พันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2

รุ่นอายุ 5 ปี (SB298B) รุ่นอายุ 10 ปี (SB348B) และรุ่นอายุ 10 ปี (SB348C)

สรุปสาระสำคัญ

วันที่จำหน่าย 19 ส.ค. 67– 21 ส.ค. 67

วันที่จำหน่าย 26 ส.ค. 67 – 27 ส.ค. 67

รุ่นอายุ 5 ปี (SB298B)

รุ่นอายุ 10 ปี (SB348B)

รุ่นอายุ 10 ปี (SB348C)

อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่

ร้อยละ 3.00 ต่อปี

อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่

ร้อยละ 3.40 ต่อปี

อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่

ร้อยละ 3.00 ต่อปี

ผู้มีสิทธิ์ซื้อ

บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

 

ผู้มีสิทธิ์ซื้อ

สภากาชาดไทย มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และนิติบุคคลอื่นที่จัดตั้งตามกฎหมายไทย และไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร

วงเงินจองซื้อต่อราย (รวมทุกธนาคาร):


ขั้นต่ำ 1,000 บาท

ไม่จำกัดวงเงินจองซื้อขั้นสูง / ไม่จำกัดจำนวนครั้งที่เข้าซื้อ

วงเงินจองซื้อต่อราย (รวมทุกธนาคาร):


ขั้นต่ำ 1,000 บาท

ไม่จำกัดวงเงินจองซื้อขั้นสูง / ไม่จำกัดจำนวนครั้งที่เข้าซื้อ

วิธีการจัดสรร


Small Lot first (การทยอยจัดสรรพันธบัตรเป็นรอบๆ เวียนจนครบผู้ซื้อทุกราย โดยจัดสรรขั้นต่ำ 1,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 1,000 บาท) ในกรณีที่วงเงินพันธบัตรที่จะจัดสรรในรอบสุดท้ายไม่เพียงพอที่จะจัดสรรให้ผู้จองซื้อทุกราย จะใช้วิธีการสุ่ม (Random) โดยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อจัดสรรพันธบัตรในรอบสุดท้ายให้แก่ผู้จองซื้อจนครบวงเงินจำหน่าย ทั้งนี้ ผู้จองซื้อต้องชำระค่าจองซื้อพันธบัตรทันที โดยจะประกาศผลการจัดสรรพันธบัตรภายในวันที่ 22 ส.ค. 67 กรณีไม่ได้รับการจัดสรร เนื่องจากผิดเงื่อนไขหรือได้รับจัดสรรไม่ครบตามวงเงินที่จองซื้อ ลูกค้าจะได้รับเงินส่วนที่ไม่ได้รับการจัดสรรคืนภายในวันที่ 22 ส.ค. 67 โดยไม่มีดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนใดๆ

 

วิธีการจัดสรร


First-Come, First-Served (มาก่อนได้รับสิทธิ์ก่อน) หากวงเงินจำหน่ายคงเหลือน้อยกว่าวงเงินที่ซื้อ ลูกค้าจะไม่ได้รับการจัดสรรและจะได้รับเงินคืนทั้งจำนวน โดยไม่มีดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนใดๆ

วันที่เริ่มนับดอกเบี้ยงวดแรก


22 ส.ค. 67

วันที่เริ่มนับดอกเบี้ยงวดแรก


ตั้งแต่วันที่ชำระเงินสมบูรณ์ กรณีชำระด้วยเช็ค ดอกเบี้ยจะเริ่มนับในวันทำการที่ทราบผลว่าเช็คสามารถเรียกเก็บได้

วันจ่ายดอกเบี้ย


22 ก.พ. / 22 พ.ค. / 22 ส.ค. / 22 พ.ย. ของทุกปี

(ดอกเบี้ยงวดแรก 22 พ.ย. 67)

วันจ่ายดอกเบี้ย


26 ก.พ. / 26 ส.ค. ของทุกปี

(ดอกเบี้ยงวดแรก 26 ก.พ. 68)

ช่องทาง / เวลาจำหน่าย:


  1. สาขาธนาคารกรุงเทพ:
    ตามเวลาเปิด - ปิดทำการของสาขา โดยในวันสุดท้าย (21 ส.ค. 67) ปิดรับจองซื้อ 15.00 น.
  2. โมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ / อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ:
    ตั้งแต่เวลา 08.30 น. ของวันที่ 19 ส.ค. 67 ถึง 15.00 น. ของวันที่ 21 ส.ค. 67

 

ช่องทาง / เวลาจำหน่าย:


สาขาธนาคารกรุงเทพ:
ตามเวลาเปิด-ปิดทำการของสาขา โดยในวันสุดท้าย (27 ส.ค. 67) ปิดรับจองซื้อ 15.00 น. (หรือจนกว่าจะเต็มวงเงินจัดจำหน่าย)

การชำระเงิน


กรณีซื้อผ่านเคาน์เตอร์สาขา

  • ชำระด้วยเงินสดหรือหักบัญชีเงินฝาก
  • ชำระด้วยเช็ค
  • สั่งจ่าย
    "บัญชีจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง รุ่นอายุ 5 ปี (SB298B)"
    “บัญชีจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง รุ่นอายุ 10 ปี (SB348B)”
  • ลงวันที่ไม่เกินวันที่ซื้อ (ไม่รับชำระด้วยเช็คในวันที่ 21 ส.ค. 67)
  • เรียกเก็บได้ในสำนักหักบัญชีเดียวกับสาขาที่รับชำระเงินค่าพันธบัตร

กรณีซื้อผ่านโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ / อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ

  • หักเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้จองซื้อทันที เมื่อสิ้นสุดการทำรายการ

การชำระเงิน


  • ชำระด้วยเงินสดหรือหักบัญชีเงินฝาก
  • ชำระด้วยเช็ค
  • สั่งจ่าย
    “บัญชีจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง รุ่นอายุ 10 ปี (SB348C)”
  • ลงวันที่ไม่เกินวันที่ซื้อ (ไม่รับชำระด้วยเช็คในวันที่ 27 ส.ค. 67)
  • เรียกเก็บได้ในสำนักหักบัญชีเดียวกับสาขาที่รับชำระเงินค่าพันธบัตร



พันธบัตรออมทรัพย์รุ่นนี้เป็นแบบไร้ใบตราสาร ผู้ซื้อจะต้องลงทะเบียนก่อนการซื้อ ซึ่งธนาคารกรุงเทพเปิดให้ผู้สนใจลงทะเบียนเพื่อขอมีเลขที่ผู้ถือพันธบัตรได้ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา และโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ สำหรับลูกค้าที่เคยลงทะเบียนเพื่อซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง แบบไร้ใบตราสาร กับธนาคารกรุงเทพไว้แล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ สามารถใช้เลขที่ผู้ถือพันธบัตรเดิมซื้อพันธบัตรรุ่นนี้ได้

ข้อมูลเพิ่มเติม

การลงทะเบียนและการฝากหลักทรัพย์

ผู้จองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์แบบไร้ใบตราสาร (Scripless) รายใหม่ที่ไม่เคยลงทะเบียนและเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์มาก่อน ผู้จองซื้อสามารถลงทะเบียนได้ทุกวันทำการที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา เพื่อฝากพันธบัตรไว้กับธนาคารกรุงเทพ โดยธนาคารกรุงเทพจะนำฝากพันธบัตรของผู้ถือกรรมสิทธิ์ภายใต้บัญชีฝากหลักทรัพย์ของธนาคารเพื่อลูกค้า ที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ทั้งนี้ ชื่อเจ้าของพันธบัตรที่ลงทะเบียนจะต้องตรงกันกับชื่อเจ้าของบัญชีเงินฝากเพื่อรับโอนดอกเบี้ยและต้นเงิน


ใช้หลักฐานดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง (กรณีบุคคลธรรมดา) หรือเอกสารหลักฐานการแสดงตนที่ออกโดยหน่วยงานราชการ (กรณีนิติบุคคล) และสำเนาเอกสารดังกล่าว พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สมุดบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) เพื่อรับเงินค่าดอกเบี้ยและต้นเงินพันธบัตรของผู้ซื้อที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคารกรุงเทพพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ในกรณีที่ไม่มีบัญชีเงินฝาก ผู้ซื้อต้องเปิดบัญชีใหม่

 

กรณีผู้ซื้อประสงค์ซื้อพันธบัตรผ่านโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ

  • ผู้ซื้อที่มีเลขที่ผู้ถือพันธบัตร (890-x-xxxxx-x) ที่ผูกบนโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพแล้ว สามารถใช้เลขที่ผู้ถือพันธบัตรเดิมซื้อพันธบัตรรุ่นนี้ได้ ผ่านโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ
  • ผู้ซื้อที่มีเลขที่ผู้ถือพันธบัตร (890-x-xxxxx-x) แต่ยังไม่ได้ผูกเลขที่ผู้ถือพันธบัตรบนโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ สามารถนำเลขที่ผู้ถือพันธบัตรเดิมมาผูกบนโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพได้ด้วยตนเอง
  • ผู้ซื้อที่ยังไม่มีเลขผู้ถือพันธบัตร (890-x-xxxxx-x) สามารถลงทะเบียนเพื่อขอมีเลขที่ผู้ถือพันธบัตรได้ผ่านโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ โดยระบบจะผูกบัญชีพันธบัตรให้โดยอัตโนมัติ

 

กรณีผู้ซื้อประสงค์ซื้อพันธบัตรผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ

  • ผู้ซื้อที่มีเลขที่ผู้ถือพันธบัตร (890-x-xxxxx-x) ที่ผูกบนโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ หรืออินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพแล้ว สามารถใช้เลขที่ผู้ถือพันธบัตรเดิมซื้อพันธบัตรรุ่นนี้ได้ ผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ
  • ผู้ซื้อที่มีเลขที่ผู้ถือพันธบัตร (890-x-xxxxx-x) แต่ยังไม่ได้ผูกเลขที่ผู้ถือพันธบัตรบนอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ สามารถนำเลขที่ผู้ถือพันธบัตรเดิมมาผูกบนอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพได้ด้วยตนเอง
  • ผู้ซื้อที่ยังไม่มีเลขผู้ถือพันธบัตร (890-x-xxxxx-x) สามารถลงทะเบียนเพื่อขอมีเลขที่ผู้ถือพันธบัตรได้ที่โมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ โดยระบบจะผูกบัญชีพันธบัตรให้โดยอัตโนมัติ หรือติดต่อธนาคารกรุงเทพทุกสาขา เพื่อขอมีเลขที่ผู้ถือพันธบัตร จากนั้นนำเลขที่ผู้ถือพันธบัตรมาผูกบนอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพได้ด้วยตนเอง
    หลักฐานที่ได้รับจากการซื้อพันธบัตร
    สมุดพันธบัตรรัฐบาลที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับพันธบัตร โดยมีข้อกำหนดและเงื่อนไขดังนี้

    • ถือกรรมสิทธิ์สามารถนำไปใช้อ้างอิงสำหรับการทำธุรกรรมได้
    • ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถนำสมุดพันธบัตรไปปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันผ่านสาขา หรือเครื่องปรับสมุดอัตโนมัติของธนาคารกรุงเทพ ดังนี้

      • บุคคลธรรมดา: ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป
      • นิติบุคคล: หลังวันทำรายการซื้อ 2 วันทำการ

    • รายการที่ปรากฏอยู่ในสมุดพันธบัตร เป็นรายการที่แสดงมูลค่าตามราคาตรา (Par Value) ในวันที่จดทะเบียน และ/หรือมูลค่าตามราคาตลาดของธนาคารกรุงเทพในวันทำรายการ
    • รายการที่ปรากฏในสมุดพันธบัตร จะถือว่าถูกต้องเมื่อรายการดังกล่าวตรงกันกับรายการที่บันทึกไว้ที่ธนาคารกรุงเทพ
    • รายการที่อยู่ในสมุดพันธบัตร จะปรากฏเฉพาะพันธบัตรที่เป็นรุ่นไร้ใบตราสาร ที่ซื้อผ่านธนาคารกรุงเทพ

    ทั้งนี้ ผู้ซื้อที่เคยซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง แบบไร้ใบตราสาร และเคยได้รับสมุดพันธบัตรรัฐบาลจากธนาคารกรุงเทพแล้ว สามารถใช้สมุดพันธบัตรเล่มเดิมเพื่อซื้อ พันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2 ได้
    การประกาศผลการจัดสรร
    สำหรับพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2 รุ่นอายุ 5 ปี (SB298B) และรุ่นอายุ 10 ปี (SB348B) ผู้ซื้อสามารถทราบภาพรวมการจัดสรรพันธบัตรแบบยอดรวมสูงสุดต่อคน ได้ที่เว็บไซต์ ธปท. และตรวจสอบผลการจัดสรรพันธบัตรที่จองซื้อผ่านธนาคารกรุงเทพ ได้ที่ เว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2567

    ทั้งนี้ ธนาคารจะส่ง SMS แจ้งผลการจัดสรรและการคืนเงินให้ลูกค้าทราบภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2567 กรณีไม่ได้รับจัดสรรพันธบัตรเนื่องจากผิดเงื่อนไข หรือได้รับจัดสรรไม่ครบตามวงเงินที่จองซื้อ ธนาคารจะคืนเงินค่าจองซื้อพันธบัตรในส่วนที่ไม่ได้รับการจัดสรรให้ผู้จองซื้อ โดยไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนอื่นใด ภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2567
    การเปลี่ยนแปลงชื่อที่อยู่ บัญชีรับดอกเบี้ย และต้นเงิน
    ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถแจ้งการเปลี่ยนแปลงฯ ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา
    ธุรกรรมหลังการซื้อพันธบัตรของผู้ถือกรรมสิทธิ์
    การโอนกรรมสิทธิ์
    รุ่นอายุ 5 ปี (SB298B) และรุ่นอายุ 10 ปี (SB348B) ทำได้ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นไป และรุ่นอายุ 10 ปี (SB348C) ทำได้ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นไป ยกเว้น การโอนทางมรดก การแบ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการหย่า การล้มละลาย การชำระบัญชี การจำนำสิทธิในพันธบัตรเพื่อเป็นหลักประกัน ให้ทำได้หลังจากวันที่ได้รับจัดสรรพันธบัตรแล้ว 2 วันทำการ ทั้งนี้ การโอนกรรมสิทธิ์และการจำนำสิทธิในพันธบัตรเพื่อเป็นหลักประกัน ไม่สามารถกระทำได้ตั้งแต่วันปิดสมุดทะเบียน เพื่อจ่ายคืนเงินต้นตามที่ ธปท. ประกาศกำหนด

    การโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร สามารถทำได้โดยอาจเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ให้กับลูกค้ารายใหม่ (มีค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์) หรือลูกค้าเดิมภายในกลุ่มผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ซื้อผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่ายเดียวกัน แต่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างธนาคารตัวแทนจำหน่ายได้ โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องนำสมุดพันธบัตรไปติดต่อธนาคารตัวแทนจำหน่ายที่ได้ฝากพันธบัตรไว้

    การใช้พันธบัตรเป็นหลักประกัน
    ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานราชการและองค์กรของรัฐ เช่น การประกันทางศาล หรือการประกันไฟฟ้า และสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงิน หรือบุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระเบียบหลักเกณฑ์การรับหลักประกันของหน่วยงานหรือบุคคลนั้นๆ โดยจะต้องติดต่อธนาคารกรุงเทพ ถอนพันธบัตรจากระบบ Scripless เพื่อขอออกใบพันธบัตร (มีค่าธรรมเนียมการออกใบพันธบัตร)

    ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมภายหลังการซื้อพันธบัตรของผู้ซื้อกรรมสิทธิ์
    ตรวจสอบได้ที่หนังสือชี้ชวนการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2
    ข้อกำหนดอื่นๆ
    • ผู้จองซื้อพันธบัตรจะยกเลิกการจองซื้อและขอเงินคืนไม่ได้
    • ธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะนายทะเบียนพันธบัตร จะโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์หรือกระแสรายวันของผู้ถือพันธบัตรที่ฝากไว้กับธนาคารกรุงเทพตามที่แจ้งไว้ตอนลงทะเบียน
    • หากวันจ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดธนาคาร จะชำระดอกเบี้ยในวันทำการถัดไป
    • ธนาคารแห่งประเทศไทย จะหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการจ่ายดอกเบี้ย ตามอัตราที่ประกาศในประมวลรัษฎากร (บุคคลธรรมดาจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ)
    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือขอรับเอกสารรู้ก่อนซื้อพันธบัตรได้ที่ สาขาธนาคารกรุงเทพ และคอลเซนเตอร์ธนาคารกรุงเทพ โทร. 1333 หรือ 0 2645 5555

    หมายเหตุ: ผู้ลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

    เครื่องมือช่วยเหลือ

    ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
    ในทุกธุรกรรมทางการเงิน

    เครื่องมือช่วยเหลือ

    ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณในทุกธุรกรรมทางการเงิน

    คุณกำลังจะออกจากเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ