
Online Banking
ลูกค้าบุคคล
- บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
- บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
- บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
- โมบายแบงก์กิ้ง
- โมบายแบงก์กิ้ง
- โมบายแบงก์กิ้ง
- บัวหลวง ไอฟันด์
ความมุ่งมั่น
ความสำคัญ
การจัดการความเสี่ยงด้านคอร์รัปชัน
ธนาคารมีการจัดการความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิผลและเหมาะสมกับบริบททางธุรกิจของธนาคาร โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การระบุประเด็นความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันที่ธนาคารอาจเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องผ่านการดำเนินงานหรือกิจกรรมทางธุรกิจของธนาคาร
2. การประเมินความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันและความรุนแรงของผลกระทบ
3. การกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันที่เฉพาะเจาะจงกับประเด็นความเสี่ยง รวมทั้งเหมาะสมกับสถานการณ์และบริบททางธุรกิจของหน่วยงาน โดยผู้บริหารหน่วยงานหรือหัวหน้างานที่เกี่ยวข้องกับแต่ละประเด็นความเสี่ยงจะเป็นผู้ดูแลการประเมินความเสี่ยงและการกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงเป็นประจำทุกปี ผลการประเมินและข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะถูกจัดเก็บรวบรวมไว้ในฐานข้อมูลความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และอ้างอิงต่อไป
4. การควบคุม ดูแล และตรวจสอบภายใต้หลักการป้องกัน 3 ชั้น โดยในชั้นแรก หน่วยงานธุรกิจมีหน้าที่จัดการความเสี่ยงในหน่วยงานของตน ในชั้นที่สอง หน่วยงานบริหารความเสี่ยงและหน่วยงานกำกับดูแลมีหน้าที่ดูแลและติดตามการจัดการความเสี่ยงด้านการคอร์รัปชัน และในชั้นสุดท้าย หน่วยงานตรวจสอบและควบคุมมีหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานอย่างเป็นอิสระและรายงานต่อผู้รับผิดชอบตามสายการบังคับบัญชา
ในปี 2566 ธนาคารไม่มีกรณีกล่าวโทษหรือข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและการติดสินบนจากธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และธนาคารไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการล็อบบี้หรือการสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง พรรคการเมือง นักการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือผู้มีบทบาททางการเมือง ทั้งทางตรงและทางอ้อม
การป้องกันการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
ธนาคารกำหนดนโยบายการป้องกันการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย1 ซึ่งรวมถึงการป้องกันการสนับสนุนทางการเงินแก่การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานของธนาคาร รวมทั้งเพื่อป้องกันไม่ให้ธนาคารถูกใช้เป็นช่องทางหรือเป็นเครื่องมือเพื่อกระทำการดังกล่าว ธนาคารกำหนดให้การปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการทำความรู้จักลูกค้า (Know Your Customer: KYC) และการกำหนดความเข้มข้นในการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (Customer Due Diligence: CDD) ให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงของลูกค้า โดยในกรณีลูกค้าที่มีระดับความเสี่ยงสูง รวมถึงผู้ที่เป็นบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (Politically Exposed Person: PEP) ธนาคารได้กำหนดให้มีการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าอย่างเข้มข้น (Enhanced Due Diligence: EDD) พร้อมทั้งติดตามความเคลื่อนไหวทางบัญชีในระดับที่มากกว่าปกติ ธนาคารได้พัฒนาระบบงานภายในให้สามารถตรวจสอบรายชื่อลูกค้ากับรายชื่อในฐานข้อมูลบุคคลที่ถูกกำหนด (Designated Person) บุคคลต้องห้าม (Sanction Person) และบุคคลกลุ่มเสี่ยงสูง (High Risk Person) ตามที่ทางการกำหนด เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ของธนาคารในการตรวจสอบและจัดระดับความเสี่ยงของลูกค้า และยังได้พัฒนาระบบตรวจทานบัญชีและติดตามความเคลื่อนไหวทางการเงินหรือการทำธุรกรรมที่มีความน่าสงสัย เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการถูกใช้เป็นเครื่องมือในการฟอกเงินหรือสนับสนุนการก่อการร้าย นอกจากนี้ ธนาคารยังมีการจัดการความเสี่ยงตามแนวทางการป้องกัน 3 ชั้น มีการสื่อสารและอบรมแก่พนักงานทุกคนอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการเก็บรักษาเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเป็นระยะเวลา 10 ปี ทั้งหมดนี้เพื่อให้ความมั่นใจว่าการดำเนินงานด้านการป้องกันการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของธนาคารจะมีประสิทธิผลและเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของทางการ
หัวข้อ |
กรณีการละเมิดในปี 2566 |
การคอร์รัปชันและการติดสินบน |
0 |
การเลือกปฏิบัติ หรือ การคุกคาม |
2 |
การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า |
0 |
การขัดแย้งทางผลประโยชน์ |
0 |
การฟอกเงิน หรือ การใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาผลประโยชน์ |
0 |