กรณีลงทุนเกินสิทธิประโยชน์ทางภาษี
- เงินลงทุนส่วนที่เกินสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
- กำไรที่ได้จากการขายคืนเงินลงทุนส่วนที่เกินสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะต้องนำไปรวมกับเงินได้อื่นๆ ที่ผู้ลงทุนได้รับในปีภาษีนั้น เพื่อชำระภาษีเงินได้
กรณีใช้สิทธิยกเว้นภาษีแล้วไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
- เสียภาษีเงินได้สำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้ว
- หากมีกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน ผู้ลงทุนต้อง
- เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 โดยคำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้
- นำกำไรไปรวมกับเงินได้อื่นๆ ที่ผู้ลงทุนได้รับในปีภาษีนั้น เพื่อชำระภาษีเงินได้
- ชำระเงินเพิ่มให้แก่กรมสรรพากรในอัตราร้อยละ 1.50 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องนำส่ง แต่ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระ โดยเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการหรือนำส่งภาษีของปีที่ผู้ลงทุนยื่นขอยกเว้นภาษีต่อปีที่ต้องเสียภาษี จนถึงวันชำระหรือนำส่งภาษีเพิ่มเติม ดังนั้น ผู้ลงทุนควรดำเนินการชำระโดยเร็ว
เงื่อนไขตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 ไม่รวมกรณีขายคืนหน่วยลงทุนเพราะทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG)