จุดเด่นพันธบัตรออมทรัพย์ตลาดรอง

อีกทางเลือกหนึ่งในการลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ตลาดรอง มีความเสี่ยงต่ำและมีโอกาสในการได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอ พร้อมบริการรับซื้อก่อนครบกำหนด

ทางเลือกสำหรับนักลงทุน

บริการครบวงจรด้านพันธบัตรออมทรัพย์ ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง

มีสภาพคล่อง

พันธบัตรรัฐบาลมีสภาพคล่องสูง อีกทั้งยังสามารถใช้บริหารสภาพคล่องพอร์ทลงทุนได้

ความเสี่ยงต่ำ

ความเสี่ยงต่ำกว่าตราสารหนี้ประเภทอื่น เนื่องจากผู้ออกเป็นรัฐบาล ธปท. หรือรัฐวิสาหกิจ

การลงทุน

ราคาพันธบัตรออมทรัพย์ตลาดรอง

เช็กราคาและรุ่นพันธบัตรออมทรัพย์ในตลาดรองได้ผ่านเว็บไซด์ธนาคาร

ขั้นตอนการซื้อ-ขายผ่านโมบายแบงก์กิ้ง

1.

เลือกเมนู “การลงทุน”

2.

ระบุรหัสผ่าน 6 หลัก หรือใช้ Touch ID / Face ID / Fingerprint

3.

เลือก “ค้นหาพันธบัตรรัฐบาล”

4.

เลือก “เปิดบัญชี”

5.

อ่านเงื่อนไขการใช้บริการ และเลือก “ยอมรับ”

6.

อ่านหนังสือแสดงความประสงค์เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล เลือก “ยินยอม” หรือ “ไม่ยินยอม” จากนั้นเลือก “ยืนยัน”

7.

ให้ความยินยอมการใช้ข้อมูลใบหน้า (PDPA)

8.

ระบุข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วนและถูกต้อง และเลือก “ต่อไป”

9.

เลือกบัญชีรับเงิน / คืนเงิน และกด “ต่อไป”

10.

ตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วนและถูกต้อง และเลือก “ต่อไป”

11.

ถ่ายภาพใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน

12.

เมื่อทำรายการสำเร็จ คุณจะได้รับอีเมลยืนยันการทำรายการเปิดบัญชีซื้อขายพันธบัตรสำเร็จ

1.

เลือกเมนู “การลงทุน”

2.

ระบุรหัสผ่าน 6 หลัก หรือใช้ Touch ID / Face ID / Fingerprint

3.

เลือก “พันธบัตรรัฐบาล”

4.

ระบบจะแสดงการ์ดพันธบัตรที่เปิดจำหน่ายในตลาดแรกและตลาดรอง และเมื่อเลือก “แสดงทั้งหมด” ระบบจะแสดงพันธบัตรที่ลูกค้ามีในบัญชีทั้งหมด

5.

หากสนใจซื้อ/ขายพันธบัตรรุ่นอื่น สามารถเลื่อนหน้าจอลงมาด้านล่าง แล้วเลือกที่แบนเนอร์เพื่อดูตารางราคาพันธบัตรตลาดรองบนเว็บไซต์ธนาคาร

6.

เลือกพันธบัตรที่ต้องการซื้อ และเลือก “ซื้อ”

7.

อ่านเงื่อนไขการใช้บริการ และเลือก “ยอมรับ”

8.

ระบุจำนวนหน่วยลงทุนที่ต้องการซื้อ แล้วเลือก “ต่อไป”

9.

ตรวจสอบรายละเอียดให้ถูกต้อง และเลือก “ยืนยัน” ภายใน 60 วินาที

10.

เมื่อทำรายการสำเร็จ คุณจะได้รับสลิปเป็นหลักฐาน

หมายเหตุ: พันธบัตรที่ซื้อจะถูกนำเข้าบัญชีลูกค้าทันทีหลังจากทำรายการซื้อสำเร็จ

1.

เลือกเมนู “การลงทุน”

2.

ระบุรหัสผ่าน 6 หลัก หรือใช้ Touch ID / Face ID / Fingerprint

3.

เลือก “พันธบัตรรัฐบาล”

4.

เลือก “พันธบัตรของฉัน”

5.

หากมีพันธบัตรที่ทางธนาคารรับซื้อ และลูกค้ายังมีหน่วยเหลืออยู่ ระบบจะแสดงปุ่ม “ขาย” ขึ้นมา จากนั้นเลือก “ขาย”

6.

เลือก “ขาย”

7.

อ่านเงื่อนไขการใช้บริการ และเลือก “ยอมรับ”

8.

ระบุจำนวนหน่วยลงทุนที่ต้องการขาย แล้วเลือก “ต่อไป”

9.

ตรวจสอบรายละเอียดให้ถูกต้อง และกด “ยืนยัน” ภายใน 60 วินาที

10.

เมื่อทำรายการสำเร็จ คุณจะได้รับสลิปยืนยันการทำการรายสำเร็จ
หมายเหตุ:
  • ลูกค้าจะได้รับเงินค่าขายพันธบัตรแบบ Bond Book ใน 2 วันทำการภายหลังจากทำรายการขาย (T+2)
  • หากมีกำไรจากการขาย ระบบจะหักภาษี ณ ที่จ่ายอัตโนมัติ

วิธีการซื้อขายพันธบัตรออมทรัพย์ตลาดรองผ่านสาขาธนาคาร

ข้อมูลเพิ่มเติม

ภาระภาษี

ผู้ลงทุนบุคคลธรรมดา

  • ผลตอบแทนจากดอกเบี้ย จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
  • กำไรที่เกิดจากการขาย จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
  • กรณีซื้อพันธบัตรที่ราคาซื้อต่ำกว่าราคาที่ระบุไว้หน้าตั๋ว แต่ไถ่ถอนเมื่อครบกำหนดด้วยราคาที่ระบุไว้บนตั๋ว(Discount bond) ส่วนลดที่ได้รับจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย15%

ผู้ลงทุนนิติบุคคล
  • ผลตอบแทนจากดอกเบี้ย จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% และให้นำไปรวมกับการคำนวณกำไรสุทธิด้วย
  • ผลตอบแทนจากส่วนลด จะไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ต้องนำไปรวมกับการคำนวณกำไรสุทธิด้วย
  • กำไรที่เกิดจากการขาย จะไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ต้องนำไปรวมกับการคำนวณกำไรสุทธิด้วย
ความเสี่ยงจากการลงทุน
การลงทุนในตราสารหนี้ ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากการลงทุน ได้แก่

ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในตลาด เนื่องจากราคาของตราสารหนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด ดังนั้น เมื่อนักลงทุนต้องการขายตราสารหนี้ก่อนครบกำหนด หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดในขณะที่จะขายสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ที่ถืออยู่นักลงทุนอาจต้องยอมขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตรา

ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ หรือไม่สามารถชำระหนี้เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้ผิดนัดชำระ หรือไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงจากการถูกลดความน่าเชื่อถือในระหว่างที่ตราสารหนี้ยังไม่ครบกำหนดไถ่ถอน ตราสารหนี้ภาครัฐถือว่าเป็นตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงชนิดนี้ต่ำมาก ดังนั้นอัตราผลตอบแทนที่ได้รับจึงมักต่ำกว่าตราสารหนี้ภาคเอกชน
คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษา และทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
สอบถามเพิ่มเติมโทร. 1333 หรือ 0 2645 5555

คำถาม – คำตอบเกี่ยวกับพันธบัตรออมทรัพย์ตลาดรอง

1. สามารถซื้อ-ขายพันธบัตรออมทรัพย์ตลาดรองกับธนาคารกรุงเทพผ่านช่องทางใดได้บ้าง

ลูกค้าขายพันธบัตรออมทรัพย์

ลูกค้าซื้อพันธบัตรออมทรัพย์

  • โมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ
  • ธนาคารกรุงเทพทุกสาขาทั่วประเทศ ยกเว้นสาขาไมโคร
  • โมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ


 


โดยสามารถทำรายการได้ในวันทำการ ตั้งแต่เวลา 8.30-16.00 น.

2. ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการเตรียมซื้อ-ขายพันธบัตรออมทรัพย์ตลาดรองกับธนาคารกรุงเทพ
3. ซื้อ-ขายพันธบัตรออมทรัพย์ตลาดรองผ่านโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพแล้วได้หลักฐานยืนยันอะไรบ้าง
จะได้รับอีเมลยืนยันการทำรายการ และสลิปทำรายการที่บันทึกลงในโทรศัพท์
4. สามารถขายพันธบัตรออมทรัพย์ก่อนครบกำหนดได้หรือไม่
ได้ โดยสามารถขายพันธบัตรออมทรัพย์ตลาดรอง ที่สาขาธนาคารกรุงเทพ (ยกเว้นสาขาไมโคร) หรือผ่านโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ
5. ขายพันธบัตรออมทรัพย์บางส่วนได้หรือไม่
สามารถขายพันธบัตรออมทรัพย์บางส่วนได้ โดยธนาคารรับซื้อขั้นต่ำ 1 หน่วย (1,000 บาท)
6. ต้องเสียภาษีหรือไม่ คิดภาษีอย่างไร

ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา

  • ผลตอบแทนจากดอกเบี้ย จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
  • กำไรที่เกิดจากการขาย จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% โดยเมื่อธนาคารได้รับคำสั่งขายพันธบัตรจากผู้ขอ ธนาคารจะใช้วิธีการ FIFO (First In, First Out) ในการขายพันธบัตร กล่าวคือ พันธบัตรที่ซื้อ ฝาก หรือโอนเข้าบัญชีพันธบัตรรัฐบาลมาก่อน จะถูกขายออกไปก่อน โดยต้นทุนของพันธบัตรในส่วนที่ตัดขายในแต่ละครั้ง จะนำไปคำนวณส่วนต่างที่ได้รับจากการขาย

ผู้ลงทุนที่เป็นนิติบุคคล

  • ผลตอบแทนจากดอกเบี้ย จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% และให้นำไปรวมกับการคำนวณกำไรสุทธิด้วย
  • ผลตอบแทนจากส่วนลด จะไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ต้องนำไปรวมกับการคำนวณกำไรสุทธิด้วย
  • กำไรที่เกิดจากการขาย จะไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ต้องนำไปรวมกับการคำนวณกำไรสุทธิด้วย
7. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะได้รับอย่างไร
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะถูกจัดส่งไปตามที่อยู่ที่ลงทะเบียนไว้ผ่านทางไปรษณีย์
8. การรับและชำระเงินจากการซื้อ-ขายพันธบัตรออมทรัพย์ตลาดรอง

 

ลูกค้าขายพันธบัตรออมทรัพย์

ลูกค้าซื้อพันธบัตรออมทรัพย์

พันธบัตรออมทรัพย์แบบมีสมุดพันธบัตร (Bond Book)

  • จะได้รับเงินใน 2 วันทำการภายหลังจากวันทำรายการขาย (T+2)
  • จะต้องชำระเงินค่าซื้อพันธบัตรในวันที่ทำรายการซื้อ (T+0)

พันธบัตรแบบมีใบพันธบัตร

  • สาขาในเขตกทม.และปริมณฑล จะได้รับเงินภายใน 3 วันทำการ หลังจากวันทำรายการขายที่สาขา (T+3)

     

  • สาขาต่างจังหวัด จะได้รับเงินภายใน 5 วันทำการ หลังจากวันทำรายการขายที่สาขา (T+5)

 


9. เมื่อพันธบัตรออมทรัพย์ครบกำหนดจะได้รับคืนเงินต้นอย่างไร
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะโอนดอกเบี้ยและเงินต้นเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ถือกรรมสิทธิในวันที่พันธบัตรออมทรัพย์ครบกำหนด หากวันครบกำหนดไถ่ถอนตรงกับวันหยุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เลื่อนวันครบกำหนดไถ่ถอนเป็นวันทำการถัดไป
10. การรับดอกเบี้ยของพันธบัตรออมทรัพย์ ผู้ถือพันธบัตรจะได้รับดอกเบี้ยอย่างไร
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ถือกรรมสิทธิ์ในวันจ่ายดอกเบี้ย หากวันจ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เลื่อนวันจ่ายดอกเบี้ยเป็นวันทำการถัดไป
11. สามารถถอนใบพันธบัตร (Scrip)ได้หรือไม่
สามารถออกเป็นใบพันธบัตรได้ โดยมีค่าธรรมเนียมในการออกใบพันธบัตร ทั้งนี้สามารถตรวจสอบค่าธรรมเนียมพันธบัตรตลาดรองได้ ที่นี่
12. หากไม่ได้ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์กับธนาคารกรุงเทพ สามารถขายพันธบัตรกับธนาคารกรุงเทพได้หรือไม่
กรณีซื้อพันธบัตรออมทรัพย์แบบมีสมุดพันธบัตร (Bond Book) จากธนาคารอื่น คุณจะต้องถอนเป็นใบพันธบัตร (Scrip) ก่อน จึงจะนำมาขายกับธนาคารกรุงเทพได้
13. สามารถโอนพันธบัตรให้กับบุคคลอื่นได้หรือไม่

สามารถโอนพันธบัตรให้กับบุคคลอื่นได้ โดยติดต่อผ่านสาขาของธนาคารกรุงเทพ(ยกเว้นสาขาไมโคร) ในวันและเวลาทำการของสาขา แต่ไม่เกิน 16.00 น. โดยใช้เอกสาร ดังนี้

บุคคลธรรมดา

นิติบุคคล

  • สมุดพันธบัตร (Bond Book) ของผู้โอนและผู้รับโอน
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้โอนและผู้รับโอน

 

  • สมุดพันธบัตร (Bond Book)
  • สําเนาหนังสือรับรองของสํานักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกระทรวงพาณิชย์ไม่เกิน 1 เดือนหรือ หนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการ
  • สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอํานาจลงนามของนิติบุคคล
  • หนังสือมอบอำนาจให้มาดำเนินการโอนพันธบัตร (กรณีกรรมการไม่ได้มาด้วยตนเอง)
  • รายงานการประชุม

14. มอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการขายพันธบัตรออมทรัพย์แทนที่สาขาได้หรือไม่

บุคคลธรรมดา

  • ไม่สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการขายพันธบัตรแทนได้

นิติบุคคล

  • สามารถมอบอำนาจได้ โดยติดต่อสาขาที่ซื้อพันธบัตรไว้ในครั้งแรก เพื่อเปลี่ยนชื่อผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท
15. กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรออมทรัพย์เสียชีวิตจะต้องทำอย่างไร

กรณีพันธบัตรแบบมีสมุดพันธบัตรออมทรัพย์ (Bond Book) ใช้เอกสารและเงื่อนไข อ้างอิง “เจ้าของบัญชีถึงแก่กรรม”

กรณีพันธบัตรแบบมีใบพันธบัตร (Scrip) ผู้จัดการมรดกต้องติดต่อธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อทำเรื่องรับโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตร โดยใช้เอกสาร ดังนี้

  • คำสั่งศาล
  • คำสั่งสิ้นสุด
  • บัตรประจำตัวประชาชนผู้จัดการมรดก
  • สมุดเงินฝากเพื่อรับเงินค่าดอกเบี้ยและเงินต้นของผู้จัดการมรดก

เมื่อรับโอนกรรมสิทธิ์เรียบร้อยแล้วจึงมาดำเนินการขายพันธบัตรที่สาขา

เลือกผลิตภัณฑ์ลงทุนที่เหมาะกับคุณ

พันธบัตรตลาดแรก

ลงทุนในพันธบัตรที่ออกขายเป็นครั้งแรกในตลาด ซึ่งผู้ออกพันธบัตร อาทิเช่น รัฐบาล, ธนาคารแห่งประเทศไทย และรัฐวิสาหกิจ โดยนักลงทุนสามารถจองซื้อได้ในช่วงเวลาเสนอขายที่ผู้ออกพันธบัตรเป็นผู้กำหนด

หุ้นกู้ตลาดแรก

ตราสารหนี้ระยะยาวที่ออกโดยบริษัทเอกชน เพื่อระดมเงินจากนักลงทุนไปใช้ในการดำเนินกิจการ หุ้นกู้เป็นตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตร เนื่องจากมีความเสี่ยงในด้านผู้ออกมากกว่า

ตราสารหนี้ตลาดรอง

ทางเลือกในการซื้อตราสารหนี้ก่อนครบกำหนดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารพอร์ตลงทุนของคุณ

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
ในทุกธุรกรรมทางการเงิน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณในทุกธุรกรรมทางการเงิน

คุณกำลังจะออกจากเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ