คำถามที่พบบ่อย

ค้นหาคำตอบเกี่ยวกับการใช้งาน และการทำรายการต่างๆ
วงเงินทำรายการ

1. ตรวจสอบวงเงินทำรายการของตนเองได้จากไหน

ตรวจสอบวงเงินได้ที่โมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ไปที่เมนู “เพิ่มเติม” เลือก “วงเงินส่วนตัว”

 

2. ต้องการทราบรายละเอียดวงเงินทำรายการ

 

3. ต้องการเปลี่ยนแปลงวงเงินการโอน / จ่าย ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ได้หรือไม่

เปลี่ยนวงเงินได้ทันที ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ โดยเลือกประเภทวงเงินที่ต้องการเปลี่ยน (วงเงินโอน / วงเงินจ่าย) โดยสามารถตั้งวงเงินโอน / จ่ายได้สูงสุด 2,000,000 บาท / วัน

การใช้งาน วิธีดาวน์โหลดหรืออัปเดทแอป รหัสต่างๆ ที่ใช้เข้าแอป

1. โมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ สามารถใช้งานกับอุปกรณ์ใดได้บ้าง

เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรม และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานอย่างต่อเนื่อง พร้อมรองรับการใช้งานฟีเจอร์ใหม่ๆ ในอนาคต โมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ เวอร์ชันใหม่ จะรองรับการใช้งานบนระบบปฏิบัติการ iOS เวอร์ชัน 13.0 ขึ้นไป และ Android เวอร์ชัน 8.0 ขึ้นไปเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. 67 เป็นต้นไป

 

2. วิธีตรวจสอบเวอร์ชันระบบปฏิบัติการในโทรศัพท์มือถือ

ดูรายละเอียด

 

3. วิธีดาวน์โหลด หรืออัปเดทแอปบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง เวอร์ชันใหม่

วิธีดาวน์โหลดแอปบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง

1. ค้นหาแอป “บัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง” หรือ “Bualuang mBanking” ได้ที่ App store, Google Play store หรือ Huawei AppGallery
  

2. ทำการดาวน์โหลด และติดตั้งแอป


วิธีอัปเดทแอปบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง

  • สำหรับ iOS เข้าไปที่ App store > พิมพ์ค้นหาแอป “บัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง” หรือ “Bualuang mBanking” > กด "อัปเดท"
  • สำหรับ Android เข้าไปที่ Google Play store > พิมพ์ค้นหาแอป “บัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง” หรือ “Bualuang mBanking” > กด "อัปเดท"
  • สำหรับ Huawei เข้าไปที่ Huawei AppGallery> พิมพ์ค้นหาแอป “บัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง” หรือ “Bualuang mBanking” > กด "อัปเดท"

 

4. User ID / PIN / Password / Mobile PIN คืออะไร

 

  • User ID คือ รหัสประจำตัว
  • PIN คือ รหัสลับแรกเข้า 4 หลัก เพือใช้เข้าสู่ระบบเป็นครั้งแรก 
  • Password คือ รหัสลับส่วนตัว ที่คุณกำหนดเอง โดยเปลี่ยนจาก PIN ที่ได้รับครั้งแรกให้เป็น Password สำหรับใช้งานบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งครั้งต่อไป
  • Mobile PIN คือ รหัสผ่าน 6 หลัก ที่คุณกำหนดเอง สำหรับเข้าใช้งานแอปบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง

 

หากคุณใช้งานบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งอยู่แล้ว สามารถใช้ User ID และ PIN / Password บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง มาระบุในขั้นตอนการสมัครใช้แอปบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้งได้ทันที

 

5. หากต้องการขอ รหัสประจำตัว (User ID) และรหัสลับแรกเข้า (PIN) เพื่อใช้สมัครบริการ ต้องทำอย่างไร

  • ที่เครื่องบัวหลวงเอทีเอ็ม โดยเลือกเมนู “สมัครบริการบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง และบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง” จากนั้นกำหนด รหัสลับแรกเข้า 4 หลัก (PIN) ที่เครื่องเอทีเอ็มได้ทันที กดเบอร์โทรศัพท์มือถือ จากนั้นรอรับ รหัสประจำตัว (User ID) ที่ระบุอยู่บนใบสลิปเอทีเอ็ม หลังทำรายการสำเร็จ 

  • ติดต่อสาขา เตรียมบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสมุดบัญชีธนาคาร กรอกแบบฟอร์มขอใช้บริการ กำหนด รหัสลับแรกเข้า 4 หลัก (PIN) ที่สาขาได้ทันที จากนั้นรอรับ รหัสประจำตัว (User ID) ทางข้อความ SMS ตามเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนไว้

 

รหัสลับแรกเข้า จะมีอายุการใช้งาน 3 วัน โปรดนำรหัสประจำตัว และรหัสลับแรกเข้า ไประบุในแอปบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง เพื่อเปลี่ยนเป็นรหัสผ่าน 6 หลัก (Mobile PIN) สำหรับเข้าใช้งานแอปครั้งต่อไป

 

6. หากลืม รหัสประจำตัว (User ID) หรือ รหัสลับแรกเข้า (PIN) ต้องทำอย่างไร    

 

กรณีมีบัตรเดบิต
  • ลบแอปเดิม และดาวน์โหลดแอปใหม่อีกครั้ง จากนั้นเข้าใช้บริการด้วยบัตรเดบิต และทำการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าผ่านแอป หรือ
  • ไปที่เครื่องบัวหลวงเอทีเอ็ม โดยเลือกเมนู “ขอ PIN และ User ID ใหม่” จากนั้นกำหนด รหัสลับแรกเข้า 4 หลัก กดเบอร์โทรศัพท์มือถือ และรอรับ รหัสประจำตัว ทางข้อความ SMS ตามเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนไว้

 

กรณีไม่มีบัตรเดบิต
  • ติดต่อสาขา พร้อมสมุดบัญชีธนาคาร และบัตรประจำตัวประชาชน กรอกแบบฟอร์มขอใช้บริการ จากนั้นกำหนด รหัสลับแรกเข้า 4 หลัก ที่สาขา และรอรับ รหัสประจำตัว ทางข้อความ SMS ตามเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนไว้

7. หากยังไม่ได้รับข้อความ SMS แจ้งรหัสประจำตัว ต้องทำอย่างไร

ธนาคารจะส่งข้อความ SMS แจ้งรหัสประจำตัว ไปตามเบอร์โทรศัพท์มือถือของคุณที่ลงทะเบียนไว้ ภายใน 4-5 วัน หลังได้รับแบบฟอร์มการสมัคร หากเกินกำหนด โปรดตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนไว้ได้ที่บัวหลวงโฟน โทร. 1333 หรือติดต่อสาขา

8. หากลืมรหัสผ่าน (Mobile PIN) หรือระบุรหัสผ่านผิดเกินจำนวนครั้งที่ธนาคารกำหนด จะปลดล็อกได้อย่างไร

กำหนดรหัสผ่านใหม่ กด “ลืมรหัสผ่าน” บนแอปบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง โดยใช้รหัสประจำตัว และรหัสลับแรกเข้า / รหัสลับส่วนตัว ของบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง เพื่อเปลี่ยนเป็นรหัสใหม่และเข้าใช้งานได้ทันที

 

หากลืมรหัสประจำตัว และรหัสลับแรกเข้า / รหัสลับส่วนตัว ขอใหม่ได้ที่เครื่องบัวหลวงเอทีเอ็ม โดยเลือกเมนู “ขอ PIN และ User ID ใหม่” หรือติดต่อสาขา 

 

9. หากเปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์มือถือใหม่ ต้องทำอย่างไร

 

เมื่อเปลี่ยนไปใช้โทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ ให้ดาวน์โหลดแอปใหม่ และทำตามขั้นตอนในการเริ่มต้นใช้งานแอป

 

สำหรับผู้ใช้บัวหลวง ไอแบงก์กิ้งอยู่แล้ว สามารถใช้ User ID และ Password ที่เข้าใช้บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง เพื่อเริ่มใช้งานแอปในโทรศัพท์เครื่องใหม่ได้ทันที

 

กรณีไม่มี User ID และ Password บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง คุณสามารถ

  • ใช้หมายเลขบัตรเดบิต และทำการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าผ่านแอป เพื่อเริ่มต้นใช้งานได้ทันที หรือ
  • ใช้เลขที่บัญชี เลขประจำตัวประชาชน และทำการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าผ่านแอป เพื่อเริ่มต้นใช้งานได้ทันที โดยจะต้องจำรหัส Mobile PIN เดิมได้

     

    หมายเหตุ: ผู้ใช้ต้องเป็นคนไทย และเคยมีการยืนยันตัวตนด้วยบัตรประจำตัวประชาชนที่สาขามาก่อน    

     

หากไม่สามารถเริ่มต้นใช้งานผ่านแอปด้วยวิธีข้างต้นได้ คุณสามารถขอ User ID และ PIN ใหม่ เพื่อเข้าใช้งานแอปได้ที่

  • เครื่องบัวหลวงเอทีเอ็ม
  • สาขาของธนาคารทั่วประเทศ พร้อมนำสมุดบัญชีธนาคาร และบัตรประจำตัวประชาชนไปด้วย

 

10. หากเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมลที่ลงทะเบียนไว้กับโมบายแบงก์กิ้งต้องทำอย่างไร
สามารถเข้าไปแก้ไขข้อมูลเบอร์โทรศัพท์และอีเมลใหม่ของคุณได้เอง ที่เมนูเพิ่มเติม >> ข้อมูลส่วนตัว จากนั้นทำการแก้ไขและบันทึกได้ทันที

 

11. สามารถสมัคร และเข้าใช้งานโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ บนแท็บเล็ตได้หรือไม่
สามารถสมัครใช้งานได้เหมือนการใช้งานผ่านโทรศัพท์ปกติ แต่ต้องมีเครื่องโทรศัพท์มือถือสำหรับไว้รับรหัส OTP
บริการด้านบัญชี

1. สามารถเรียกดูรายการย้อนหลังได้กี่วัน

ย้อนหลังได้ 180 วัน


2. สามารถเช็คยอดและรายการเคลื่อนไหวของบัญชีใดบ้าง

  • บัญชีเงินฝาก
  • บัตรเดบิตธนาคารกรุงเทพ
  • บัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ
  • กองทุนรวม

 

3. สามารถขอ Statement ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ได้หรือไม่

ได้ สามารถขอรายการเดินบัญชีได้สูงสุด 12 เดือน โดยจะส่งให้ทางอีเมลที่ลงทะเบียนไว้กับโมบายแบงก์กิ้ง ดูเพิ่มเติม

บริการโอนเงิน

1. หากโอนเงินผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ จะมีการส่งข้อความ SMS แจ้งให้ผู้รับโอนเงินทราบหรือไม่

ผู้โอนสามารถเลือกให้ระบบส่ง SMS ไปยังหมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้รับโอนเงินเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้ เพื่อแจ้งให้ผู้รับโอนเงินทราบ


2. เปลี่ยนแปลงวงเงินการโอนได้ที่ไหนบ้าง

สามารถเปลี่ยนแปลงวงเงินการโอนผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ได้ทันที


3. บันทึกรายการโอนเงินที่ใช้บ่อยได้อย่างไร

สามารถเพิ่มรายการโอนเงินที่ใช้บ่อยเป็นรายการโปรด เพื่อใช้ทำรายการครั้งต่อไปได้ โดยเข้าเมนู “รายการโปรด” และเลือกรายการที่ต้องการเพิ่ม เช่น ประเภทการโอนเงิน จากนั้นกรอกรายละเอียด เช่น ชื่อรายการโปรด จำนวนเงิน หรือเลือกเพิ่มรายการโปรดได้จากหน้าสลิป หลังจากโอนเงินสำเร็จ


4. บริการตรวจสอบสลิป (e-slip) คืออะไร

คือ การสแกนคิวอาร์โค้ด ที่ปรากฏบนสลิป e-slip ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของรายละเอียดว่าตรงกับที่ปรากฎในหน้า e-slip หรือไม่ 

บริการชำระเงิน

1. ชำระค่าอะไรได้บ้างผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ 

สามารถทำรายการชำระค่าสินค้าและบริการกับผู้ให้บริการกว่า 1,000 บริษัท หรือชำระบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง


2. ต้องการค้นหารายชื่อบริษัทผู้ให้บริการ ต้องทำอย่างไร

สามารถชำระเงินได้ โดยเลือกจากผู้ให้บริการยอดนิยม หมวดหมู่ยอดนิยม หมวดหมู่อื่นๆ หรือค้นหาผู้ให้บริการด้วยชื่อผู้ให้บริการ / รหัสบริษัท / รหัสผู้ให้บริการ


3. การสแกนคิวอาร์โค้ด / บาร์โค้ดที่อยู่บนใบแจ้งหนี้เพื่อชำระเงิน (Scan to Pay) คืออะไร

เป็นฟังก์ชันที่ช่วยอำนวยความสะดวก และลดขั้นตอนการกรอกข้อมูลในการชำระเงิน โดยข้อมูลจากคิวอาร์โค้ด / บาร์โค้ดที่อยู่บนใบแจ้งหนี้ของบริษัทผู้รับชำระเงิน ได้แก่ บริษัทผู้รับชำระ เลขที่อ้างอิงการชำระเงิน และจำนวนเงิน จะปรากฏบนหน้าจอการชำระเงินของบริการบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้งโดยอัตโนมัติ เพียงเลือกบัญชีของตนเองที่จะใช้ชำระเงิน และทำรายการได้ทันที


4. มีหลักฐานในการทำรายการผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ หรือไม่

มี เมื่อคุณทำรายการสำเร็จ คุณจะได้รับ e-slip เป็นหลักฐานทุกรายการ โดยสามารถเลือกบันทึก / แชร์ e-slip การทำรายการให้ผู้รับ ผ่าน Social Media ได้


5. สามารถเรียกดูประวัติการทำรายการชำระเงินย้อนหลัง ได้หรือไม่

ได้ โดยสามารถเรียกดูย้อนหลังได้ 18 เดือน


6. จะทราบได้อย่างไรว่าธนาคารได้หักเงินจากบัญชีและทำการชำระเงินตามคำสั่งเรียบร้อยแล้ว

คุณสามารถตรวจสอบได้ 3 วิธี ดังนี้

  • จากหน้าจอ “บัญชี” โดยดูจากการเปลี่ยนแปลงของยอดเงินที่ถอนได้จากบัญชีที่ชำระเงิน
  • จากหน้าจอ “รายละเอียดบัญชี” ของบัญชีที่ต้องการตรวจสอบ โดยจะมีรายการชำระเงินปรากฏอยู่
  • จากหน้าจอ “ประวัติการชำระเงิน” โดยตรวจสอบจากรายการที่ทำไปแล้ว
บริการด้านการลงทุน

1. สามารถใช้บริการกองทุนรวมได้อย่างไรบ้าง

  • ซื้อ ขาย และสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน
  • เช็กมูลค่าเงินลงทุนและจำนวนหน่วยลงทุนคงเหลือ
  • ดูราคาหน่วยลงทุนล่าสุดและย้อนหลังได้สูงสุด 1 ปี

 

2. หากแบบประเมินความเสี่ยงที่เคยทำไว้หมดอายุ ต้องทำอย่างไร

  • ยืนยันความเสี่ยงเดิมที่คุณได้ทำแบบประเมินไว้ ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ หรือ
  • ติดต่อสาขาธนาคาร หรือใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง เพื่อทำแบบประเมินใหม่

 
3. หากขายคืนกองทุน จะได้รับเงินอย่างไร

เงินค่าขายคืนจะจ่ายให้คุณตามวิธีที่คุณได้แจ้งไว้กับธนาคาร (เช็ค หรือเงินโอน)


4. จะทราบได้อย่างไรว่ามีพันธบัตรใดเสนอขายบ้าง

รายชื่อพันธบัตรจะปรากฏขึ้นในหน้าจอการทำรายการในช่วงที่มีการเสนอขาย


5. จะทราบได้อย่างไรว่าทำรายการซื้อพันธบัตรสำเร็จแล้ว

สำหรับคำสั่งซื้อ ระบบจะหักเงินจากบัญชีเงินฝากของคุณทันทีเมื่อคุณยืนยันการทำรายการ พร้อมรับ e-slip เป็นหลักฐานการทำรายการ


6. หากยังไม่มีเลขที่ผู้ถือพันธบัตร ต้องทำอย่างไร

คุณสามารถลงทะเบียนเพื่อขอเลขที่ผู้ถือพันธบัตรที่สาขาธนาคาร สำหรับผู้ที่เคยลงทะเบียนไว้แล้ว สามารถใช้เลขที่ผู้ถือพันธบัตรที่มีอยู่เพื่อเพิ่มบัญชีได้ทันทีผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง

บริจาคเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)

1. บริจาคเงินอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร

บริจาคเงินอิเล็กทรอนิกส์ คือ การบริจาคเงินให้กับวัด โรงพยาบาล สถานศึกษา และองค์กรสาธารณกุศลอื่นๆ ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ด / บาร์โค้ด โดยสามารถเลือกให้ธนาคารนำส่งข้อมูลการบริจาคให้กรมสรรพากรเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้


2. ส่งข้อมูลของรายการบริจาคให้แก่กรมสรรพากรเพื่อลดหย่อนภาษีได้อย่างไร

ในขั้นตอนการกรอกรายละเอียดการบริจาค คุณสามารถเลือก “ต้องการ” เพื่อให้ธนาคารส่งข้อมูลของรายการบริจาคนี้ให้แก่กรมสรรพากรเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ทันที ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบข้อมูลที่ธนาคารส่งให้ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร ใน 2 วันทำการถัดไป แต่หากคุณไม่ต้องการให้ธนาคารส่งข้อมูล คุณสามารถเลือก “ไม่ต้องการ” และดำเนินการได้ด้วยตนเองในภายหลัง


3. มีหลักฐานในการทำรายการบริจาคผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ หรือไม่

เมื่อทำรายการบริจาคสำเร็จ คุณจะได้รับ e-slip เป็นหลักฐาน และแชร์ผ่าน Social Media ได้ทันที

บริการแจ้งเตือน mAlert

1. บริการแจ้งเตือน mAlert คืออะไร

บริการแจ้งเตือน mAlert คือ การแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชัน (Push Notification) SMS หรืออีเมล โดยการแจ้งเตือนแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • การชำระเงิน
  • ด้านบัญชี
  • ความปลอดภัย

 

2. ตั้งค่าบริการแจ้งเตือน mAlert ได้อย่างไร

เลือกเมนู “เพิ่มเติม” และเลือก “การเเจ้งเตือน” โดยคุณสามารถเลือกประเภทการแจ้งเตือน และเลือกเปิด-ปิดการรับข้อความแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันได้


3. การแจ้งเตือนการชำระเงิน จะแจ้งเตือนเมื่อใด

การแจ้งเตือนการชำระเงินจะแจ้งเตือนเมื่อครบกำหนดชำระบัตรเครดิต


4. การแจ้งเตือนความปลอดภัย จะแจ้งเตือนเมื่อใด

การแจ้งเตือนด้านความปลอดภัย จะแจ้งเตือนเมื่อ

  • เข้าสู่ระบบในอุปกรณ์เครื่องอื่น
  • รหัสผ่านถูกระงับ
  • มีการเปลี่ยนรหัสผ่าน
  • มีการเริ่มใช้งานในอุปกรณ์เครื่องอื่น
  • มีการเปิดใช้งานการ “โอนเงินผ่านเบอร์มือถือเอ็มเเบงก์กิ้ง”


5. การแจ้งเตือนด้านบัญชี จะแจ้งเตือนอะไรบ้าง

  • แจ้งเตือนยอดเงินคงเหลือรายสัปดาห์ โดยสามารถเลือกวันของสัปดาห์ในการแจ้งเตือนได้
  • แจ้งเตือนเมื่อยอดเงินคงเหลือต่ำกว่าหรือสูงกว่ากำหนด
  • แจ้งเตือนเมื่อจำนวนเงินเข้าหรือออกจากบัญชีถึงตามที่กำหนด


6. แพ็กเกจในการสมัครบริการด้านบัญชี (Account Alert Plus) ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ มีอะไรบ้าง

  • รับการแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชัน (Push Notification) อีเมล และ SMS (ค่าธรรมเนียม 15 บาท/เดือน/บัญชี)
  • รับการแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชัน (Push Notification) และอีเมล (ค่าธรรมเนียม 10 บาท/เดือน/บัญชี)


7. สามารถเปลี่ยนแพ็กเกจ / ยกเลิกการแจ้งเตือนด้านบัญชีได้หรือไม่

ได้ โดยเข้าไปที่หน้าจอ “จัดการการแจ้งเตือน”

บริการเตือนเพื่อจ่าย

1. บริการเตือนเพื่อจ่าย คืออะไร

บริการเตือนเพื่อจ่าย คือ บริการที่อำนวยความสะดวกให้คุณสามารถส่งข้อความแจ้งเตือนเพื่อเรียกเก็บเงิน พร้อมทั้งรับรายการเรียกเก็บเงินจากผู้อื่นได้อีกด้วย


2. จะใช้บริการเตือนเพื่อจ่ายได้อย่างไร 

ผู้ส่งและผู้รับเงินต้องสมัครบริการพร้อมเพย์ก่อน จากนั้นเลือก “เปิดใช้บริการ” เตือนเพื่อจ่าย เพื่อส่ง-รับ ข้อความแจ้งเตือน ผ่านพร้อมเพย์ ช่วยโอนเงินได้สะดวก และง่ายขึ้น


3. เปิดใช้บริการเตือนเพื่อจ่าย ได้อย่างไร

เลือก “พร้อมเพย์” และเปิดใช้การเรียกเก็บเงินในแต่ละหมายเลขพร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนกับธนาคารกรุงเทพ เช่น เลขประจำตัวประชาชน และ / หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือ


4. เมื่อส่งรายการเรียกเก็บเงินแล้ว สามารถยกเลิกได้หรือไม่

ไม่ได้ เมื่อกด “ยืนยัน” แล้ว ธนาคารจะดำเนินการส่งรายการเรียกเก็บทันที


5. ดูรายการเรียกเก็บเงินจากผู้อื่นได้อย่างไร

ในหน้าแรกของโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ จะปรากฎกล่องข้อความแจ้งเตือนหากคุณมีรายการเรียกเก็บเงิน

แรบบิท ไลน์ เพย์

1. ผูกบัญชีแรบบิท ไลน์ เพย์ กับโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ได้อย่างไร

  • ไปที่เมนู “แรบบิท ไลน์ เพย์” เลือก “ล็อกอินด้วย LINE”
  • ยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ
  • ระบุรหัสผ่าน 6 หลัก และเริ่มใช้งานได้ทันที


2. เมื่อผูกบัญชีแรบบิท ไลน์ เพย์ กับโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ เรียบร้อยแล้ว สามารถใช้งานอะไรได้บ้าง

  • เช็กยอดเงินคงเหลือ และจำนวนเที่ยวเดินทาง
  • เติมเงินแรบบิท ไลน์ เพย์ 
  • ดูประวัติการเดินทาง


3. สามารถยกเลิกการผูกบัญชีได้หรือไม่

ได้ โดยเลือกที่เมนู “ยกเลิกผูกบัญชี”

บริการเวสเทิร์น ยูเนี่ยน

1. สมัครใช้บริการรับเงินผ่านเวสเทิร์น ยูเนี่ยน ได้อย่างไร

  • ไปที่เมนู “เวสเทิร์น ยูเนี่ยน” และเลือก “สมัครใช้บริการ”
  • ยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ
  • ถ่ายภาพเอกสารแสดงตน และระบุข้อมูลให้ครบถ้วน พร้อมทั้งตรวจสอบและยืนยันข้อมูล
  • เลือก“ส่งข้อมูล” เพื่อส่งข้อมูลการสมัครใช้บริการ


2. หากไม่ได้รับเงินเข้าบัญชี ต้องทำอย่างไร

โปรดติดต่อธนาคารทันที หากธนาคารไม่ได้รับการติดต่อกลับจากคุณ จำนวนเงินที่คุณจะได้รับอาจไม่ตรงกับจำนวนเงินที่ผู้ส่งแจ้งไว้เนื่องจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
ในทุกธุรกรรมทางการเงิน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณในทุกธุรกรรมทางการเงิน

คุณกำลังจะออกจากเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ