เคล็ดลับการเลือกกองทุนรวม

1. จะเลือกกองทุนรวมให้ถูกใจ ต้องรู้จักตัวเองก่อน ว่าต้องการอะไร ลงทุนได้นานแค่ไหน รับความเสี่ยงได้หรือไม่

 
ตอบตัวเองให้ได้ว่าต้องการลงทุนเพื่ออะไร

  • เพื่อเตรียมตัวเกษียณ แสดงว่าลงทุนระยะยาวได้
  • พักเงินระยะเวลาสั้นๆ แสดงว่า

ไม่ควร ลงทุนระยะยาว หรือ ลงทุนในกองทุนหุ้นและกองทุนผสม

ควร ลงทุนเฉพาะกองทุนสำหรับบริหารสภาพคล่อง

 

ข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาการลงทุน

  • ลงทุนได้เพียงระยะเวลาสั้นมาก ไม่เกิน 1 ปี ควรเลือกลงทุนเฉพาะกองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้
  • ลงทุนได้ระยะสั้น ไม่เกิน 3 ปี ควรเลือกลงทุนกองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสมที่เน้นตราสารหนี้
  • ลงทุนระยะกลาง 3-5 ปี สามารถเลือกกองทุนรวมแบบผสมผสาน คือลงทุนทั้งกองทุนหุ้นและกองทุนผสม หรือเลือกกองทุนผสมที่เน้นการลงทุนในหุ้นได้
  • ลงทุนระยะยาว 5 ปีขึ้นไป สามารถเลือกกองทุนหุ้น หรือกองทุนผสมที่เน้นลงทุนในหุ้นได้

 

รู้ว่ายอมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน

เช่น ไม่เคยลงทุนในหุ้นเลยเพราะกลัวขาดทุน ไม่ชอบความหวือหวา ไม่ชอบความผันผวนไม่แน่นอน มักจะเป็น นักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ต่ำ ทั้งนี้ การทำแบบประเมินความเสี่ยงพอจะช่วยประเมินความเสี่ยงในเบื้องต้นของตนเองได้

 

2. ทำความเข้าใจและเลือกกองทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการและข้อจำกัดของเราได้ เช่น

  • เลือกกองทุนที่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ก่อน
  • ไม่เลือกกองทุนที่กำหนดระยะเวลาลงทุนนานเกินกว่าเวลาที่สามารถลงทุนได้
  • เลือกกองทุนที่มีนโยบายเรื่องการจ่ายปันผลตรง หากต้องการรายรับภายหลังการลงทุน
  • เลือกกองทุนที่ได้สิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมอย่าง กองทุนรวม RMF/SSF สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ต้องการลงทุนระยะยาว และปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนตามที่กรมสรรพากรกำหนด
  • เลือกกองทุนที่มีนโยบายและแนวทางการลงทุนที่เราเข้าใจ เชื่อมั่นในแนวทางนั้นๆ และยอมรับความเสี่ยงของการลงทุนในแนวทางนั้นได้ เช่น เลือกลงทุนกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน เมื่อมองเห็นโอกาสการเติบโตของหุ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน
  • เลือกลงทุนในกองทุนหลักที่ให้ผู้จัดการกองทุนเลือกหุ้นให้ เมื่อเชื่อมั่นในแนวคิดและวิธีการลงทุนเลือกหุ้นของผู้จัดการกองทุน หรือเมื่อยังไม่ต้องการลงทุนในโยบายเฉพาะเจาะจงใดๆ เช่น กองทุนเปิดบัวแก้ว กองทุนเปิดบัวแก้วปันผล เป็นต้น

 

3. เลือกใช้เทคนิคการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง

เช่น การลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (Dollar Cost Averaging: DCA) ที่เหมาะสำหรับผู้ต้องการลงทุนเป็นรายเดือนจำนวนเงินเท่ากันทุกเดือนเพื่อเฉลี่ยต้นทุน ไม่ต้องเสียเวลาคอยติดตามสภาวะตลาด โดยธนาคารจะหักเงินจากบัญชีเงินฝากหรือบัญชีบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ* เพื่อนำไปซื้อหน่วยลงทุนกองทุนเปิดที่เลือกไว้

หมายเหตุ: เงื่อนไขการให้บริการเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

*บริการหักบัญชีบัตรเครดิตใช้ได้เฉพาะกองทุน RMF/SSF เท่านั้น

 

4. เลือกช่องทางการลงทุนที่อำนวยความสะดวก ให้ความคล่องตัวในการลงทุน

เหมาะกับไลฟ์สไตล์การลงทุนในยุคดิจิทัลที่เน้นความรวดเร็ว และสะดวก ด้วยหลากหลายช่องทางการลงทุนออนไลน์ของธนาคารกรุงเทพ เช่น โมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ และบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ที่สามารถซื้อ-ขาย-สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนกองทุนรวม และสอบถามยอดหน่วยลงทุนคงเหลือได้ง่ายๆ

หมายเหตุ: เงื่อนไขการให้บริการเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด





เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
ในทุกธุรกรรมทางการเงิน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณในทุกธุรกรรมทางการเงิน

คุณกำลังจะออกจากเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ