จุดเด่นพันธบัตรตลาดแรก

เป็นการลงทุนในพันธบัตรที่ออกขายเป็นครั้งแรกในตลาด ซึ่งผู้ออกพันธบัตร อาทิเช่น รัฐบาล, ธนาคารแห่งประเทศไทย และ รัฐวิสาหกิจ โดยนักลงทุนสามารถจองซื้อได้ในช่วงเวลาเสนอขายที่ผู้ออกพันธบัตรเป็นผู้กำหนด

มีความเสี่ยงต่ำ

เพราะผู้ออกคือรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ

ได้รับกระแสเงินสด

ที่มีความสม่ำเสมอ ทั้งจำนวน และระยะเวลาที่ได้รับ

กระจายความเสี่ยง

ในการลงทุน ผู้ลงทุนสามารถบริหารการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พันธบัตรรัฐบาล

พันธบัตรออมทรัพย์
เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานภาครัฐ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อมุ่งขายให้แก่บุคคลธรรมดา และหรือสถาบันที่ไม่มุ่งหวังกำไร เพื่อเป็นทางเลือกในการออมและการลงทุน ปัจจุบันมีการออกพันธบัตรในรูปแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) ซึ่งผู้ถือพันธบัตรจะได้รับสมุดพันธบัตรเป็นหลักฐาน และเมื่อถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน ผู้ถือพันธบัตรจะได้รับดอกเบี้ยและต้นเงินคืนโดยอัตโนมัติผ่านบัญชีเงินฝากที่ได้แจ้งไว้กับธนาคาร

 

ข้อมูลพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง


พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจ ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

หนังสือชี้ชวนฉบับเต็ม หนังสือชี้ชวนฉบับย่อ

พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นสุขใจให้ออม ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

หนังสือชี้ชวนฉบับเต็ม หนังสือชี้ชวนฉบับย่อ

พันธบัตรออมทรัพย์รุ่นออมเพิ่มสุข (รอบพิเศษ) ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

รู้ก่อนซื้อพันธบัตร หนังสือชี้ชวน


พันธบัตรออมทรัพย์รุ่นออมเพิ่มสุขของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

รู้ก่อนซื้อพันธบัตร หนังสือชี้ชวน


พันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่นส่งความสุข ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

รู้ก่อนซื้อพันธบัตร หนังสือชี้ชวน


พันธบัตรออมทรัพย์รุ่นออมไปด้วยกัน ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

รู้ก่อนซื้อพันธบัตร หนังสือชี้ชวน


พันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่นยิ่งออมยิ่งได้ ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

รู้ก่อนซื้อพันธบัตร

หนังสือชี้ชวน

พันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่นเราชนะ ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

รู้ก่อนซื้อพันธบัตร

หนังสือชี้ชวน

ช่องทางการซื้อขายพันธบัตรออมทรัพย์

เสนอขายให้แก่บุคคลธรรมดา และหรือสถาบันที่ไม่มุ่งหวังกำไร จำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้

สาขาธนาคารกรุงเทพ
(ยกเว้นสาขาไมโคร)

โมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ

บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง

บัวหลวงเอทีเอ็ม

ข้อมูลเพิ่มเติม

ภาระภาษี

ผู้ลงทุนบุคคลธรรมดา

  • ผลตอบแทนจากดอกเบี้ย จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
  • กำไรที่เกิดจากการขาย จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
  • กรณีซื้อพันธบัตรที่ราคาซื้อต่ำกว่าราคาที่ระบุไว้หน้าตั๋ว แต่ไถ่ถอนเมื่อครบกำหนดด้วยราคาที่ระบุไว้บนตั๋ว(Discount bond) ส่วนลดที่ได้รับจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย15%

ผู้ลงทุนนิติบุคคล
  • ผลตอบแทนจากดอกเบี้ย จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% และให้นำไปรวมกับการคำนวณกำไรสุทธิด้วย
  • ผลตอบแทนจากส่วนลด จะไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ต้องนำไปรวมกับการคำนวณกำไรสุทธิด้วย
  • กำไรที่เกิดจากการขาย จะไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ต้องนำไปรวมกับการคำนวณกำไรสุทธิด้วย
ความเสี่ยงจากการลงทุน
การลงทุนในตราสารหนี้ ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากการลงทุน ได้แก่

ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในตลาด เนื่องจากราคาของตราสารหนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด ดังนั้น เมื่อนักลงทุนต้องการขายตราสารหนี้ก่อนครบกำหนด หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดในขณะที่จะขายสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ที่ถืออยู่นักลงทุนอาจต้องยอมขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตรา

ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ หรือไม่สามารถชำระหนี้เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้ผิดนัดชำระ หรือไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงจากการถูกลดความน่าเชื่อถือในระหว่างที่ตราสารหนี้ยังไม่ครบกำหนดไถ่ถอน ตราสารหนี้ภาครัฐถือว่าเป็นตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงชนิดนี้ต่ำมาก ดังนั้นอัตราผลตอบแทนที่ได้รับจึงมักต่ำกว่าตราสารหนี้ภาคเอกชน
คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษา และทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
สอบถามเพิ่มเติมโทร. 1333 หรือ 0 2645 5555

เลือกผลิตภัณฑ์ลงทุนที่เหมาะกับคุณ

พันธบัตรตลาดรอง

อีกทางเลือกหนึ่งในการลงทุนในพันธบัตรที่เคยออกจำหน่ายแล้ว มีความเสี่ยงต่ำและโอกาสในการได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอ พร้อมทั้งบริการรับซื้อก่อนครบกำหนดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารพอร์ทลงทุนของคุณ

หุ้นกู้ตลาดแรก

ตราสารหนี้ระยะยาวที่ออกโดยบริษัทเอกชน เพื่อระดมเงินจากนักลงทุนไปใช้ในการดำเนินกิจการ หุ้นกู้เป็นตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตร เนื่องจากมีความเสี่ยงในด้านผู้ออกมากกว่า

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
ในทุกธุรกรรมทางการเงิน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณในทุกธุรกรรมทางการเงิน

คุณกำลังจะออกจากเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ