กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

ลงทุนเพื่อออมไว้ใช้ยามเกษียณ และนำเงินลงทุนในกองทุน RMF ไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด

กองทุนเปิดบัวหลวง Premium Brands เพื่อการเลี้ยงชีพ

เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ Pictet – Premium Brands, Class I EUR (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว

กองทุนเปิดบัวหลวง ไดนามิก บอนด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ และ/หรือกองทุน ETF ต่างประเทศ ตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป (กองทุนปลายทาง) โดยกองทุนปลายทางมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล อินฟราสตรัคเจอร์ เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ FTGF ClearBridge Global Infrastructure Income Fund (กองทุนหลัก) ซึ่งเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ สถาบันการเงิน เอกชน และ/หรือเงินฝากทั้งในและต่างประเทศ

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนระยะปานกลาง และระยะยาวในตราสารหนี้ เงินฝาก หรือหลักทรัพย์/ทรัพย์สินอื่น

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหุ้นขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 25% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือลงทุนในตราสารหนี้ เงินฝาก หรือทรัพย์สินอื่น

กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในตราสารทุน ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ตราสารหนี้ และ/หรือเงินฝากตั้งแต่ 0-100% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

กลุ่มกองทุนเปิดบีแคป โกลบอล ทาร์เก็ต เดท เพื่อการเลี้ยงชีพ

ปรับสัดส่วนการลงทุนให้สอดคล้องตามช่วงอายุของผู้ลงทุน โดยมีนโยบายการลงทุนแบบผสม และจะลงทุนในทรัพย์สินทั้งในประเทศและต่างประเทศ

กลุ่มกองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน CIS กองทุน Infra กองทุน Property/REITs และ/หรือ กองทุน ETF ตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป (กองทุนปลายทาง) ทั้งในและต่างประเทศ มีให้เลือก 3 กองทุนตามสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุน

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนหุ้นทั้งที่จดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกิน 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหุ้นเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่น พลังงาน สื่อสาร ขนส่ง บริษัทในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

กองทุนเปิดบัวหลวง Small-Mid Cap เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหุ้นของบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ/หรือตลาดเอ็ม เอ ไอ

กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยเน้นหุ้นที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูง หรือมีสภาพคล่องสูงสม่ำเสมอ หรือมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงและต่อเนื่อง

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งในประเทศ และหรือต่างประเทศ เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค

กองทุนเปิดบัวหลวงทศพลเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และมีปัจจัยพื้นฐานดี ซึ่งผู้จัดการกองทุนคาดหมายว่าจะให้ผลตอบแทนรวมสูงสุด 10 อันดับแรก

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในประเทศอื่นใดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอินเดียมิดแคปเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Kotak Funds - India Midcap Fund (กองทุนหลัก) ซึ่งมีนโยบายลงทุนในหุ้นและตราสารอนุพันธ์ที่เชื่อมโยงกับหุ้นขนาดกลาง (Mid Cap) ของบริษัทที่จัดตั้งหรือดำเนินธุรกิจในประเทศอินเดีย

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีนเอแชร์เพื่อการเลี้ยงชีพ

เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Allianz China A-Shares (กองทุนหลัก) ซึ่งเน้นลงทุนในตลาดหุ้นจีน A-Shares

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเวียดนามเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศเวียดนาม และ/หรือบริษัทที่ดำเนินธุรกิจหรือได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม

กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่าเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ JPMorgan Funds - US Growth Fund (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน JPM US Growth I (acc) – USD เพียงกองทุนเดียว

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชียเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Invesco Funds - Invesco Asian Equity Fund (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน Class C (AD) USD เพียงกองทุนเดียว

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Wellington Global Quality Growth Fund (กองทุนหลัก) ซึ่งมีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญ รวมถึงตราสารทุนของบริษัทต่างๆ ทั่วโลก

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นฟิวเจอร์เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศของบริษัทที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องหรือได้รับประโยชน์จากแนวโน้มการบริโภคในอนาคต

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลธีมเมติกออพพอร์ทูนิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Wellington Global Innovation Fund (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน S-ACC (USD) เพียงกองทุนเดียว

กองทุนเปิดบัวหลวงยั่งยืนเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนภายใต้การจัดการของ Pictet Asset Management ตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป (กองทุนปลายทาง)

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Wellington Global Health Care Equity Fund เพียงกองทุนเดียว ซึ่งมีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัทในอุตสาหกรรม Health Care ทั่วโลก

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยีเพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Fidelity Funds - Global Technology Fund (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน Class Y-ACC-USD เพียงกองทุนเดียว

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน SPDR Gold Trust เพียงกองทุนเดียว ซึ่งมีนโยบายลงทุนในทองคำแท่ง

กองทุนเปิดฟันด์ออฟฟันด์บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน&อสังหาริมทรัพย์เพื่อการเลี้ยงชีพ

ลงทุนทั้งในและต่างประเทศในหน่วยลงทุน และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) ที่เน้นการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และ/หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) และ/หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน

ข้อมูลเพิ่มเติม

สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนรวม RMF
  • เงินลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

    สามารถนำยอดเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี สำหรับปีภาษีนั้น เมื่อรวมกับเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund: SSF) เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

  • เงินลงทุนก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2562

    สามารถนำยอดเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี สำหรับปีภาษีนั้น เมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
เงื่อนไขการลงทุนของกองทุนรวม RMF
  • ต้องซื้อหน่วยลงทุนสม่ำเสมอทุกปีจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ โดยไม่กำหนดจำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำ ยกเว้น การลงทุนก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563 ต้องลงทุนขั้นต่ำร้อยละ 3 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี หรือ 5,000 บาท แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ สามารถระงับการซื้อได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกัน หรือในปีภาษีที่ไม่มีเงินได้
  • ต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุน RMF ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก (นับแบบวันชนวัน) และขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่อผู้ลงทุนมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ยกเว้น หน่วยลงทุนที่ซื้อก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2551 สามารถขายคืนได้เมื่อลงทุนต่อเนื่องครบ 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก (นับแบบวันชนวัน)
กรณีผิดเงื่อนไขการลงทุนในกองทุนรวม RMF
กรณีลงทุนเกินสิทธิประโยชน์ทางภาษี
  • เงินลงทุนส่วนที่เกินสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
  • กำไรที่ได้จากการขายคืนเงินลงทุนส่วนที่เกินสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะต้องนำไปรวมกับเงินได้อื่นๆ ที่ผู้ลงทุนได้รับในปีภาษีนั้น เพื่อชำระภาษีเงินได้
กรณีใช้สิทธิยกเว้นภาษีแล้วไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
  1. กรณีถือหน่วยลงทุนยังไม่ครบ 5 ปี นับจากวันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก (นับแบบวันชนวัน) และมีการผิดเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนต้องปฏิบัติดังนี้
    • คืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับการลดหย่อนไปแล้วให้แก่กรมสรรพากร
    • หากมีกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน ผู้ลงทุนต้อง
      -  เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 โดยคำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้
      -  นำกำไรไปรวมกับเงินได้อื่นๆ ที่ผู้ลงทุนได้รับในปีภาษีนั้น เพื่อชำระภาษีเงินได้ 

     

  2. กรณีถือหน่วยลงทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป นับจากวันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก (นับแบบวันชนวัน) และต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน โดยมีการลงทุนขั้นต่ำเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด หากมีการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนผู้ลงทุนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ (ยกเว้น หน่วยลงทุนที่ซื้อก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2551) ผู้ลงทุนต้องปฏิบัติดังนี้
    • คืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับการลดหย่อนไปแล้วย้อนหลังไม่เกิน 5 ปีปฏิทินให้แก่กรมสรรพากร (นับย้อนหลังตั้งแต่ปีก่อนปีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขการลงทุน)


ผู้ลงทุนจะต้องชำระภาษีคืนให้กับกรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไขการลงทุน และหากชำระล่าช้า ผู้ลงทุนจะต้องชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของยอดภาษีที่ต้องชำระคืนด้วย

เงื่อนไขตามข้อ 1 และข้อ 2 ไม่รวมกรณีขายคืนหน่วยลงทุนเพราะทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร


ทั้งนี้ ผู้ลงทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
คู่มือการลงทุนในกองทุนรวม RMF

คำเตือน

  • การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น)
  • ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง ผลการดำเนินงาน และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม RMF ก่อนตัดสินใจลงทุน
  • กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้



เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
ในทุกธุรกรรมทางการเงิน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณในทุกธุรกรรมทางการเงิน

Maximum 3 products can be compared at the same time.

คุณกำลังจะออกจากเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ