไม่แน่นอนและสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วจนเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของธุรกิจ ธุรกิจที่สามารถปรับตัวและรับมือได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงทีจะมีความได้เปรียบทางการแข่งขันเหนือคู่แข่ง นอกจากนี้ ธุรกิจที่ดำเนินงานโดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) จะมีมุมมองที่กว้างขวาง มองเห็นโอกาสและความเสี่ยงได้อย่างครอบคลุม ทำให้สามารถวางกลยุทธ์และมาตรการต่าง ๆ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจและลดความเสี่ยงด้าน ESG ได้อย่างเหมาะสม
ธนาคารตระหนักดีถึงความคาดหวังที่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มมีต่อการดำเนินงานด้านความยั่งยืนหรือด้าน ESG ของธนาคาร รวมถึงตระหนักถึงทิศทางนโยบายของหน่วยงานกำกับดูแลที่ต้องการผลักดันให้ธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2593 และคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2608 ธนาคารจึงกำหนดนโยบายด้านความยั่งยืนและวางกรอบการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ รวมถึงกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับบริบททางธุรกิจของธนาคารและความสนใจของผู้มีส่วนได้เสีย ธนาคารได้นำประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่ได้จากการประเมินแบบ 2 มิติ (Double Materiality) ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วม มาเป็นจุดตั้งต้นในการวางกลยุทธ์ พร้อมทั้งได้ระบุความมุ่งมั่น ตัวชี้วัด และเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวของแต่ละประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจดำเนินงานด้านความยุ่งยืนของธนาคาร ซึ่งนโยบายและกลยุทธ์ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารระดับสูงและได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคาร
นโยบายด้านความยั่งยืน
ธนาคารได้กำหนดนโยบายด้านความยั่งยืนอันประกอบด้วยการดำเนินงาน 4 แนวทาง ดังนี้
- การบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างรอบคอบและรอบด้าน ครอบคลุมประเด็นที่มีนัยสำคัญทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พร้อมติดตามสถานการณ์และประเมินโอกาสทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
- การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม การดูแลความปลอดภัยและอาชีวอนามัยรวมถึงความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน และการพัฒนาทักษะความรู้ของพนักงาน
- การกำกับดูแลกิจการที่ดี
- การสร้างสรรค์คุณค่าที่ยั่งยืนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมความรู้ทางการเงินและการเข้าถึงบริการทางการเงิน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคม และการส่งเสริมคู่ค้าให้ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ธนาคารยังให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน การสื่อสารและการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย และการเสริมสร้างศักยภาพของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ เพื่อให้เกิดการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล
การระบุและประเมินความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย
การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความเข้าใจและการกระชับความสัมพันธ์เพื่อนำไปสู่เป้าหมายร่วมระหว่างธนาคารกับผู้มีส่วนได้เสีย การมีส่วนร่วมทำให้ธนาคารทราบความคาดหวังและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตลอดจน ผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบจากการดำเนินธุรกิจของธนาคาร ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงด้านสิทธิ มนุษยชน เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานให้ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียได้ดียิ่งขึ้น ธนาคารให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียมาโดยตลอด โดยยึดหลักการตามมาตรฐานสากล AA1000 AccountAbility Principles (2018) ได้แก่ 1. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม 2. การพิจารณาประเด็นที่สำคัญต่อธนาคารและผู้มีส่วนได้เสีย 3. การตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย และ 4. ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย อีกทั้งมีการรายงานผลการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียต่อคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการเป็นประจำทุกปี
ขั้นตอนการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย
- การระบุผู้มีส่วนได้เสีย: การระบุผู้มีส่วนได้เสียโดยอาศัยเกณฑ์ความรับผิดชอบ อำนาจโน้มน้าว ความสัมพันธ์ การพึ่งพา และผลกระทบ จากการดำเนินธุรกิจของธนาคารที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสีย
- การประเมินระดับผลกระทบจากกิจกรรมของธนาคารที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสีย: การประเมินผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของธนาคารครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิงแวดล้อม รวมถึงด้านสิทธิมนุษยชน
- การประเมินระดับอำนาจโน้มน้าวของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อธนาคาร: การประเมินครอบคลุมอำนาจโน้มน้าวของผู้มีส่วนได้เสียในด้านการเงิน การดำเนินงาน กฎระเบียบข้อบังคับ ความเสี่ยง กลยุทธ์และทิศทางธุรกิจ
- การจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย: ผู้มีส่วนได้เสียของธนาคารแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามระดับผลกระทบของที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับจากการดำเนินงานของธนาคาร และระดับอำนาจโน้มน้าวที่ผู้มีส่วนได้เสียมีต่อธนาคาร ได้แก่ 1. ผลกระทบมาก อำนาจโน้มน้าวมาก 2. ผลกระทบมาก อำนาจโน้มน้าวน้อย 3. ผลกระทบน้อย อำนาจโน้มน้าวมาก และ 4. ผลกระทบน้อย อำนาจโน้มน้าวน้อย
การสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย
ธนาคารเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มสามารถแสดงความคิดเห็น ผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่ธนาคารกำหนด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ธนาคารทราบความคาดหวังและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของธนาคาร ธนาคารได้นำความคิดเห็นที่ได้รับมาพิจารณากำหนดแนวทางการตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มอย่างเหมาะสม รวมถึงแสวงหาความร่วมมือเพื่อประโยชน์ร่วมกันของทุกกลุ่ม ผู้มีส่วนได้เสียของธนาคารแบ่งเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน 2. ลูกค้า (ลูกค้าธุรกิจและลูกค้าบุคคล) 3. พนักงาน 4. คู่ค้า (ผู้ขายสินค้า ผู้ให้บริการภายนอก และผู้รับเหมาจัดจ้าง) 5. เจ้าหนี้ 6. สถาบันการเงินอื่น และ 7. ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม (รวมถึงหน่วยงานกำกับดูแล ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน)
ธนาคารจัดให้มีการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนแบบ 2 มิติ (Double Materiality) โดยพิจารณาจากทั้งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน อันเกิดจากกิจกรรมทางธุรกิจของธนาคารที่เกี่ยวข้องกับแต่ละประเด็นสำคัญ โดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย และผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารไม่ว่าจะเป็นด้านการเงินหรือชื่อเสียงอันเป็นผลมาจากประเด็นสำคัญต่าง ๆ โดยผลการประเมินทั้ง 2 มิติ ถูกนำไปใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกและจัดลำดับความสำคัญของประเด็นด้านความยั่งยืนของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารมีการทบทวนประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนปีละครั้งเพื่อให้มั่นใจว่ามีความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
กระบวนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของธนาคาร
- การศึกษาทำความเข้าใจบริบทด้านความยั่งยืนขององค์กร
- การระบุและประเมินผลกระทบ
- การจัดลำดับความสำคัญประเด็นด้านความยั่งยืน
- การตรวจทานและทบทวนประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
การจัดลำดับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ปี 2566-2568
Impact Valuation (ดาวน์โหลด PDF - ข้อมูลนี้จัดทำไว้เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น)
ธนาคารสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals: UNSDG) ผ่านการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของธนาคาร โดยธนาคารได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืนไว้ 5 แนวทาง แบ่งออกเป็นประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน 12 ประเด็น ซึ่งแต่ละประเด็นได้ถูกหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางธุรกิจของธนาคาร เพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และร่วมสร้างคุณค่าต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้ธนาคารสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นปัจจัยสำคัญในการนำาพาประเทศ ไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่ งยืน ธนาคารได้สนับสนุนและ ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนงานด้านความยั่ งยืน มาโดยตลอด ในปี 2567 ธนาคารเป็นผู้สนับสนุนหลักของการ ประชุม The Economist Impact Asia Sustainability Week จัดโดยนิตยสาร The Economist เพื่อนำาเสนอการเปลี่ยนผ่านไป สู่ความยั่ งยืน บทบาทของภาคเอกชนในการสนับสนุนเป้าหมาย Net Zero และการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยผู้บริหารของธนาคารได้เข้าร่วมการเสวนาในหัวข้อ “ASEAN’s Sustainability Transition: Identifying Opportunities, Managing Challenges” นอกจากนี้ ธนาคารยังได้เข้าร่วมออก บูธบอกเล่าเรื่องราวการให้บริการทางการเงินของธนาคารในโอกาส ฉลองครบ 80 ปี ธนาคารกรุงเทพ รวมถึงนำาเสนอการดำาเนินงาน ต่าง ๆ ด้านความยั่ งยืนในงาน TMA 60 Years of Excellence และงาน Sustainability Expo 2024
การเป็นสมาชิกขององค์กรต่าง ๆ
ธนาคารเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรและเครือข่ายสมาคมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงิน สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคธุรกิจ แลกเปลี่ยนความรู้หรือหลักปฏิบัติที่ดี ตลอดจนสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ ล่าสุด ในปี 2567 ธนาคารได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ Partnership for Carbon Accounting Financials (PCAF) ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือระดับสากลที่จัดทำามาตรฐานการวัดและเปิดเผยข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการให้สินเชื่อและการลงทุนของธนาคาร และได้สนับสนุนกิจกรรมของเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย ซึ่งธนาคารเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งโดยการส่งผู้บริหารของธนาคารไปให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกและปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแก่คู่ค้าของเครือข่ายดังกล่าว
- นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
- นโยบายความหลากหลายของคณะกรรมการธนาคาร
- จรรยาบรรณและจริยธรรมธุรกิจ
- จรรยาบรรณคู่ค้า
- นโยบายภาษี
- นโยบายการต่อต้านคอร์รัปชัน
- นโยบายการป้องกันการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
- นโยบายการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
- นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม
- นโยบายสิทธิมนุษยชน
- นโยบายด้านความยั่งยืน
- นโยบายการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ
- นโยบายสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงาน
- นโยบายการไม่เลือกปฏิบัติและการต่อต้านการคุกคาม
- นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน