ลงทุนกองทุนรวม RMF/Thai ESG ของ BBLAM

ทุกๆ 50,000 บาท รับหน่วยลงทุนกองทุนรวม B-ST มูลค่า 100 บาท สูงสุด 1,600 บาท/ท่าน เมื่อลงทุนกองทุนรวม RMF/Thai ESG ของ BBLAM ผ่านสาขาธนาคารกรุงเทพ ระหว่างวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 – 30 เมษายน 2568

ระยะเวลาโครงการ

ระหว่างวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 – 30 เมษายน 2568

กองทุนรวมที่เข้าร่วม

กองทุนรวม RMF/Thai ESG ของ บลจ. บัวหลวง

ช่องทางการลงทุน

สาขาธนาคารกรุงเทพ

จำนวนเงินลงทุนและของสมนาคุณ

ยอดเงินลงทุนทุกๆ 50,000 บาท จะได้รับหน่วยลงทุนกองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ระยะสั้น (B-ST) มูลค่า 100 บาท สูงสุดไม่เกิน 1,600 บาท/ราย

เงื่อนไขโครงการ

  • ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา และมียอดเงินลงทุนสะสมสุทธิในกลุ่มกองทุนลดหย่อนภาษี RMF/Thai ESG ระหว่างวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 – 30 เมษายน 2568 ผ่านช่องทางสาขาธนาคารกรุงเทพ เท่านั้น ทั้งนี้ ไม่นับรวมยอดเงินที่ลงทุนผ่านช่องทางโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ / อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ และบริการหักบัญชีเงินฝาก/บัญชีบัตรเครดิตเพื่อซื้อหน่วยลงทุนกองทุนเปิดแบบถัวเฉลี่ย (Dollar Cost Averaging: DCA)
  • ผู้ลงทุนที่มียอดเงินลงทุนสะสมสุทธิ ทุกๆ 50,000 บาท จะได้รับหน่วยลงทุนกองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ระยะสั้น (B-ST) (รายละเอียดกองทุน B-ST คลิก) มูลค่า 100 บาท (สูงสุดไม่เกิน 1,600 บาท/เลขที่บัตรประชาชน) ทั้งนี้ เงินลงทุนสะสมต้องไม่เกินสิทธิประโยชน์ทางภาษีของแต่ละประเภทกองทุน
    • กรณีลงทุนกองทุน RMF ผู้ลงทุนมีสิทธิได้รับหน่วยลงทุนกองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ระยะสั้น (B-ST) สูงสุด 1,000 บาท จากยอดเงินลงทุนสะสมสุทธิสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
    • กรณีลงทุนกองทุน Thai ESG ผู้ลงทุนมีสิทธิได้รับหน่วยลงทุนกองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ระยะสั้น (B-ST) สูงสุด 600 บาท จากยอดเงินลงทุนสะสมสุทธิสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
    • ทั้งนี้ ยอดเงินลงทุนในกองทุน RMF ส่วนที่เกิน 500,000 บาท และ/หรือ ยอดเงินลงทุนในกองทุน Thai ESG ส่วนที่เกิน 300,000 บาท จะไม่นำมารวมคำนวณเป็นยอดเงินลงทุนสะสมสุทธิตามเงื่อนไขโครงการฯ


  • บลจ. บัวหลวงจะคำนวณยอดเงินลงทุนสะสมสุทธิ ดังนี้
    1. ยอดรวมของรายการซื้อผ่านช่องทางสาขา
    2. หัก ยอดรวมของรายการขายคืนผ่านทุกช่องทาง
    3. หัก รายการโอนหน่วยลงทุนกองทุน RMF/Thai ESG ไปยัง บลจ. อื่น
    4. ทั้งนี้ กรณีการขายคืน และโอนหน่วยลงทุนไปกองทุนของ บลจ.อื่น จากจำนวนหน่วยลงทุนคงเหลือ ณ วันที่ 31 มกราคม 2568 รวมถึงรายการสับเปลี่ยนภายในกลุ่ม RMF/Thai ESG ภายใต้การจัดการของ บลจ.บัวหลวง ทุกช่องทางจะไม่นำมาถูกคำนวณตามเงื่อนไขโครงการฯ


  • บลจ. บัวหลวงจะพิจารณามอบของสมนาคุณ ดังนี้
    • สำหรับการลงทุนผ่านสาขาธนาคารกรุงเทพ บลจ. บัวหลวงจะทำการโอนหน่วยลงทุนกองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ระยะสั้น (B-ST) ตามเงื่อนไขที่กำหนดภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2568 โดยใช้มูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2568
        กรณีที่ 1 ผู้ลงทุนลงทุนตามเงื่อนไขที่กำหนดและมีเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนเปิดทั่วไปอยู่แล้ว จะดำเนินการโอนหน่วยลงทุนกองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ระยะสั้น (B-ST) ให้เลขที่ผู้ถือหน่วยดังกล่าว
        กรณีที่ 2 ผู้ลงทุนลงทุนตามเงื่อนไขที่กำหนด และมีเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนเปิดทั่วไปมากกว่า 1 เลขที่ผู้ถือหน่วย จะดำเนินการโอนหน่วยลงทุนกองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ระยะสั้น (B-ST) ให้ผู้ลงทุนตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนเปิดทั่วไปที่มีการทำรายการล่าสุด
        กรณีที่ 3 ผู้ลงทุนลงทุนตามเงื่อนไขที่กำหนด แต่ยังไม่มีเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนเปิดทั่วไป ผู้ลงทุนต้องดำเนินการเปิดบัญชีเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนเปิดทั่วไปภายใน 30 พฤษภาคม 2568 ทั้งนี้ หากไม่เปิดบัญชีฯ ภายใน 30 พฤษภาคม 2568 จะถือว่าผู้ลงทุนสละสิทธิรับของสมนาคุณ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2568 เป็นต้นไป

  • บลจ. บัวหลวง ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไข
    1. ระยะเวลาของโครงการ
    2. ของสมนาคุณที่มีมูลค่าเทียบเท่า
    3. เงื่อนไขของโครงการส่งเสริมการขาย
    4. โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าผ่าน www.bblam.co.th ทั้งนี้ ในกรณีมีข้อพิพาทเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมการขายนี้ ให้ถือตามคำตัดสินของบลจ. บัวหลวง


  • บลจ. บัวหลวง เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดหาและส่งมอบของสมนาคุณ รวมถึงภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ถ้ามี)

เงื่อนไขการชำระค่าซื้อหน่วยลงทุนด้วยบัตรเครดิต

  • กรณีผู้ลงทุนชำระเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวม RMF/Thai ESG ด้วยบัตรเครดิต ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับคะแนนสะสม หรือ Cash Back จากการใช้บัตรเครดิต รวมทั้งไม่สามารถแบ่งผ่อนชำระค่าซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวได้
  • รับชำระผ่านบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพทุกประเภท ยกเว้น บัตรเครดิตอเมริกัน เอ็กซ์เพรส ธนาคารกรุงเทพ บัตรเครดิตจัดซื้อ บัตรเครดิตองค์กร และบัตรเครดิตยูเนี่ยนเพย์ ธนาคารกรุงเทพ
  • เจ้าของบัตรเครดิต และ ผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องเป็นบุคคลเดียวกัน
  • บัตรเครดิตใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16%

 

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

ลงทุนเพื่อออมไว้ใช้ยามเกษียณ และนำเงินลงทุนในกองทุน RMF ไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด

กองทุนเปิดบัวหลวงเอเชียเทคโนโลยีเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Wellington Asia Technology Fund, USD S Accumulating Unhedged (กองทุนหลัก) ที่เน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านเทคโนโลยีและบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่จดทะเบียนหรือที่ดำเนินธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย และส่งเสริมการลงทุนด้านความยั่งยืน (Environmental, Social and Governance: ESG)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น Opportunities เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Pictet - Global Thematic Opportunities (กองทุนหลัก) ที่เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ได้ประโยชน์จากโครงสร้างประชากร สิ่งแวดล้อม ไลฟ์สไตล์และแนวโน้มอื่นๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วโลกในระยะยาว

กองทุนเปิดบีแคป เซ็ท อินเด็กซ์ เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิง SET Total Return Index

กองทุนเปิดบัวหลวง Premium Brands เพื่อการเลี้ยงชีพ

เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ Pictet – Premium Brands, Class I EUR (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว

กองทุนเปิดบัวหลวง ไดนามิก บอนด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ และ/หรือกองทุน ETF ต่างประเทศ ตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป (กองทุนปลายทาง) โดยกองทุนปลายทางมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล อินฟราสตรัคเจอร์ เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ FTGF ClearBridge Global Infrastructure Income Fund (กองทุนหลัก) ซึ่งเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ สถาบันการเงิน เอกชน และ/หรือเงินฝากทั้งในและต่างประเทศ

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนระยะปานกลาง และระยะยาวในตราสารหนี้ เงินฝาก หรือหลักทรัพย์/ทรัพย์สินอื่น

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหุ้นขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 25% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือลงทุนในตราสารหนี้ เงินฝาก หรือทรัพย์สินอื่น

กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในตราสารทุน ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ตราสารหนี้ และ/หรือเงินฝากตั้งแต่ 0-100% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

กลุ่มกองทุนเปิดบีแคป โกลบอล ทาร์เก็ต เดท เพื่อการเลี้ยงชีพ

ปรับสัดส่วนการลงทุนให้สอดคล้องตามช่วงอายุของผู้ลงทุน โดยมีนโยบายการลงทุนแบบผสม และจะลงทุนในทรัพย์สินทั้งในประเทศและต่างประเทศ

กลุ่มกองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน CIS กองทุน Infra กองทุน Property/REITs และ/หรือ กองทุน ETF ตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป (กองทุนปลายทาง) ทั้งในและต่างประเทศ มีให้เลือก 3 กองทุนตามสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุน

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนหุ้นทั้งที่จดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกิน 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหุ้นเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่น พลังงาน สื่อสาร ขนส่ง บริษัทในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

กองทุนเปิดบัวหลวง Small-Mid Cap เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหุ้นของบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ/หรือตลาดเอ็ม เอ ไอ

กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยเน้นหุ้นที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูง หรือมีสภาพคล่องสูงสม่ำเสมอ หรือมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงและต่อเนื่อง

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งในประเทศ และหรือต่างประเทศ เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค

กองทุนเปิดบัวหลวงทศพลเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และมีปัจจัยพื้นฐานดี ซึ่งผู้จัดการกองทุนคาดหมายว่าจะให้ผลตอบแทนรวมสูงสุด 10 อันดับแรก

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในประเทศอื่นใดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอินเดียมิดแคปเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Kotak Funds - India Midcap Fund (กองทุนหลัก) ซึ่งมีนโยบายลงทุนในหุ้นและตราสารอนุพันธ์ที่เชื่อมโยงกับหุ้นขนาดกลาง (Mid Cap) ของบริษัทที่จัดตั้งหรือดำเนินธุรกิจในประเทศอินเดีย

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีนเอแชร์เพื่อการเลี้ยงชีพ

เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Allianz China A-Shares (กองทุนหลัก) ซึ่งเน้นลงทุนในตลาดหุ้นจีน A-Shares

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเวียดนามเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศเวียดนาม และ/หรือบริษัทที่ดำเนินธุรกิจหรือได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม

กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่าเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ JPMorgan Funds - US Growth Fund (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน JPM US Growth I (acc) – USD เพียงกองทุนเดียว

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชียเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Invesco Funds - Invesco Asian Equity Fund (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน Class C (AD) USD เพียงกองทุนเดียว

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Wellington Global Quality Growth Fund (กองทุนหลัก) ซึ่งมีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญ รวมถึงตราสารทุนของบริษัทต่างๆ ทั่วโลก

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นฟิวเจอร์เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศของบริษัทที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องหรือได้รับประโยชน์จากแนวโน้มการบริโภคในอนาคต

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลธีมเมติกออพพอร์ทูนิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Wellington Global Innovation Fund (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน S-ACC (USD) เพียงกองทุนเดียว

กองทุนเปิดบัวหลวงยั่งยืนเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนภายใต้การจัดการของ Pictet Asset Management ตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป (กองทุนปลายทาง)

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Wellington Global Health Care Equity Fund เพียงกองทุนเดียว ซึ่งมีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัทในอุตสาหกรรม Health Care ทั่วโลก

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยีเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Fidelity Funds - Global Technology Fund (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน Class Y-ACC-USD เพียงกองทุนเดียว

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน SPDR Gold Trust เพียงกองทุนเดียว ซึ่งมีนโยบายลงทุนในทองคำแท่ง

กองทุนเปิดฟันด์ออฟฟันด์บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน&อสังหาริมทรัพย์เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนทั้งในและต่างประเทศในหน่วยลงทุน และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) ที่เน้นการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และ/หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) และ/หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน

กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG)

ลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย โดยเงินลงทุนในกองทุน Thai ESG สามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด

กองทุนรวมบัวหลวงผสมไทยเพื่อความยั่งยืน

กระจายการลงทุนในหุ้นที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีความโดดเด่นด้าน ESG รวมถึง พันธบัตร/หุ้นกู้/ตราสารหนี้อื่นๆ ที่เป็นตราสารเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน

กองทุนรวมบัวหลวงหุ้นไทยเพื่อความยั่งยืน

ลงทุนในหุ้นที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และ/หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ที่ได้รับการคัดเลือกจาก SET ว่ามีความโดดเด่นด้าน ESG

กองทุนรวมบัวหลวงตราสารภาครัฐไทยเพื่อความยั่งยืน

เน้นลงทุนในตราสารภาครัฐไทย ซึ่งเป็นพันธบัตรหรือหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green bond) พันธบัตรหรือหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน (sustainability bond) หรือพันธบัตรหรือหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน (sustainability-linked bond)

กองทุนรวมบัวหลวงทศพลไทยเพื่อความยั่งยืน

ลงทุนเน้นๆ ในหุ้นไทย ESG 10 ตัวที่ผู้จัดการกองทุนคัดสรรแล้ว

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่
ธนาคารกรุงเทพ โทร.1333 www.bangkokbank.com
บลจ.บัวหลวง โทร. 0 2674 6488 กด 8 www.bblam.co.th
บลจ.บางกอกแคปปิตอล โทร. 0 2618 1599 www.bcap.co.th

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
ในทุกธุรกรรมทางการเงิน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณในทุกธุรกรรมทางการเงิน

คุณกำลังจะออกจากเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ