B-SELECT

กองทุนน่าสนใจ ไตรมาส 3 ของปี 2024

B-DYNAMIC-BOND

ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ และ/หรือกองทุน ETF ต่างประเทศ ตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป (กองทุนปลายทาง) โดยกองทุนปลายทางมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก

B-GLOBAL

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Wellington Global Opportunities Equity Fund (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน Class S (Accum-USD) เพียงกองทุนเดียว

B-USALPHA

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ JPMorgan Funds - US Growth Fund (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน JPM US Growth I (acc) - USD เพียงกองทุนเดียว

B-BHARATA

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ RAMS Investment Unit Trust – India Equities Portfolio Fund II (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน Class I (USD) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

B-SELECT กองทุนรวมเพื่อการลดหย่อนภาษี

กองทุนน่าสนใจ ไตรมาส 3 ของปี 2024

B-DYNAMICRMF

ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ และ/หรือกองทุน ETF ต่างประเทศ ตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป (กองทุนปลายทาง) โดยกองทุนปลายทางมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก

B-DYNAMICSSF

ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดบัวหลวง ไดนามิก บอนด์ (B-DYNAMIC BOND) (กองทุนหลัก) ซึ่งเน้นลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก

B-GLOBALRMF

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Wellington Global Quality Growth Fund (กองทุนหลัก) ซึ่งมีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญ รวมถึงตราสารทุนของบริษัทต่างๆ ทั่วโลก

B-INDIAMRMF

โอกาสลงทุนที่มาพร้อมกับการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหม่

B-USALPHASSF

เน้นลงทุนแบบ Growth Style ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ

B-USALPHARMF

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ JPMorgan Funds - US Growth Fund (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน JPM US Growth I (acc) – USD เพียงกองทุนเดียว

ข้อมูลเพิ่มเติม กองทุนรวม RMF

สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนรวม RMF
  • เงินลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

    สามารถนำยอดเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี สำหรับปีภาษีนั้น เมื่อรวมกับเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund: SSF) เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

  • เงินลงทุนก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2562

    สามารถนำยอดเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี สำหรับปีภาษีนั้น เมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
เงื่อนไขการลงทุนของกองทุนรวม RMF
  • ต้องซื้อหน่วยลงทุนสม่ำเสมอทุกปีจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ โดยไม่กำหนดจำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำ ยกเว้น การลงทุนก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563 ต้องลงทุนขั้นต่ำร้อยละ 3 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี หรือ 5,000 บาท แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ สามารถระงับการซื้อได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกัน หรือในปีภาษีที่ไม่มีเงินได้
  • ต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุน RMF ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก (นับแบบวันชนวัน) และขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่อผู้ลงทุนมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ยกเว้น หน่วยลงทุนที่ซื้อก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2551 สามารถขายคืนได้เมื่อลงทุนต่อเนื่องครบ 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก (นับแบบวันชนวัน)
กรณีผิดเงื่อนไขการลงทุนในกองทุนรวม RMF
กรณีลงทุนเกินสิทธิประโยชน์ทางภาษี
  • เงินลงทุนส่วนที่เกินสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
  • กำไรที่ได้จากการขายคืนเงินลงทุนส่วนที่เกินสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะต้องนำไปรวมกับเงินได้อื่นๆ ที่ผู้ลงทุนได้รับในปีภาษีนั้น เพื่อชำระภาษีเงินได้
กรณีใช้สิทธิยกเว้นภาษีแล้วไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
  1. กรณีถือหน่วยลงทุนยังไม่ครบ 5 ปี นับจากวันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก (นับแบบวันชนวัน) และมีการผิดเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนต้องปฏิบัติดังนี้
    • คืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับการลดหย่อนไปแล้วให้แก่กรมสรรพากร
    • หากมีกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน ผู้ลงทุนต้อง
      -  เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 โดยคำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้
      -  นำกำไรไปรวมกับเงินได้อื่นๆ ที่ผู้ลงทุนได้รับในปีภาษีนั้น เพื่อชำระภาษีเงินได้ 

     

  2. กรณีถือหน่วยลงทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป นับจากวันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก (นับแบบวันชนวัน) และต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน โดยมีการลงทุนขั้นต่ำเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด หากมีการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนผู้ลงทุนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ (ยกเว้น หน่วยลงทุนที่ซื้อก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2551) ผู้ลงทุนต้องปฏิบัติดังนี้
    • คืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับการลดหย่อนไปแล้วย้อนหลังไม่เกิน 5 ปีปฏิทินให้แก่กรมสรรพากร (นับย้อนหลังตั้งแต่ปีก่อนปีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขการลงทุน)


ผู้ลงทุนจะต้องชำระภาษีคืนให้กับกรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไขการลงทุน และหากชำระล่าช้า ผู้ลงทุนจะต้องชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของยอดภาษีที่ต้องชำระคืนด้วย

เงื่อนไขตามข้อ 1 และข้อ 2 ไม่รวมกรณีขายคืนหน่วยลงทุนเพราะทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร


ทั้งนี้ ผู้ลงทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
คู่มือการลงทุนในกองทุนรวม RMF

ข้อมูลเพิ่มเติม กองทุนรวม SSF

สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนรวม SSF
  • เงินลงทุนระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 - 30 มิถุนายน 2563

    สามารถนำยอดเงินลงทุนไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท (วงเงินเพิ่มเติมพิเศษ) โดยแยกต่างหากจากเพดานวงเงินหักลดหย่อนรวมของเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กรณีปกติ เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

  • เงินลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2567

    สามารถนำยอดเงินลงทุนไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี สำหรับปีภาษีนั้น และไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี เมื่อรวมกับเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
เงื่อนไขการลงทุนของกองทุนรวม SSF
  • ผู้ลงทุนต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม SSF ต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน (นับแบบวันชนวัน) ยกเว้นกรณี ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต
  • การขายคืนหน่วยลงทุนใช้หลักการเข้าก่อนออกก่อน (First In, First Out : FIFO)
  • เงินลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุนรวม SSF สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เฉพาะในปีที่มีการลงทุนในหน่วยลงทุน SSF
กรณีผิดเงื่อนไขการลงทุนในกองทุนรวม SSF

กรณีลงทุนเกินสิทธิประโยชน์ทางภาษี

  • เงินลงทุนส่วนที่เกินสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
  • กำไรที่ได้จากการขายคืนเงินลงทุนส่วนที่เกินสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะต้องนำไปรวมกับเงินได้อื่นๆ ที่ผู้ลงทุนได้รับในปีภาษีนั้น เพื่อชำระภาษีเงินได้

กรณีใช้สิทธิยกเว้นภาษีแล้วไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข

กรณีใช้สิทธิยกเว้นภาษีแล้วไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ผู้ลงทุนต้องปฏิบัติดังนี้

  1. เสียภาษีเงินได้สำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้ว
  2. ชำระเงินเพิ่มให้กรมสรรพากรในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องนำส่ง แต่ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระ โดยเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการหรือนำส่งภาษีของปีที่ผู้ลงทุนยื่นขอยกเว้นภาษี จนถึงวันชำระหรือนำส่งภาษีเพิ่มเติม ดังนั้น ผู้ลงทุนควรดำเนินการชำระคืนโดยเร็ว
  3. หากมีกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน ผู้ลงทุนต้อง
  • เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 โดยคำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้
  • นำกำไรไปรวมกับเงินได้อื่นๆ ที่ผู้ลงทุนได้รับในปีภาษีนั้น เพื่อชำระภาษีเงินได้

เงื่อนไขตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 ไม่รวมกรณีขายคืนหน่วยลงทุนเพราะทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร

ทั้งนี้ ผู้ลงทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
คู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF

โปรโมชันพิเศษปี 2567

เปิดง่าย ซื้อได้เลย
ปี 2567

รับฟรี Starbucks e-Coupon มูลค่า 100 บาท/ท่าน เมื่อเปิดบัญชีและซื้อกองทุน ผ่านโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ ระหว่างวันที่ 2 ม.ค. 67 – 30 ธ.ค. 67

โปรโมชันดีๆ เมื่อลงทุน RMF/SSF/Thai ESG ปี 2567

รับฟรี Starbucks e-Coupon มูลค่า 400 บาท/ท่าน เมื่อลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ/หรือ  กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และ/หรือ กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) ระหว่างวันที่ 2 ม.ค. 67 – 30 ธ.ค. 67

คำเตือน 

  • การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น)
  • ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง ผลการดำเนินงาน สิทธิประโยชน์ทางภาษี และผลกระทบกรณีผิดเงื่อนไขการลงทุนที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม RMF/SSF หรือสอบถามข้อมูลและขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้แนะนำการลงทุน ก่อนการตัดสินใจลงทุน
  • กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้ อยู่ในดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
     

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
ในทุกธุรกรรมทางการเงิน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณในทุกธุรกรรมทางการเงิน

คุณกำลังจะออกจากเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ