
Online Banking
ลูกค้าบุคคล
- บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
- บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
- บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
- โมบายแบงก์กิ้ง
- โมบายแบงก์กิ้ง
- โมบายแบงก์กิ้ง
- บัวหลวง ไอฟันด์
ตลอดจนสนับสนุนศิลปินรุ่นใหม่จำนวนมากที่มีทักษะ แนวคิด และความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานด้าน จิตรกรรมเพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพและมีคุณค่า และมีโอกาสขึ้นเวทีแสดงผลงานให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นับได้ว่า “จิตรกรรมบัวหลวง” เป็นสถาบันศิลป์ที่ได้รับการยอมรับจากวงการศิลปะว่าเป็นเวทีประกวดการวาดภาพที่ได้มาตรฐาน ศิลปินที่ได้รับรางวัลจากจิตรกรรมบัวหลวงหลายท่านมีฝีมือเป็นที่ประจักษ์และมีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ บางท่านได้รับเกียรติสูงสุดในฐานะศิลปินแห่งชาติ ในขณะเดียวกันรางวัลจิตรกรรมบัวหลวงก็ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นรางวัลที่มีเกียรติและมีมาตรฐานสูง
ประเภทของงานจิตรกรรม
ประเภทจิตรกรรมที่จัดประกวดมี 3 ประเภท ได้แก่
1. จิตรกรรมไทยแบบประเพณี
เป็นงานจิตรกรรมที่มีกระบวนการสร้างสรรค์ แนวความคิด กลวิธี เรื่องราวเนื้อหาสาระที่ดำรงภาพลักษณ์ และเอกลักษณ์ของงานจิตรกรรมไทยแบบประเพณี
2. จิตรกรรมไทยแนวประเพณี
เป็นงานจิตรกรรมที่มีกระบวนการสร้างสรรค์ แนวความคิด กลวิธี และ เรื่องราวเนื้อหาสาระที่ดำรงภาพลักษณ์ และเอกลักษณ์ของงานจิตรกรรมไทยแบบประเพณีมาพัฒนา สร้างสรรค์ใหม่ให้เข้ากับสมัยนิยม
3. จิตรกรรมร่วมสมัย
เป็นงานจิตรกรรมที่มีกระบวนการสร้างสรรค์ แนวความคิด กลวิธี และเรื่องราวเนื้อหาสาระที่มีการแสดงออกอย่างอิสระเสรี
คัดเลือกและตัดสินผลงานในวันที่ 31 พฤษภาคม 2568 โดยจะประกาศผลการตัดสินทางเว็บไซต์ธนาคาร www.bangkokbank.com และเว็บไซต์หอศิลป์ฯ www.queengallery.org
คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช |
ที่ปรึกษา |
1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา เถาทอง |
ประธานกรรมการ |
2. นายธงชัย รักปทุม |
กรรมการ |
3. ศาสตราจารย์เดชา วราชุน |
กรรมการ |
4. นายปัญญา วิจินธนสาร |
กรรมการ |
5. นายพิชัย นิรันต์ |
กรรมการ |
6. ศาสตราจารย์เกียรติคุณสันติ เล็กสุขุม |
กรรมการ |
7. นายช่วง มูลพินิจ |
กรรมการ |
8. ศาสตราจารย์เกียรติคุณปริญญา ตันติสุข |
กรรมการ |
9. รองศาสตราจารย์วิรัญญา ดวงรัตน์ |
กรรมการ |
10. นายอภิชาต รมยะรูป |
เลขานุการคณะกรรมการ |
11. นายวีรเดช พนมวัน ณ อยุธยา |
ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการ |
1. ประเภทจิตรกรรมไทยแบบประเพณี
รางวัลที่ 1 เหรียญทองบัวหลวง เงินรางวัล 200,000 บาท และทุนสำหรับไปทัศนศึกษางานศิลปะในต่างประเทศ
รางวัลที่ 2 เหรียญเงินบัวหลวง และเงินรางวัล 150,000 บาท
รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดงบัวหลวง และเงินรางวัล 100,000 บาท
2. ประเภทจิตรกรรมไทยแนวประเพณี
รางวัลที่ 1 เหรียญทองบัวหลวง เงินรางวัล 200,000 บาท และทุนสำหรับไปทัศนศึกษางานศิลปะในต่างประเทศ
รางวัลที่ 2 เหรียญเงินบัวหลวง และเงินรางวัล 150,000 บาท
รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดงบัวหลวง และเงินรางวัล 100,000 บาท
3. ประเภทจิตรกรรมร่วมสมัย
รางวัลที่ 1 เหรียญทองบัวหลวง เงินรางวัล 200,000 บาท และทุนสำหรับไปทัศนศึกษางานศิลปะในต่างประเทศ
รางวัลที่ 2 เหรียญเงินบัวหลวง และเงินรางวัล 150,000 บาท
รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดงบัวหลวง และเงินรางวัล 100,000 บาท
หมายเหตุ:
มูลนิธิบัวหลวงขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ประจำปีที่ 45 ซึ่งได้ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกและตัดสินให้รางวัลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีผู้สนใจส่งผลงานจิตรกรรมทั้ง 3 ประเภทเข้าประกวดในปีนี้ 117 ราย รวมจำนวน 148 ภาพ และจะนำผลงานที่ได้รับรางวัล และผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการฯ ไปจัดนิทรรศการ ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
จิตรกรรมไทยแบบประเพณี
ผลงานชื่อ “โลกวิวรณปาฏิหาริย์” นายสิปปภาส แก้วรากมุข
เทคนิค สีอะคริลิคบนพื้นกาวมะขามดินสอพองปิดทองคำเปลว ขนาด 180 x 120 ซม. .
เกิดจากการที่ข้าพเจ้าได้เติบโตในพื้นที่ ที่มีความศรัทธาต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือว่ามีอิทธิพลอย่างมากในชีวิต โดยข้าพเจ้าได้นำเอาพุทธประวัติมาตีความ และแสดงออกผ่านรูปแบบผลงานจิตรกรรมไทยประเพณี ผสมกับจินตนาการของข้าพเจ้า รวมไปถึงการทำเทคนิคที่ชื่นชอบ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์แบบของผลงาน
ผลงานชื่อ “มโนราห์บูชายัญ” นายณัฐดนัย ทองเติม
เทคนิค สีฝุ่นธรรมชาติบนพื้นกาวเมล็ดมะขามดินสอพองปิดทองคำเปลว ขนาด 150 x 110 ซม.
เป็นอุปกสรรค์ข้ามภพข้ามชาติของนางเมรี โดยที่ยกตอนนางมโนราห์บูชายัญมานี้ เพราะกรรมในชาตินี้ของนางนั้น มีความรักที่สมหวังของคนสองคน แต่คนรอบข้าง ครอบครัวเป็นเหตุที่กดดัน บีบบังคับจนนางต้องหนีผ่านทุกข์ภัยทั้งคู่ จึงมองว่าความรักมันมากกว่าคนสองคน ต้องมองความเป็นจริงรอบข้าง และต้องมีความแน่วแน่ มั่นคง จึงผ่านไปได้
ผลงานชื่อ “พระพุทธเจ้าโปรดท้าวพญามหาชมภูบดี” นายสุริวัฒน์ แดงประดับ
เทคนิค สีฝุ่นบนพื้นดินสอพอง ขนาด 150 x 180 ซม.
ข้าพเจ้าต้องการเขียนตอน พระพุทธเจ้าโปรดท้าวพญามหาชมพูบดี เพราะเป็นการแสดงธรรมที่เนรมิตให้เห็นความวิจิตร ตระการตาของบ้านเมือง เพื่อลดทิฐิ แต่ถึงอย่างนั้น ทุกสิ่งที่เห็นล้วนก่อให้เกิดความรัก โลภ โกรธ หลง ไม่ได้ซึ่งความหลุดพ้นจากทุกข์ สิ่งที่เกิดขึ้นล้วนก่อให้เกิดกิเลส แต่พระพุทธองค์กลับสงบ นิ่ง เมื่อพิจารณาไปที่พระพุทธองค์แล้ว จิตรใจก็สงบ ปล่อยวาง และทิฐิของคนเองก็จะลดลง
จิตรกรรมไทยแนวประเพณี
ผลงานชื่อ "ประตูปิดแล้ว" นายเจษฎา กิรติเสวี
เทคนิค สื่อผสม ขนาด 200 x 150 ซม.
ประตูปิดแล้ว .... ถึงเวลาก็ปิด ถึงเวลาก็เปิด
ผลงานชื่อ "ยมกปาฏิหาริย์" นายนิโรจน์ จรุงจิตวิทวัส
เทคนิค จิตรกรรมจากยางรัก สีฝุ่น ฝุ่นทอง เปลือกไข่ และทองคำเปลว ขนาด 126 x 170 ซม.
ยมกปาฏิหาริย์เป็นพุทธานุภาพที่พระพุทธองค์ทรงแสดงใต้ต้นมะม่วง แปลความอย่างภาษาคน หมายถึง การเนรมิตบุคลาฐานธรรมเป็นคู่ ๆ ซ้ำกันเป็นการแสดงพลังของคู่ตรงข้าม ความดี - ความชั่ว สีขาว - สีดำ ดี - เลว มันก็เป็นเช่นนั้นเอง
ข้าพเจ้าสร้างสรรค์จิตรกรรมเทคนิคไทยแบบโบราณ โดยเตรียมพื้นและวาดระบายด้วยสีผสมยางรัก ปิดทองคำเปลว รดน้ำ และเปลือกไข่ ใช้ผลมะม่วงเป็นสัญลักษณ์แสดงสาระของข้อธรรมผ่านการตีความและการแสดงออกทางศิลปะส่วนตน
ผลงานชื่อ "ชุมชนมัสยิดมหานาค" นายอัซมาวีย์ การี
เทคนิค สีอะคริลิค ขนาด 180 x 150 ซม.
จิตรกรรมไทยร่วมสมัย
ผลงานชื่อ "ตนิจิต ๑/๒๕๖๗ (The state of stillness 1/2567)" นายระพีพัฒน์ ผลรัตนไพบูลย์
จรดจุด ด้วยจิต เพียรแสวงหา “สมถะ”
ข้าพเจ้าใช้การสร้างสรรค์ศิลปะโดยผ่านทัศนธาตุ อาศัยจุดเป็นหลักในการสร้างสรรค์ เจตนาให้เกิดภาวะของความนิ่ง สงบ เมื่อพิจารณางานเสมือนการฝึก “สมถะ”
ผลงานชื่อ "มายาแห่งความคิด" นายจรัญ พานอ่อนตา
เทคนิค สีอะคริลิค ขนาด 150 x 200 ซม.
ความคิดหยั่งรากลึก สร้างตัวตนของคนขึ้นมา สร้างความสุข ทุกข์ สร้างภาพมายาซึ่งไม่ตรงกับความจริง ทำให้เรารับรู้ คลาดเคลื่อนจนเป็นเหตุของสุข ทุกข์ทั้งมวล หากวางความคิดลงเสียได้ คงจะได้อยู่กับปัจจุบันที่แท้จริง
ผลงานชื่อ "พื้นที่จินตนาการแห่งความสงบสุข" นายจตุพล สีทา
เทคนิค ลายรดน้ำ สีอะคริลิค ขนาด 122 x 175 ซม.
พื้นที่จินตนาการแห่งความสงบสุข แสดงถึงความหลากหลายของศาสนา วัฒนธรรมและการจินตนาการถึงเรื่องราว ตัวละคร จากสัตว์ในแดนหิมพานต์ และการ์ตูนในยุคปัจจุบัน ฯลฯ และอุปมาอุปมัยถึงโลกที่อยู่ร่วมกัน การรวมกันของทุกสรรพสิ่งและการเปรียบเปรยถึง “ดอกบัวยักษ์” เปรียบดังพระธรรมคำสอนที่เติบโตในพื้นที่แห่งจินตนาการแห่งความสุข
อันเป็นแนวคิดและแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้าถ่ายทอดผลงานผ่านจิตรกรรมในรูปแบบ Thai Contem- Polary Painting และดึงเทคนิคบางส่วนจากจิตรกรรมไทยแบบประเพณีมาใช้ เช่น จิตรกรรมลายรดน้ำ นำมาถ่ายทอดบางส่วนของผลงานและผสมผสานงานรูปแบบ Minimal Art ให้ดูเรียบง่ายไม่ทับซ้อน แสดงให้เห็นถึงสัจธรรมในชีวิต ตามหลักธรรมคำสอนของศาสนาทุกศาสนาที่สอนให้ทุกชีวิตดำรงค์อยู่อย่างเรียบง่ายและมีความสงบสุข