
Online Banking
ลูกค้าบุคคล
- บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
- บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
- บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
- โมบายแบงก์กิ้ง
- โมบายแบงก์กิ้ง
- โมบายแบงก์กิ้ง
- บัวหลวง ไอฟันด์
กรณีลูกค้ามีการเปิดการใช้งาน การช่วยเหลือการเข้าถึง (Accessibility) แนะวิธีปิดโหมดการช่วยเหลือการเข้าถึง (Accessibility) บนโทรศัพท์มือถือ Android เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ป้องกันการถูกขโมยและการโดนหลอกจากมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ ธนาคารขอแนะนำผู้ใช้มือถือ Android ปิดโหมดการช่วยเหลือการเข้าถึง (Accessibility) โดยเข้าไปที่แอป และไปที่ การตั้งค่า (Setting) และทำตามขั้นตอน ดังนี้
โทรศัพท์มือถือ Samsung
โทรศัพท์มือถือ Huawei
โทรศัพท์มือถือ Xiaomi / Redmi
โทรศัพท์มือถือ Vivo
โทรศัพท์มือถือ OPPO
โทรศัพท์มือถือ Realme
โทรศัพท์มือถือ Asus
โทรศัพท์มือถือ Razer
โทรศัพท์มือถือ Oneplus
โทรศัพท์มือถือ Infinix
ทำไมต้องปิด การช่วยเหลือการเข้าถึง (Accessibility)
ปัจจุบัน มิจฉาชีพหลอกให้ผู้ใช้งานติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์ (Malware) ลงในโทรศัพท์มือถือ เพื่อเข้าไปแฝงตัวอยู่ในแอปพลิเคชันซึ่งมีบริการที่เรียกว่า Accessibility Service ที่สามารถเข้าถึงและควบคุมการสั่งงานเครื่องแทนผู้ใช้
ซึ่งการทำงานของการช่วยเหลือการเข้าถึง (Accessibility) มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้โทรศัพท์ เช่น ช่วยเหลือผู้มีปัญหาในการสั่งการตามปกติ เช่น ผู้พิการทางสายตา ในการช่วยอ่านข้อความ การพิมพ์ข้อความด้วยเสียง รวมถึงการควบคุมหน้าจอ เพื่อตอบโต้ระบบและสั่งแทนผู้ใช้งาน ดังนั้นหากมีมัลแวร์ลักษณะนี้แฝงอยู่ จะทำให้ผู้ใช้งานตกอยู่ในความเสี่ยงที่อาจถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวไปใช้ เพื่อเข้าถึงรหัสการเปิดใช้งานแอปพลิเคชันทางการเงิน
เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูล ผู้ใช้งานต้องตรวจสอบว่า สมาร์ทโฟนของตนเอง มีการอนุญาตให้แอปที่ไม่รู้จัก ขอสิทธิ์ใช้งาน Accessibility Service หรือไม่ ซึ่งหากมีให้รีบปิดหรือยกเลิกสิทธิการใช้งานการช่วยเหลือการเข้าถึง (Accessibility) ทันที และควรตรวจสอบข้อมูลของแอปมือถือ และอัปเดตแอปให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด
เพื่อป้องกันกรณีดังกล่าว ทางธนาคาร เปิดช่องทางลัดรับแจ้งเหตุผู้ประสบภัยทางการเงิน ที่ได้รับผลกระทบจากมิจฉาชีพ
โทร. 1333 หรือ 0 2645 5555 กด *3 (หลังกดเลือกภาษา) ตลอด 24 ชั่วโมง
หมายเหตุ : ในการสนทนา จะมีการพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าตามกระบวนปัจจุบัน (Authentication Level 3)
SMS ปลอมระบาดหนัก! โปรดระวังมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นธนาคาร หน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชน ส่งข้อความ SMS หลอกขอข้อมูลส่วนตัว หรือเชิญชวนให้กดลิงก์ปลอม ให้ผู้รับดาวน์โหลดแอปหรือติดตั้งโปรแกรมลงบนสมาร์ทโฟน ซึ่งโปรแกรมนั้นมีไวรัสที่สามารถขโมยข้อมูลส่วนตัวทางการเงิน สามารถดูดเงินออกจากบัญชี แนะมีสติอย่าหลงเชื่อ แนะนำ 3 วิธีง่าย ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพื่อเป็นการป้องกันการถูกมิจฉาชีพดูดเงินออกจากบัญชี
ธนาคารไม่มีนโยบายส่ง SMS เพื่อขอให้คุณดาวน์โหลดหรือติดตั้งโปรแกรมใดๆ สำหรับการทำธุรกรรมต่างๆ กับธนาคาร หรือจัดทำหน้าจอ (pop-up) เพื่อให้คุณกรอกข้อมูลส่วนตัว ดังนั้น หากคุณได้รับ SMS ในทำนองดังกล่าว หรือได้ทำการคลิกลิงก์เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมที่ต้องสงสัยไปแล้ว หรือพบหน้าจอหรือข้อความที่ไม่คุ้นเคย หรือผิดไปจากปกติ ให้หยุดทำรายการทันที โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารทันทีที่บัวหลวงโฟน โทร. 1333 หรือ (66) 0 2645 5555 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง