มาตรการแก้หนี้ยั่งยืน

เพื่อช่วยเหลือให้ลูกหนี้มีทางออกปิดจบหนี้ได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน

 

ลูกค้าที่สนใจเข้าร่วมมาตรการแก้หนี้ยั่งยืน ติดต่อได้ที่เจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์ สำนักธุรกิจ หรือ สาขาธนาคารทั่วประเทศ ศึกษารายละเอียดหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริการบัวหลวงโฟน โทร. 1333 หรือ 0 2645 5555 หรือลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้

ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ

 

 

ถ้าเริ่มไม่ไหวกับการจ่ายหนี้ การเจรจากับธนาคารขอ “ปรับโครงสร้างหนี้” ให้จ่ายได้เท่าที่ไหว นับเป็นทางออกที่ดี สะท้อนถึงความตั้งใจที่จะแก้ปัญหาหนี้ดีกว่าปล่อยให้เป็นหนี้เสีย

 

ยิ่งรู้ตัวเร็วและรีบเจรจากับธนาคารยิ่งมีประโยชน์มากกว่า ดังนี้

 

  • ยังไม่เป็นหนี้เสีย แต่ขอปรับโครงสร้างหนี้ ประวัติเครดิตบูโรจะยังแสดง รหัส 10 - ปกติ (พร้อมระบุประเภทสัญญาและวันที่ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้)
  • เป็นหนี้เสีย ประวัติเครดิตบูโรจะแสดงรหัส 20 - หนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน จากนั้นไปขอปรับโครงสร้างหนี้ และเริ่มจ่ายตามสัญญาใหม่ รหัสจึงจะถูกปรับเป็น 10 - ปกติ (พร้อมระบุประเภทสัญญาและวันที่ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้)
  • เป็นหนี้เสีย รหัสเครดิตบูโรจะเป็น 20 - หนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน และปล่อยไหล ไม่ปรับโครงสร้างหนี้ ธนาคารจะฟ้องร้อง และรหัสเปลี่ยนเป็น 30 - อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย

ดังนั้น ถ้ามีปัญหาการจ่าย ขอปรับโครงสร้างหนี้ อย่าปล่อยให้เป็นหนี้เสีย

 

ถ้าเริ่มไม่ไหวกับการจ่ายหนี้ ขอ “ปรับโครงสร้างหนี้” เพื่อไม่ให้เป็นหนี้เสีย

 

แก้หนี้ครบ จบหนี้ได้

แก้หนี้ยั่งยืน เจ้าหนี้รับผิดชอบ ลูกหนี้มีวินัย

ธนาคารให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ ด้วยการโฆษณาที่ครบถ้วน ถูกต้อง เปรียบเทียบได้

ธนาคารให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ
ด้วยการโฆษณาที่ครบถ้วน ถูกต้อง เปรียบเทียบได้ ช่วยส่งเสริมวินัยให้ลูกหนี้

  • โฆษณา ต้องแสดงข้อมูลสำคัญถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน เปรียบเทียบได้
  • โฆษณา ต้องแจ้งคำเตือนที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ ไม่กระตุ้นการก่อหนี้เกินกำลัง
  • โฆษณา ต้อง ‘เตือน’ และ ‘กระตุ้น’ ให้ชำระหนี้ด้วยความมีวินัย

ติดต่อได้ที่ เจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์ สำนักธุรกิจ หรือ สาขาธนาคารทั่วประเทศ
ศึกษารายละเอียดหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริการบัวหลวงโฟน โทร. 1333 หรือ 0 2645 5555 กด 99
#แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย

Responsible Lending

ตอบข้อสงสัย มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง

ตอบข้อสงสัย (Q&A) มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง


  • ทำไมลูกหนี้บัตรเครดิตไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง (PD) ได้
  • ทำไมลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) ต้องปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี หากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
  • หากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะมีการรายงานประวัติข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่

ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ไม่รวมบัตรเครดิต


ทำไมต้องมีเงื่อนไขปิดวงเงิน หากเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง


การเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง จะรายการข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่


3 เรื่องต้องรู้ ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง

3 เรื่องต้องรู้ ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง



เรื่องต้องรู้ ก่อนเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
- ได้รับสิทธิ 1 ครั้ง ต่อ 1 บัญชีสินเชื่อ
- มีประวัติ/รายงานข้อมูลการเข้ามาตรการในเครดิตบูโร (NCB)
- ระงับวงเงินสินเชื่อเดิม (แต่เมื่อเข้าร่วมมาตรการแล้ว อาจได้รับวงเงินเฉพาะกรณีฉุกเฉิน)


มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง
- ระยะเวลาปิดจบภายใน 5 ปี
- อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15 % ต่อปี
- เงื่อนไขผ่อนไหวเหมาะสมกับรายได้
- ต้องระงับวงเงินสินเชื่อของบัญชีที่เข้าร่วมมาตรการ เพื่อให้สามารถปิดจบได้จริง

เริ่มเรื้อรัง (general PD) รีบติดต่อเจ้าหนี้
หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้มีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี

#แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย
ลูกหนี้จะได้อะไรจากมาตรการแก้หนี้ยั่งยืน

หนี้เรื้อรังคืออะไร แค่ไหนเรียกว่าเรื้อรัง

หนี้เรื้อรัง

แจ้งเตือนให้รู้เมื่อเข้าข่ายลูกหนี้เรื้อรัง

แบบไหนเข้าข่ายปัญหา "หนี้เรื้อรัง"

ลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่เป็นวงเงินหมุนเวียน ไม่ได้ชำระเป็นงวด
- ยังไม่เป็นหนี้เสีย
- จ่ายดอกเบี้ยเกินเงินต้น เป็นระยะเวลานาน

หนี้เรื้อรัง 2 แบบ
- เริ่มเรื้อรัง (general PD) จ่ายดอกเบี้ยเกินเงินต้น ในช่วง 3 - 5 ปีย้อนหลัง
- เรื้อรัง (severe PD) จ่ายดอกเบี้ยเกินเงินต้น 5 ปีขึ้นไป มีเงินเดือนไม่ถึง 2 หมื่นบาท (กรณีลูกหนี้กลุ่มแบงก์) หรือไม่เกิน 1 หมื่นบาท (กรณีลูกหนี้นอนแบงก์)

ถ้าเข้าข่ายตามนี้ มีทางเลือกปิดจบหนี้ เริ่ม 1 เมษายน 2567
#แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย

3 เรื่องต้องรู้ หากคุณจ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสดนานๆ

Credit Card Minimum Payment

มีหนี้กับหลายเจ้าหนี้ จะทำอย่างไร

คลีนิคแก้หนี้

เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ปรับซ้ำได้หรือไม่

เจรจาปรับโครงสร้างหนี้ ทางเลือกลูกหนี้ เพื่อไม่ผิดนัดชำระ และรักษาเครดิตที่ดี

เช็ก 4 สัญญาณ ปัญหาหนี้เรื้อรัง

Debt Checklist

รู้หรือไม่? ปิดหนี้ก่อนได้ ไม่ต้องจ่ายค่าปรับ (Prepayment fee)

Prepayment fee

หนี้ปรับได้ กับแผนปรับโครงสร้างหนี้ก่อน 1 หลัง 1



เรื่องต้องรู้ ก่อนเจรจาปรับโครงสร้างหนี้

  • เรายังจ่ายหนี้ไหวแค่ไหน?
  • เราเหมาะกับการปรับโครงสร้างหนี้แบบไหน?
เจรจาปรับโครงสร้างหนี้ ทางเลือกลูกหนี้ เพื่อไม่ผิดนัดชำระ และรักษาเครดิตที่ดี ติดต่อสอบถามสถาบันการเงินก่อนตัดสินใจ ไม่คิดค่าธรรมเนียมการปรับโครงสร้างหนี้ ยกเว้น! ค่าประเมินราคาหลักประกัน ซึ่งจำเป็นต้องใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากำหนดเงื่อนไขในการปรับโครงสร้างหนี้

#แก้หนี้ยั่งยืน #เจ้าหนี้รับผิดชอบ #ลูกหนี้มีวินัย #ธนาคารกรุงเทพ

แจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้

เข้าร่วมมาตรการ

 

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
ในทุกธุรกรรมทางการเงิน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณในทุกธุรกรรมทางการเงิน

คุณกำลังจะออกจากเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ