Online Banking
ลูกค้าบุคคล
- บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
- บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
- บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
- โมบายแบงก์กิ้ง
- โมบายแบงก์กิ้ง
- โมบายแบงก์กิ้ง
- บัวหลวง ไอฟันด์
วิธีสมัครใช้บริการ การล็อกออน การเชื่อมโยงบัญชีเงินฝากเข้ากับบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งและการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางบัญชี
คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับวิธีสมัครและบริการต่างๆ
ประเภทบัญชี |
จำนวนบัญชี |
1. บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ |
รวมกันสูงสุด 15 บัญชี* |
4. บัญชีบัตรเครดิต |
ไม่จำกัดจำนวน |
6. บัญชีของบุคคลอื่น |
|
เรื่องควรรู้เกี่ยวกับรหัสลับแรกเข้า รหัสลับส่วนตัว และเลขประจำตัวลูกค้า
คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับเลขประจำตัวลูกค้า รหัสลับแรกเข้า และรหัสลับ
ส่วนตัว
เรียกดูความเคลื่อนไหวของบัญชีได้ง่ายๆ ทั้งยอดเงินคงเหลือ และรายการธุรกรรมล่าสุดที่เกิดขึ้น
คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับรายการบัญชี
ประเภทบัญชี |
ณ วันที่ ( As of Date) |
บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ |
ยอดล่าสุดของวันนี้ |
บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน |
ยอดล่าสุดของวันนี้ |
บัญชีเงินฝากประจำ |
ยอดล่าสุดของวันนี้* |
บัญชีบัตรเครดิต |
ยอดสิ้นสุดการทำรายการเมื่อวานนี้ |
บัญชีสินเชื่อ |
ยอดสิ้นสุด ณ วันทำการสุดท้ายของธนาคาร |
ประเภทบัญชี |
ระยะเวลา |
บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ | เดือนปัจจุบันและเดือนที่ผ่านมา |
บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน | เดือนปัจจุบันและเดือนที่ผ่านมา |
บัญชีเงินฝากประจำ | แสดงยอดเงินนำฝากคงเหลือทั้งหมด |
บัญชีบัตรเครดิต | แสดงรายการค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 3 รอบบัญชีที่แล้ว รวมทั้งรายการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแต่ยังไม่ถึงกำหนดเรียกเก็บเงินในใบแจ้งยอดค่าใช้จ่าย |
บัญชีสินเชื่อ | แสดงยอดเงินคงเหลือและข้อมูลการชำระเงินต้น ดอกเบี้ย ย้อนหลัง 12 เดือน |
เรียนรู้หลากหลายวิธีโอนเงิน รวมทั้ง โอนเงินถึงผู้รับรายเดียว โอนเงินถึงผู้รับหลายราย ตั้งโอนเงินล่วงหน้า การเพิ่มชื่อบัญชีบุคคลอื่นในรายชื่อผู้รับโอน การใช้บริการแจ้งให้ผู้รับเงินทราบเมื่อเงินโอนเข้าบัญชี และการสร้างเงื่อนไขสำหรับการโอนเงิน
คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับบริการโอนเงิน
ประเภทการทำรายการ |
จำนวนเงิน |
การโอนเงินระหว่างบัญชีของท่านเอง |
ไม่จำกัดวงเงิน |
การโอนเงินไปยังบัญชีบุคคลอื่น |
ไม่เกิน 2,000,000 บาท ต่อวัน |
การโอนเงินไปยังบัญชีเงินฝากประจำ |
มากกว่า 2,000 บาทขึ้นไป |
1. โอนเงินไปต่างประเทศผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง เพื่อวัตถุประสงค์ใดได้บ้าง
สำหรับบุคคลไทย
• ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา (Educational expenses)
• ค่าใช้จ่ายเดินทาง ท่องเที่ยว (Travel expenses)
• ค่าใช้จ่ายส่วนตัว (Personal expenses)
• ค่าสินค้า (Payment for goods)
• ค่าบริการ (Payment for services)
• ค่าจ้างชาวต่างชาติ (Wage paid to foreigners)
• ค่าใช้จ่ายเพื่ออยู่อาศัยต่างประเทศถาวร (Residence expenses)
• ช่วยเหลือครอบครัวที่อยู่ต่างประเทศถาวร (Family support)
• เงินให้เป็นของขวัญ (Gifts)
สำหรับบุคคลต่างชาติ
• โอนเงินรายได้จากการทำงานในประเทศไทยไปต่างประเทศ (Repatriation of income)
• ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา (Educational expenses)
• ค่าใช้จ่ายเดินทาง ท่องเที่ยว (Travel expenses)
• ค่าใช้จ่ายส่วนตัว (Personal expenses)
• ค่าสินค้า (Payment for goods)
• ค่าบริการ (Payment for services)
• เงินให้เป็นของขวัญ (Gifts)
2. สมัครบริการโอนเงินไปต่างประเทศผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้อย่างไร
สมัครผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
1. เข้าสู่บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
2. คลิก “โอนเงิน” และเลือก “เพิ่มบัญชีบุคคลอื่นต่างประเทศ”
3. กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และส่งคำขอระหว่างเวลา 06.00-21.00 น. ในวันทำการธนาคาร โดยธนาคารจะแจ้งผลการขอใช้บริการไปยังอีเมลของคุณภายใน 3 วัน ทำการธนาคาร
กรณีลูกค้าชาวต่างชาติสมัครใช้บริการจะต้องแฟกซ์หลักฐานการทำงานในประเทศไทยให้ธนาคาร เช่น ใบอนุญาตทำงาน หรือบัตรประจำตัวพนักงาน หรือหนังสือรับรองรายได้จากนายจ้าง ไปที่หมายเลข (66) 0 2553 5443 หรืออีเมล outward.ift@bangkokbank.com ภายใน 3 วันทำการธนาคารหลังจากสมัครใช้บริการ
ติดต่อธนาคารเพื่อยืนยันการส่งหลักฐาน โทร. (66) 0 2553 5475 ระหว่างเวลา 09.00-17.00 น. ในวันทำการธนาคาร
สมัครผ่านสาขาธนาคารกรุงเทพ
กรณีคุณใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งแล้ว คุณสามารถพิมพ์ใบคำขอใช้บริการโอนเงินไปต่างประเทศผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งด้วยตนเองจากหน้าจอบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง และนำไปยื่นสมัครได้ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา ตามขั้นตอนดังนี้
1. เข้าสู่บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
2. คลิก “โอนเงิน” และเลือก “โอนเงินไปต่างประเทศ”
3. คลิก “พิมพ์” และเลือก “ใบสมัคร” ด้านขวาบนหน้าจอบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
4. กรอกข้อมูลในคำขอใช้บริการโอนเงินไปต่างประเทศฯ ให้ครบถ้วนชัดเจน
5. นำขอใช้บริการโอนเงินไปต่างประเทศฯ พร้อมเอกสารประกอบการสมัครไปยื่นสมัครได้ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา
กรณีคุณยังไม่เคยสมัครใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง คุณสามารถสมัครบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง พร้อมกับสมัครบริการโอนเงินไปต่างประเทศผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้ โดยขอรับคำแนะนำการสมัครได้ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา
3. เอกสารประกอบการสมัครบริการโอนเงินไปต่างประเทศผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง มีอะไรบ้าง
บุคคลไทย
• บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวรัฐวิสาหกิจ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์กรของรัฐ หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน
• สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีบัตรแสดงตนไม่แสดงที่อยู่ไว้)
• สมุดบัญชี/สมุดเช็ค/ใบรับสมุดเช็คของบัญชีเงินฝากที่ผูกไว้กับบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
บุคคลต่างชาติ
• หนังสือเดินทาง
• เอกสารที่แสดงว่าผู้ขอใช้บริการทำงานในประเทศไทย เช่น ใบอนุญาตทำงาน หรือบัตรประจำตัวพนักงาน หรือ หนังสือรับรองรายได้จากนายจ้าง
• สมุดบัญชี/สมุดเช็ค/ใบรับสมุดเช็คของบัญชีเงินฝากที่ใช้กับบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
4. บริการโอนเงินไปต่างประเทศผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง มีค่าธรรมเนียมในการโอนหรือไม่
• 300 บาทต่อรายการ (ปกติ 400 บาทต่อรายการ) เมื่อเลือกชำระเฉพาะค่าธรรมเนียมของธนาคารกรุงเทพ
• 1,050 บาทต่อรายการ* (ปกติ 1,150 บาทต่อรายการ) เมื่อเลือกชำระค่าธรรมเนียมธนาคารกรุงเทพและธนาคารในต่างประเทศ**
*ยกเว้นการโอนเงินสกุล JPY ค่าธรรมเนียม 2,400 บาทต่อรายการ (ปกติ 400 บาท บวก 0.05% ของยอดเงินที่โอน ขั้นต่ำ 2,100 บาท) และสกุล HKD ค่าธรรมเนียม 1,350 บาทต่อรายการ (ค่าธรรมเนียมอัตราปกติ) ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ศึกษาได้ตามประกาศของธนาคาร
**ผู้รับเงินในต่างประเทศอาจไม่ได้รับเงินเต็มจำนวน หากธนาคารในต่างประเทศคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมก่อนจ่ายเงินให้ผู้รับเงิน
เรียนรู้วิธีการชำระค่าสินค้าและบริการ ค่าบัตรเครดิต และการตั้งชำระเงินแบบล่วงหน้า
คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับชำระค่าสินค้าและบริการ ชำระค่าบัตรเครดิต
เรียนรู้วิธีเพิ่มบัญชีกองทุนรวมในบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง วิธีซื้อและขายกองทุนรวม ตลอดจนการกำหนดจำนวนการลงทุนสูงสุดต่อรายการและการกำหนดหรือยกเลิกคำสั่งการลงทุนล่วงหน้า
คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับบริการลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุนรวม
คำสั่งซื้อ |
จำนวนเงินสูงสุดไม่เกินรายการละ 10,000,000 บาท (โปรดศึกษาจำนวนเงินขั้นต่ำในการซื้อแต่ละกองทุนในหนังสือชี้ชวน) |
คำสั่งขายคืน |
จำนวนเงินสูงสุดไม่เกินรายการละ 10,000,000 บาท หรือจำนวนหน่วยลงทุนสูงสุดไม่เกินรายการละ 1,000,000 หน่วย |
คำสั่งสับเปลี่ยนกองทุน |
จำนวนหน่วยลงทุนสูงสุดไม่เกินรายการละ 1,000,000 หน่วย |
ข้อควรทราบเกี่ยวกับเช็ค สมุดบัญชี ใบแสดงรายการบัญชี การตรวจสอบข้อมูลในการทำธุรกรรม การแลกรับของรางวัลจากคะแนนสะสมในบัตรเครดิต หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิต
คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับบริการพิเศษ
1. รายการเช็คคืน - เช็คนำฝาก (Deposited Cheque Return Inquiry) คืออะไร
คือ บริการแสดงรายการเช็คคืน ซึ่งเป็นเช็คที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้ โดยเช็คดังกล่าวต้องเป็นเช็คที่ฝากเข้าบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน หรือบัญชีเงินฝากประจำที่คุณได้ลงทะเบียนไว้
คุณสามารถเรียกดูรายการเช็คคืนได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง และเรียกดูรายการย้อนหลังได้ถึง 2 เดือน
ในกรณีที่มีเช็คคืน คุณจะต้องติดต่อสาขาที่คุณมีบัญชีอยู่ เพื่อดำเนินการต่อไป
2.
ทำไมบางครั้งหลังจากนำเช็คไปฝากเข้าบัญชีแล้ว จึงยังไม่เห็นรายการเช็คนำฝากในหน้าจอ "รายการเคลื่อนไหวทางบัญชี" (Account Activity) หรือในหน้าจอ "รายละเอียดเช็คคืน-เช็คนำฝาก" (Deposited Cheque Return Inquiry)
หากคุณนำฝากเช็คหลังเวลา 14.00 น. รายการนำฝากนั้นจะไม่แสดงในระบบบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง จนกระทั่งวันทำการถัดไป เนื่องจากว่าเช็คของคุณยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ
3. รายการเช็คคืน - เช็คสั่งจ่าย (Issued Cheque Return Inquiry) คืออะไร
คือ บริการที่ให้คุณสามารถเรียกดูรายการเช็คที่สั่งจ่ายและไม่สามารถเรียกเก็บได้ โดยเช็คดังกล่าวจะต้องเป็นเช็คของบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ได้ลงทะเบียนไว้
คุณสามารถเรียกดูรายการเช็คคืนได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง และเรียกดูรายการย้อนหลังได้ถึง 2 เดือน ในกรณีที่มีเช็คคืน คุณจะต้องติดต่อสาขาที่ท่านมีบัญชีอยู่เพื่อดำเนินการต่อไป
4. บริการอายัดเช็ค (Stop Cheque) คืออะไร
คือ บริการที่ให้คุณสามารถสั่งอายัดเช็คได้ด้วยตนเอง ระหว่างเวลา 6.00 – 23.00 น. ทุกวัน เช็คที่สั่งอายัดจะต้องเป็นเช็คสั่งจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้
หมายเหตุ: ธนาคารไม่สามารถอายัดเช็คสั่งจ่ายที่มีการหักเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของคุณแล้ว
5. ควรทำอย่างไรหากสมุดคู่ฝากหายหรือถูกขโมย
ธนาคารขอแนะนำให้คุณอายัดสมุดคู่ฝากที่สูญหายหรือถูกขโมยทันที เพื่อมิให้ผู้อื่นนำสมุดคู่ฝากไปเบิกเงินจากบัญชีของคุณได้ อย่างไรก็ตาม หลังอายัดสมุดแล้ว คุณยังคงสามารถใช้บัตรเอทีเอ็มของบัญชีนั้นได้ตามปกติ
หากต้องการให้ธนาคารออกสมุดคู่ฝากใหม่ โปรดนำเอกสารใบแจ้งความ พร้อมบัตรประชาชนมาติดต่อสาขาที่มีบัญชีอยู่
6. สามารถขอรับใบแสดงรายการบัญชี (Statement Request) ที่แสดงข้อมูลย้อนหลังไปมากกว่าสองเดือนได้หรือไม่
ได้ สำหรับบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและบัญชีบัตรเครดิตที่คุณได้ลงทะเบียนไว้ เพียงคุณทำรายการ "ขอใบแสดงรายการบัญชี" ในหน้า "บริการพิเศษ" ธนาคารจะส่งใบแสดงรายการบัญชีให้คุณทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ของบัญชีนั้นๆ
7. หากสงสัยว่ายอดเงินคงเหลือที่แสดงอาจมีความผิดพลาด จะขอให้ธนาคารตรวจสอบได้อย่างไร
คุณสามารถแจ้งให้ธนาคารตรวจสอบได้ โดยทำรายการผ่านเมนู "ตรวจสอบยอดเงินคงเหลือที่ผิดปกติ" โดยธนาคารจะแจ้งผลให้ทราบผ่านบริการแบงก์เมล์
8. หากสงสัยว่าข้อมูลรายการทำธุรกรรมที่ระบบแสดงอาจผิดพลาด จะขอให้ธนาคารตรวจสอบได้อย่างไร
คุณสามารถแจ้งให้ธนาคารตรวจสอบได้ โดยทำรายการผ่านเมนู "ตรวจสอบรายการที่ผิดปกติ" โดยธนาคารจะแจ้งผลให้ทราบผ่านบริการแบงก์เมล์
9. การแลกของกำนัลจากคะแนนสะสมผ่านทางบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งคืออะไร
คือ บริการสำหรับผู้ถือบัตรหลักเพื่อแลกของกำนัลโดยใช้คะแนนสะสม คุณสามารถตรวจสอบรายการสินค้า "Thank You Rewards" ได้ ทั้งนี้ คุณสามารถเลือกสินค้าได้ 3 ชิ้นต่อการแลกหนึ่งรายการ
10. หากต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิตผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ได้หรือไม่
ได้ บริการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบัตรเครดิตเป็นบริการที่อำนวยความสะดวกให้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในการจัดส่งรายการบัญชี, ขอบัตรเครดิตทดแทนใบเก่า ในกรณีที่บัตรเก่าชำรุด และขอ PIN ใหม่ได้ สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในการจัดส่งรายการบัญชีใหม่นั้น คุณจะสามารถทำได้เฉพาะบัตรหลักเท่านั้น
เรียนรู้วิธีการตั้งชื่อบัญชีย่อเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ การเปลี่ยนรหัสลับส่วนตัว การกำหนดภาษาที่ใช้ในการทำรายการ การตั้งค่าเพื่อใช้บริการส่งรหัสผ่านครั้งเดียวทางเอสเอ็มเอสเพื่อยืนยันตัวตนในการทำ ธุรกรรมผ่านบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับบริการเสริม
1. ชื่อย่อบัญชี (Account Nickname) คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
ชื่อย่อบัญชี คือ ชื่อที่คุณตั้งเองให้กับบัญชีของคุณเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ แทนการจำเลขที่บัญชี
2. การเปลี่ยนรหัสลับส่วนตัว (Change Password) อย่างสม่ำเสมอมีประโยชน์อย่างไร
การเปลี่ยนรหัสลับส่วนตัวอย่างสม่ำเสมอ เป็นมาตรการเสริมด้านความปลอดภัย
3.การซ่อนเลขที่บัญชี (Account Masking ) คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
กรณีที่คุณไม่ต้องการเปิดเผยเลขที่บัญชีให้บุคคลอื่นรับรู้ คุณสามารถกำหนดให้ระบบซ่อนเลขที่บัญชีบางส่วนบนหน้าจอได้ด้วยตนเอง
หมายเหตุ: เพื่อความปลอดภัย ธนาคารจะซ่อนเลขบัญชีบัตรเครดิตของท่านให้โดยอัตโนมัติ
4.ฟังก์ชั่นกำหนดภาษา (Language ) คืออะไร
ฟังก์ชั่นนี้สามารถเลือกภาษาที่ใช้ดูข้อมูลหรือทำธุรกรรมผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง โดยสามารถเลือกใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้
5.สามารถกำหนดวงเงินสูงสุดในการโอนเงินให้บุคคลอื่น (Maximum 3rd Party Funds Transfer) ได้หรือไม่
เพื่อป้องกันความผิดพลาด หรือเป็นการเตือนกรณีคุณพิมพ์จำนวนเงินโอนที่สูงเกินไป คุณสามารถกำหนดจำนวนเงินสูงสุดในการโอนเงินไปยังบัญชีบุคคลอื่นได้ด้วยตนเอง แต่ต้องไม่เกินวันละ 500,000 บาท
6.สามารถกำหนดวงเงินสูงสุดของการชำระเงินผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ได้หรือไม่
ได้ โดยไปเลือกที่เมนูย่อย "กำหนดรูปแบบ" และกำหนดจำนวนเงินสูงสุดของการชำระเงินได้ที่ "จำนวนเงินสูงสุดในการชำระเงิน" (Maximum Bill Payment)
7.สามารถเรียกดูหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวที่ให้ไว้ตอนสมัครใช้บริการผ่านหน้าจอบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ได้หรือไม่
คุณสามารถเรียกดูข้อมูลส่วนตัวได้ในเมนูย่อย "สถานที่ติดต่อของคุณ" หากคุณต้องการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น หมายเลขโทรศัพท์บ้าน หมายเลขโทรศัพท์ที่ทำงาน และหมายเลขโทรสาร โปรดคลิกที่ "คลิกที่นี่"
หากคุณต้องการเปลี่ยนแปลงคำนำหน้าชื่อ ชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์มือถือ อีเมล หรือที่อยู่ โปรดติดต่อธนาคารกรุงเทพสาขาที่คุณสะดวก เพื่อกรอกแบบฟอร์มให้ธนาคารเก็บไว้เป็นหลักฐาน
โปรดนำแบบฟอร์มที่กรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วมายื่นที่ธนาคาร และลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่
8.บริการส่งรหัสผ่านทาง SMS (SMS Authentication Service) คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
บริการส่งรหัสผ่านทาง SMS คือ บริการที่ธนาคารกรุงเทพพัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับท่านในการใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ด้วยการส่ง SMS ไปยังหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่คุณได้แจ้งไว้กับธนาคาร เพื่อให้สามารถยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้โดยไม่ต้องไปติดต่อธนาคาร
ยกตัวอย่างเช่น ในการโอนเงินไปยังบัญชีบุคคลอื่น ท่านไม่จำเป็นต้องไปติดต่อธนาคารเพื่อเพิ่มบัญชีบุคคลอื่นอีกต่อไป ด้วยบริการส่งรหัสผ่านทาง SMS (SMS Authentication Service) เพียงปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง โดยคุณสามารถคลิก "เพิ่มบัญชีบุคคลอื่น" ในเมนู "โอนเงิน" ธนาคารจะส่งรหัสผ่านครั้งเดียว (One Time Password - OTP) ไปยังหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่คุณได้แจ้งไว้กับธนาคาร และคุณสามารถใช้รหัสผ่านครั้งเดียวนี้เพื่อยืนยันการเพิ่มบัญชีบุคคลอื่นและทำธุรกรรมผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งได้ทันที
9.รหัสผ่านครั้งเดียว (One Time Password - OTP) คืออะไร
รหัสผ่านครั้งเดียว (One Time Password - OTP) คือ รหัสที่ธนาคารส่งให้คุณทาง SMS ไปยังหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่คุณได้แจ้งไว้กับธนาคาร ระบบจะขอให้คุณใส่รหัสดังกล่าวเพื่อยืนยันคำสั่งในการทำธุรกรรมบางประเภทผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง โดยรหัสผ่านครั้งเดียวนี้จะหมดอายุภายใน 15 นาที หลังจากระบบส่ง SMS ให้คุณ ในกรณีที่คุณไม่ได้ใช้รหัส OTP ภายใน 15 นาที คุณต้องเริ่มต้นทำรายการใหม่อีกครั้ง
เรื่องควรรู้เกี่ยวกับแบงก์เมล และการเรียกดูรายการสรุปที่ได้ทำในรอบการใช้บริการในแต่ละครั้ง
คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับบริการแบงก์เมล์ และหน้าสรุปการทำรายการ
วิธีการพิมพ์และดาวน์โหลดข้อมูลบัญชีไอแบงก์กิ้ง
คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับการพิมพ์และการดาวน์โหลดข้อมูล
เรียนรู้วิธีเสริมสร้างความปลอดภัยในทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้บัญชีบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัย