จุดเด่นกองทุน

โอกาสการลงทุน

สำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษที่ต้องการลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก เพื่อกระจายการลงทุนในทรัพย์สินประเภทต่างๆ

กลยุทธ์การลงทุน

มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนปลายทาง โดยกองทุนปลายทางมีวัตถุประสงค์สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวจากการลงทุนใน Private Equity

กองทุนปลายทาง

เน้นการลงทุนในบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity) เป็นหลัก ทั้งนี้ อาจจะมีการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ร่วมด้วยก็ได้ เช่น ตราสารหนี้ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (Mezzanine) ตราสารหนี้ภาคเอกชน (Private Debt) อสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชน (Private Real Estate) หรือโครงสร้างพื้นฐาน (Private Infrastructure) เป็นต้น

รายละเอียดกองทุน

ชื่อกองทุน
กองทุนเปิดบีแคป เอเวอร์กรีน ไพรเวท อิควิตี้ ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (BCAP-EPE UI)
ความเสี่ยง
ระดับ 8+ (เสี่ยงสูงมากอย่างมีนัยสำคัญ)
ประเภทกองทุน/กลุ่มกองทุน
  • กองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือก
  • กองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund of Funds)
  • กองทุนรวมที่มีนโยบายเปิดให้มีการลงทุนในกองทุนรวมอื่นภายใต้ บลจ. เดียวกัน (Cross Investing Fund)
  • กองทุนรวมที่เน้นลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศ
  • กลุ่มกองทุน: Miscellaneous
ปัญหาสภาพคล่องหรือข้อจำกัดการโอน
  • กองทุนมีสภาพคล่องจำกัด โดยมีการขายหน่วยลงทุนเป็นรายเดือน และรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเป็นรายไตรมาส ซึ่งผู้ลงทุนต้องแจ้งล่วงหน้า ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาประกาศวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนตามที่บริษัทจัดการกำหนดโดยละเอียด ก่อนตัดสินใจลงทุน
  • กองทุนปลายทางอาจมีข้อจำกัดการไถ่ถอนหน่วยลงทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุน รวมถึงอาจไม่ได้รับเงินค่าขายคืนหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
  • ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่สามารถโอนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนี้ให้แก่ผู้ลงทุนอื่นที่มิใช่ “ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” ได้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก และ/หรือ ในกรณีพิเศษอื่นๆ ที่บริษัทจัดการเห็นสมควรและอนุมัติให้โอนได้
ความเสี่ยงหรือความซับซ้อนที่สำคัญ
กองทุนปลายทางเน้นการลงทุนในบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (“Private Equity”) เป็นหลักจึงทำให้อาจมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทั่วไปของการลงทุนนั้นๆ รวมถึงข้อมูลด้านการกำหนดราคา (Valuation) อีกทั้งโดยปกติแล้วจะไม่มีตลาดรองสำหรับการลงทุนใน Private Equity ทำให้ไม่สามารถหาหลักทรัพย์ที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์มาเทียบเคียงการกำหนดราคาได้ ดังนั้น การกำหนดราคาสำหรับการลงทุนของกองทุนปลายทางอาจต้องพึ่งพิงข้อมูลที่มีอยู่อย่างจำกัด นอกจากนี้การลงทุนใน Private Equity มีข้อจำกัดด้านสภาพคล่องสูง การลงทุนประเภทต่างๆ ของกองทุนปลายทางจึงอาจเป็นการลงทุนที่ต้องอาศัยระยะเวลานานในการจำหน่ายทรัพย์สินที่กองทุนได้มีการเข้าไปลงทุน ทำให้มีความเสี่ยงจากการที่กองทุนไม่สามารถแปลงทรัพย์สินเป็นเงินสดและนำเงินลงทุนมาชำระคืนให้กับนักลงทุนได้ภายในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
นโยบายการลงทุน
  • กองทุนมีนโยบายลงทุนในกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งกองทุนดังกล่าวอาจจัดตั้งในรูปแบบ กองทุน ห้างหุ้นส่วน บริษัท ทรัสต์ หรือ โครงการจัดการลงทุน (Collective Investment Scheme (CIS) รูปแบบอื่นใดก็ได้ (“กองทุนปลายทาง”) โดยกองทุนปลายทางที่กองทุนจะลงทุนจะเน้นการลงทุนในบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (“Private Equity”) เป็นหลัก ทั้งนี้ อาจจะมีการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ร่วมด้วยก็ได้ เช่น ตราสารหนี้ ตราสาร กึ่งหนี้กึ่งทุน (Mezzanine) ตราสารหนี้ภาคเอกชน (Private Debt) อสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชน (Private Real Estate) หรือโครงสร้างพื้นฐาน (Private Infrastructure) เป็นต้น
  • กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivative) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient Portfolio Management) และเพื่อการลดความเสี่ยง (Hedging) รวมถึงตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนได้ไม่เกินร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และ/หรืออาจเข้าทำธุรกรรมการกู้ยืม และ/หรือการทำ Repo เพื่อประโยชน์ในการลงทุนรวมกันไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และ/หรือลงทุนในหน่วย Private Equity ไม่เกินร้อยละ 150 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน แต่กองทุนจะไม่ทำรายการขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ (Short Sale)
  • กองทุนอาจลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการ ในอัตราส่วนไม่เกินร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
  • กลยุทธ์การลงทุนมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนปลายทาง โดยกองทุนปลายทางมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวจากการลงทุนใน Private Equity
การจ่ายเงินปันผล
ไม่มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล
การซื้อและการขายคืนหน่วยลงทุน
วันทำการซื้อ: รายเดือน โดยต้องส่งคำสั่งล่วงหน้าตามตารางใน Factsheet

  • สาขาธนาคารกรุงเทพ
เวลา 08.30 น. - 15.30 น.
เฉพาะช่วงวันที่กำหนดใน Factsheet
  • โมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ
การส่งคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนล่วงหน้า สามารถทำได้
ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของช่วงวันส่งคำสั่งซื้อวันแรก
จนถึง 16.00 น. ของช่วงวันส่งคำสั่งซื้อวันสุดท้าย
ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดวันทำรายการได้จาก Factsheet


วันทำการขายคืน*: รายไตรมาส โดยต้องส่งคำสั่งล่วงหน้าตามตารางใน Factsheet

  • สาขาธนาคารกรุงเทพ
เวลา 08.30 น. - 15.30 น.
เฉพาะช่วงวันที่กำหนดใน Factsheet
  • โมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ
การส่งคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนล่วงหน้า สามารถทำได้
ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของช่วงวันส่งคำสั่งขายวันแรก
จนถึง 16.00 น. ของช่วงวันส่งคำสั่งขายวันสุดท้าย
ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดวันทำรายการได้จาก Factsheet

*บริษัทจัดการจะกำหนดวันทำการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนครั้งแรก หลังจาก 15 เดือนนับตั้งแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมหรือภายในเวลาที่บริษัทจัดการจะกำหนดภายหลัง ซึ่งบริษัทจัดการจะแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทจัดการหรือผ่านช่องทางอื่นใดตามความเหมาะสม
บริษัทจัดการ
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บางกอกแคปปิตอล จำกัด
ผู้ดูแลผลประโยชน์
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
นายทะเบียนฯ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ข้อมูลสำคัญกองทุน

ดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลต่างๆ ของกองทุนเปิดบีแคป เอเวอร์กรีน ไพรเวท อิควิตี้ ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (BCAP-EPE UI)

หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ตารางแสดงวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน

คำเตือน
  • การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น)
  • ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงาน ก่อนตัดสินใจลงทุน
  • กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้นผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • กองทุนนี้มีการลงทุนหรือใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน มีความแตกต่างจากการลงทุนหรือใช้บริการผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนทั่วไป
  • กองทุนนี้ไม่ถูกจำกัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไปจึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น
  • กองทุนนี้สำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษเท่านั้น และเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
ในทุกธุรกรรมทางการเงิน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
ในทุกธุรกรรมทางการเงิน

Maximum 3 products can be compared at the same time.

คุณกำลังจะออกจากเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ