
Online Banking
ลูกค้าบุคคล
- บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
- บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
- บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
- โมบายแบงก์กิ้ง
- โมบายแบงก์กิ้ง
- โมบายแบงก์กิ้ง
- บัวหลวง ไอฟันด์
มิจฉาชีพระบาดหนัก ส่งผลให้ผู้ทำธุรกรรมออนไลน์ต้องระมัดระวังเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วม Google และ TB-CERT ภายใต้สมาคมธนาคารไทย เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จัดแคมเปญ #31Days31Tips เพิ่มทักษะดิจิทัลให้คนไทยรู้เท่าทันภัยทางออนไลน์ เลี่ยงการถูกหลอกลวงกดลิงก์ขอข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์
2 Steps ต้องทำทันที เมื่อตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ!
1. โทรหาธนาคารต้นทาง เพื่อระงับการทำธุรกรรม 72 ชั่วโมง
2.แจ้งความเพื่อยืดเวลา ระงับต่อเป็น 7 วัน
หากเผลอคลิกลิงก์ หรือไม่แน่ใจว่าโดนมิจฉาชีพหลอก ควรรีบทำอะไรต่อ แนะนำให้รีบเปลี่ยนรหัสผ่านแอปต่างๆ ทันที
รู้หรือไม่! บัญชีม้า หรือซิมม้า คือบัญชีธนาคารและเบอร์มือถือที่มิจฉาชีพใช้รับ-โอนเงินที่ได้มาจากการหลอกลวงเหยื่อออยไลน์ ทุกคนควรอยู่ให้ห่าง เพราะ "โทษหนักมาก"
เตือนระวัง แอปไหนไม่ได้ใช้หรือไม่รู้จัก ไม่ควรสแกนหน้าโดยเด็ดขาด เพื่อเป็นการป้องกันมิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว
เอ๊ะซักนิด ก่อนสแกน QR Code ถ้าจะสแกนเพื่อจ่ายเงิน ให้สแกนผ่านแอปธนาคารโดยตรง เมื่อถ้าจำเป็นต้องสแกนเพื่อดูข้อมูล เมื่อสแกนแล้วต้องตรวจสอบ URL ให้ดีก่อนคลิก
หมั่นอัปเดตแอป Mobile Banking อยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยป้องกันแฮกเกอร์ได้อีกด้วย
ไม่ใช้ Wi-fi หรือที่ชาร์จสาธารณะขณะทำธุรกรรม เพื่อปิดโอกาสไม่ให้ภัยไซเบอร์เกิดขึ้นกับตัวเรา
รู้หรือไม่? ธนาคารไม่ขอข้อมูลส่วนตัวผ่านโซเชียลมีเดีย หากเจอบุคคลที่อ้างชื่อเป็นธนาคารส่งลิงก์ให้ทาง SMS และ อีเมล บอกเลยว่ามิจฉาชีพแน่นอน อย่าคลิก! ให้ลบเลยทันที
รู้หรือไม่? ธนาคารไม่ขอข้อมูลส่วนตัวผ่านโซเชียลมีเดีย โดยหากมี ธนาคาร ติดต่อทักมาขอข้อมูลส่วนตัวพร้อมแนบลิงก์ ให้รีบบล็อกทันที
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย